ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
Yum Brands, Pizza Hut and KFC
แปลและเรียบเรียงจาก Yum! Brands, Pizza Hut and KFC ของ Jeffrey A. Krug, Applalachain University โดย ดร.สิริภักตร์ ศิริโท
ยัมแบรนด์ อิงค์ เป็นบริษัทอาหารฟาสต์ฟู๊ดที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปี ค.ศ. 2004 บริษัทมีร้าน เคเอฟซี (KFC) พิซซ่า ฮัท (Pizza Hut) ทาโก้ เบล (Taco Bell) ลองจอห์น ซิลเวอร์ (Long John Silvers) และ ภัตตาคารเอแอนด์ดับบลิว (A&W restaurants) รวมกันมากกว่า 33,000 แห่งทั่วโลก ยัมแบนด์เป็นผู้นำตลาดฟาสต์ฟู๊ดของอเมริกาในส่วนของอาหารประเภท ไก่ พิซซ่า อาหารเม็กซิกัน และอาหารทะเล บริษัทยังมีภัตตาคารมากกว่า 12,000 แห่งนอกประเทศสหรัฐอเมริกา เค เอฟ ซี และพิซซ่า ฮัท มีสัดส่วนถึงร้อยละ 96 ของฐานด้านภัตตาคารต่างประเทศใน 116 ประเทศ ในช่วงยุค 1950 และ 1960 เค เอฟ ซี และพิซซ่า ฮัท เป็นตราสินค้าที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในบรรดาสาขาฟาสต์ฟู๊ดในต่างประเทศ ในช่วงยุค 1990 ทั้งสองแบรนด์ยังคงขยายตัวต่อเนื่องและเติบโตผ่านการไปเปิดสาขาในประเทศให้มากที่สุด แต่ยัมแบรนด์ อิงค์ตระหนักว่าประเทศแต่ละประเทศที่ไปเปิดสาขาสามารถสร้างผลกำไรให้แก่องค์กรในอัตราที่แตกต่างกันไป
ดังนั้นในปี ค.ศ. 2004
บริษัทจึงเริ่มให้ความสำคัญมากขึ้นกับบริหารพอร์ตในแต่ละประเทศ
บริษัทเริ่มเน้นกลยุทธ์ธุรกิจระหว่างประเทศโดยเน้นการพัฒนาและเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดเพียงบางประเทศ
โดยเลือกเน้นเฉพาะประเทศที่มีอัตราการเติบโตของตลาดที่สูง อาทิ ญี่ปุ่น แคนาดา
อังกฤษ จีน ออสเตรเลีย เกาหลี และเม็กซิโก
บริษัทยังต้องการมีตำแหน่งในตลาดที่มั่นคงในกลุ่มประเทศยุโรป บราซิล และอินเดีย
ซึ่งในกลุ่มประเทศเหล่านี้ผู้บริโภคยังรู้จักแบรนด์ของบริษัทไม่มากนัก และทั้งเค
เอฟ ซี และพิซซ่า ฮัท ยังมีสถานการณ์ดำเนินงานที่ไม่แข็งแรงนักในประเทศเหล่านี้
บริษัทมองว่าจีนและอินเดียเป็นตลาดที่น่าสนใจเนื่องจากเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรสูง
ส่วนประเทศกลุ่มลาตินอเมริกาก็เป็นอีกกลุ่มประเทศที่น่าสนใจเนื่องจากกลุ่มประเทศนี้มีความคล้ายคลึงกับประเทศอเมริกาค่อนข้างมากทั้งในด้านภาษา
วัฒนธรรม
รวมถึงการผลกระทบที่เกิดจากเขตการค้าเสรีซึ่งทำให้กำแพงการค้าระหว่างอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้หมดไปก็จะส่งผลดีต่อบริษัท
ความท้าทายที่เป็นโจทย์ระยะยาวสำหรับบริษัทคือการสร้างความแข็งแกร่งให้กับตำแหน่งของตนเองในตลาดต่างประเทศที่เป็นประเทศหลัก
ๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องพยายามพัฒนาตลาดใหม่ ๆ
ที่ผู้บริโภคยังไม่ค่อยรู้จักแบรนด์ของบริษัทหรือในตลาดที่บริษัทยังมีจุดอ่อนในการดำเนินงานอยู่