ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
แปลและเรียบเรียงจาก Yum! Brands, Pizza Hut and KFC ของ Jeffrey A. Krug, Applalachain University โดย ดร.สิริภักตร์ ศิริโท
เคนตั๊กกี้ ฟรายด์ ชิกเก้น (Kentucky Fried Chicken Corp.)
ในช่วงปี ค.ศ. 1952 แฟรนไชส์อาหารฟาสต์ฟู๊ดยังอยู่ในยุคบุกเบิกและเริ่มต้น ฮาร์แลนด์ แซนเดอร์ (Harland Sanders) เริ่มเดินทางทั่วสหรัฐอเมริกาเพื่อพูดคุยกับกลุ่มลูกค้าที่ศักยภาพจะเป็นผู้ซื้อแฟรนไชส์ของ ไก่เค เอฟ ซีสูตรผู้พันแซนเดอร์ ในปี ค.ศ. 1960 ผู้พันแซนเดอร์ขายแฟรนไชส์ของเค เอฟ ซีประเภทร้านค้าปลีกขายแบบนำกลับบ้าน (take-home) รวมถึงประเภทที่เป็นภัตตาคารได้มากกว่า 200 แห่งทั่วสหรัฐอเมริกา ในอีก 4 ปีต่อมาเมื่อผู้พันแซนเดอร์มีอายุ 74 ปีเขาได้ขาย เค เอฟ ซี ให้กับนักธุรกิจ 2 คนจากหลุยส์วิล (Louisville) ไปเป็นมูลค่า 2 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปีค.ศ. 1966 เค เอฟ ซี เปลี่ยนเป็นบริษัทมหาชนและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งนิวยอร์ค (New York Stock Exchange)
ต่อมาในปี ค.ศ. 1971 บริษัทฮิวเบรน (Heublein, Inc.)
ผู้จัดจำหน่ายไวน์และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อเจรจากับเค เอฟ
ซีได้สำเร็จในการรวมเค เอฟ ซี เข้าเป็นหนึ่งในบริษัทย่อยของบริษัท อีก 11 ปีต่อมา
อาร์. เจ. เรย์โนลด์ อินดัสตรี (RJR บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายบุหรี่)
เข้าซื้อหุ้นบริษัทฮิวเบรนและรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท การรวมบริษัท
ฮิวเบรนนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ของอาร์ เจ
อาร์ในการขยายกิจการเข้าสู่ธุรกิจที่หลากหลาย เช่น พลังงาน การขนส่ง
อาหารและภัตตาคาร ทั้งนี้เพื่อกระจายความเสี่ยงจากธุรกิจยาสูบ นอกจากนี้ในปี ค.ศ.
1985 อาร์ เจ อาร์ยังได้ซื้อหุ้นบริษัท นาบิสโก (Nabisco Corporation)
โดยมีเป้าหมายที่จะต้องการนำกลุ่มบริษัทขึ้นสู่ความเป็นผู้นำโลกในอุตสาหกรรมอาหาร
ผลสืบเนื่องจากกลยุทธ์ดังกล่าวทำให้กลุ่มบริษัท อาร์ เจ อาร์
ปรับกลยุทธ์ใหม่โดยไปมุ่งเน้นด้านอาหารแปรรูปและตัดสินใจที่จะออกจากธุรกิจด้านภัตตาคารไป
กลุ่มบริษัทนี้จึงขาย เค เอฟ ซี ให้กับ บริษัท เป๊ปซี่โค (PepsiCo, Inc.) ในปีต่อมา