ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
ทวีปยุโรป (Europe)
ทวีปอเมริกาใต้ (South America)
ทวีปอเมริกาเหนือ (North America)
ทวีปออสเตรเลีย (Australia)
ทวีปแอฟริกา (Africa)
ทวีปเอเชีย (Asia)
ทวีปอเมริกาเหนือ (North America)
ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิประเทศ ทวีปอเมริกาเหนือ แบ่งได้เป็น 4 เขต ดังนี้
1. เขตเทือกเขาสูงทางด้านตะวันตก
ได้แก่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ประกอบด้วย ตั้งแต่บริเวณช่องแคบเบริงลงมาจนถึง
ประเทศปานามา เทือกเขาที่สำคัญ ได้แก่ เทือกเขาอะแลสกา มียอดเขาแมกคินเลย์ สูง
6,194 เมตร สูงที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ เทือกเขารอกกี เทือกเขาแคสเกด
เทือกเขาเซียราเนวาดา เทือกเขาเซียรามาเดร เทือกเขาชายฝั่งแม่น้ำโคโลราโด
ทำให้เกิดการกัดเซาะดินและหินที่เรียกว่า แกรนด์ แคนยอน ( Grand Canyon)
ในรัฐอริโซนา
2. เขตที่ราบภาคกลาง เป็นเขตที่ราบใหญ่มี 6 เขต ดังนี้
- ที่ราบลุ่มแมกเคนซี เป็นที่ราบแคบ ๆ บริเวณลุ่มแม่น้ำ เขตหินเก่า อากาศหนาวเย็น
- ที่ราบแพรรีในแคนาดา บริเวณมณฑลมานิโตบา เป็นแหล่งปลูกข้าวสาลีที่สำคัญของโลก
- ที่ราบลุ่มทะเลสาบทั้ง 5 และลุ่มแม่น้ำเซนต์ลอเรนซ์ ทะเลสาบ ทั้ง 5 ได้แก่ ทะเลสาบสุพีเรีย ทะเลสาบมิชิแกน ฮูรอน อีรี และออนตาริโอ พื้นที่ที่เหมาะแก่การเพาะปลูก ประชากรหนาแน่น
- ที่ราบลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี และมิสซูรี เป็นที่ราบดินตะกอน มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น แม่น้ำมิสซิสซิปปี สาขาสำคัญหลายสาย ได้แก่ มิสซูรี โอไฮโอ เทนเนสซี อาร์คันซอส์
- ที่ราบชายฝั่งอ่าวเม็กซิโกและมหาสมุทรแอตแลนติก ได้แก่ บริเวณทางด้านตะวันออก ของเทือกเขาแอปปาเลเชียน ลงไปทางใต้จนถึงชายฝั่งอ่าวเม็กซิโก เหมาะแก่การปลูกพืชเมืองร้อน
- ที่ราบที่สูงได้แก่บริเวณด้านตะวันออกของเทือกเขารอกกีเหมาะอย่างยิ่งที่จะปลูกข้าวสาลี
3. เขตหินเก่าแคนาดา ได้แก่บริเวณรอบอ่าวฮัดสันลงมาจนถึงทะเลสาบทั้ง 5
ประกอบด้วยหินเปลือกโลกเก่าแก่ มีอากาศหนาวเย็น ประชากรอาศัยอยู่เบาบาง
4. เขตภูเขาด้านตะวันออก เป็นภูเขาหินเก่า คือเทือกเขาแอปปาเลเชียน
มียอดเขาสูงสุด ชื่อ มิตเชล
ลักษณะภูมิอากาศของทวีปอเมริกาเหนือ มีภูมิอากาศได้เป็น 11 เขตดังนี้
- เขตอากาศแบบป่าดิบชื้น ลักษณะอากาศมีฝนตกชุก อุณหภูมิสูง
บริเวณชายฝั่งตะวันออกของเม็กซิโก ปานามา อเมริกาตอนใต้
พืชพรรณธรรมชาติเป็นแบบป่าเมืองร้อน
- เขตอากาศทุ่งหญ้าเขตร้อน ลักษณะอากาศฤดูร้อนกับฤดูหนาวแตกต่างกันมาก
มีฝนตกปานกลาง บริเวณเม็กซิโก หมู่เกาะอินดิสตะวันตก
พืชพรรณป่าโปร่งสลับกับทุ่งหญ้า เรียกว่าสะวันน่า
- เขตอากาศแบบทะเลทราย ลักษณะอากาศฤดูร้อนร้อนจัด ปริมาณฝนน้อย
บริเวณภาคตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา และภาคเหนือของเม็กซิโก
พืชพรรณเป็นพวกตะบองเพชรและไม้หนาม
- เขตอากาศเขตทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย ลักษณะอากาศกึ่งแห้งแล้ง
ฤดูหนาวอากาศหนาวจัด บริเวณทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก
ซึ่งอยู่บริเวณชายขอบทะเลทราย พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าสั้น เรียกว่า
สเต็ปป์ (Steppe)
- เขตอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ลักษณะอากาศฤดูร้อน ร้อนแห้งแล้ง
ฤดูหนาวอากาศอบอุ่นและมีฝนตก บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก
ตอนกลางรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐ พืชพรรณธรรมชาติ
เป็นทุ่งหญ้าสลับกับป่าไม้พุ่มเตี้ย เรียกว่า ป่าแคระ
- เขตอากาศแบบชื้นกึ่งร้อน ลักษณะอากาศอบอุ่น ฝนตกตลอดปี บริเวณภาคกลาง
ที่ราบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก มี พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้ผลัดใบชนิดใบกว้าง
และป่าสน
- เขตอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก ลักษณะอากาศฤดูร้อนอบอุ่น
ฤดูหนาวไม่หนาวจัด มีฝนตกสม่ำเสมอตลอดปี ได้รับลมประจำตะวันตก
ที่พัดมาจากมหาสมุทรแปซิฟิก
บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้เขตอบอุ่น
- เขตอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป ลักษณะอากาศฤดูหนาวหนาว
ฤดูร้อนอุณหภูมิปานกลางและมีฝนตกชุก บริเวณทะเลสาบทั้ง 5 ตอนใต้ของแคนาดา
ตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา พืชพรรณธรรมชาติมีทั้งป่าไม้ผลัดใบชนิดใบกว้าง
และป่าไม้ไม่ผลัดใบ ชนิดมีใบแหลม
- เขตอากาศแบบไทกา ลักษณะอากาศหนาวจัดยาวนาน มีหิมะตก
ส่วนฤดูร้อนมีระยะสั้นอากาศค่อนข้างเย็น บริเวณรัฐอะแลสกาของสหรัฐอเมริกา
ภาคเหนือของประเทศแคนาดา พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าสน และป่าไม้เนื้ออ่อน
- เขตอากาศแบบทุนดรา ลักษณะอากาศฤดูหนาว หนาวจัด
บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรอาร์กติก รัฐอะแลสกา และแคนาดา
ชายฝั่งของเกาะนิวฟันด์แลนด์ พืชพรรณธรรมชาติเป็นตะไคร่น้ำและมอส
- ลักษณะอากาศแบบทุ่งน้ำแข็ง ลักษณะอากาศหนาวจัดและมีน้ำแข็งปกคลุมตลอดปี
บริเวณเกาะกรีนแลนด์ตอนกลาง พืชพรรณธรรมชาติไม่สามารถเจริญเติบโตได้เลย
- ลักษณะอากาศแบบที่สูง ลักษณะอากาศ อุณหภูมิ ความชื้น เปลี่ยนไปตามความสูงของพื้นที่ ยิ่งสูงมากอากาศจะยิ่งเย็นจัด จนกระทั่งถึงมีน้ำแข็งปกคลุมอยู่ตลอดเวลา บริเวณเทือกเขารอกกี ทางภาคตะวันตกของทวีป พืชพรรณธรรมชาติ ป่าสน
ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ
สังคมวัฒนธรรม และเศรษฐกิจ