วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>

การทบทวนวรรณคดีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ประโยชน์ที่ได้จากการทบทวนวรรณคดีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
หลักการเลือกวรรณคดีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ชนิดของเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ข้อเสนอแนะวิธีการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนี้ เป็นขั้นตอนการวิจัยที่นักวิจัยต้องทุ่มเทเวลาให้มากเป็นพิเศษ แต่การใช้เวลาอย่างไม่จำกัดจะส่งผลให้งานวิจัยล่าช้า จนเป็นเหตุให้ผลงานวิจัยไม่ทันต่อเหตุการณ์ก็ได้ นักวิจัยต้องศึกษาค้นคว้าให้กว้างขวางที่สุดเท่าที่เวลาจะอำนวยมีนักวิจัยจำนวนไม่น้อยที่ให้ความสำคัญการวิจัยขั้นตอนนี้น้อย ทำการศึกษาค้นคว้าเพียงให้ครบขั้นตอนของการวิจัย ซึ่งให้ความสำคัญต่อการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องน้อยจะเป็นผลให้งานวิจัยชิ้นนั้นคุณภาพด้อยลงอย่างน่าเสียดาย ทั้งที่อาจเป็นหัวข้อวิจัยที่มีคุณค่ามากก็ได้

การเรียกชื่อขั้นตอนการทบทวนเอการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนี้ อาจมีการเรียกชื่อแตกต่างกันอยู่บ้าง เช่น ขั้นตอนการศึกษาวรรณคดีที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนการสำรวจเอกสาร และขั้นตอนการค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น และมีนักวิจัยจำนวนไม่น้อยที่นิยมเรียกขั้นตอนนี้เป็นภาษาอังกฤษ เช่น REVIEW OF THE LITERATURE หรือ LITERATURE REVIEW หรือ Previous Related Studies เป็นต้น

การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจะช่วยให้นักวิจัยมีความรู้กว้างขวางลึกซึ้งและทันสมัย ช่วยให้เกิดแนวคิดที่มีประโยชน์ต่อการวิจัยขั้นตอนต่อ ๆ ไปทุกขั้นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นตอนการสร้างกรอบแนวคิดและกำหนดตัวแปร และการกำหนดรูปแบบการวิจัยเพราะการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจะครอบคลุมไปถึงการศึกษาค้นคว้าทฤษฎีจากตำราต่าง ๆ บทความทางวิชาการ ข้อมูลจากการรายงานของหน่วยราชการต่าง ๆ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ตลอดจนข้อมูลอื่นใดทุกรูปแบบ นักวิจัยจะได้รู้ว่าปัญหาการวิจัยที่เราศึกษานั้น ต้องอาศัยทฤษฎีใดบ้าง มีใครศึกษาไว้บ้าง ผลการศึกษาเป็นอย่างไร และปัญหาที่คล้ายคลึงหรือเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับปัญหาการวิจัยที่เราจะศึกษานั้น มีใครศึกษาไว้บ้าง และผลการศึกษาเป็นอย่างไร

การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสามารถนำมาผลการค้นคว้าใช้อ้างอิงในการวิจัยได้ 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ

1. การอ้างอิงเชิงทฤษฎี ( Theoretical Reference )
2. การอ้างอิงเชิงประจักษ์ ( Empirical Reference )

การอ้างอิงเชิงทฤษฎี การนำผลการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ้งได้สาระเกี่ยวกับทฤษฎี แนวคิด และผลงานวิจัยต่าง ๆ มาอ้างอิงในขั้นตอนต่าง ๆ ของการวิจัยได้หลายขั้นตอน ตัวอย่างเช่น

  1. ขั้นตอนการเลือกเรื่องวิจัยหรือการกำหนดหัวข้อวิจัย ร่างหัวข้อวิจัยที่เคยกำหนดไว้เดิมนั้น หลังจากทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว อาจมีการปรับปรุงหัวข้อวิจัยให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น
  2. ขั้นตอนการกำหนดปัญหาการวิจัย ร่างการกำหนดปัญหาการวิจัยที่กำหนดไว้เดิม อาจมีขอบเขตเฉพาะเจาะจงที่ยังไม่ครอบคลุมองค์ประกอบของปัญหาที่กว้างขวางมากพอ หลังจากทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว อาจมีการปรับปรุงการกำหนดปัญหาการวิจัยให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น
  3. ขั้นตอนการกำหนดความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ร่างการกำหนดความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาที่เคยกำหนดไว้เดิมนั้น หลังจากทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว อาจมีการปรับปรุงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาให้มีเหตุผลกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
  4. ขั้นตอนการกำหนดสมมติฐานการวิจัย ร่างการคาดคะเนคำตอบของปัญหาการวิจัยที่กำหนดไว้เป็นสมมติฐานการวิจัยเดิมนั้น หลังจากทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว อาจมีการปรับปรุงการกำหนดสมมติฐานการวิจัยให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น
  5. ขั้นตอนการกำหนดตัวแปรการวิจัย ร่างการกำหนดตัวแปรการวิจัยที่เคยกำหนดไว้เดิมนั้น หลังจากทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว อาจมีการปรับปรุงตัวแปรการวิจัยให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น
  6. ขั้นตอนการกำหนดนิยามศัพท์ ร่างการกำหนดนิยามศัพท์ที่เคยกำหนดไว้เดิมนั้นหลังจากการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว อาจจะมีการปรับปรุงนิยามศัพท์ให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น
  7. ขั้นตอนการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างและวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ร่างการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างและวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างที่เคยกำหนดไว้เดิมนั้น หลังจากทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว อาจจะมีการปรับปรุงขนาดกลุ่มตัวอย่างและวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
  8. ขั้นตอนการกำหนดเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ร่างเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลที่เคยกำหนดไว้เดิมนั้น หลังจากทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วอาจมีการปรับปรุงเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลให้รัดกุมเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
  9. ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล ร่างการกำหนดการวิเคราะห์ข้อมูลที่เคยกำหนดไว้เดิมนั้นหลังจากทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว อาจมีการปรับปรุงสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น

 

การอ้างอิงเชิงประจักษ์ การนำผลการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการนำผลการรวบรวมข้อมูลที่ผู้วิจัยได้จากสภาพที่เป็นจริงมาเทียบเคียงกับขั้นตอนต่าง ๆ ของการอ้างอิงเชิงทฤษฎี มาอ้างอิงในขั้นตอนต่าง ๆ ของการวิจัยได้หลายขั้นตอน โดยผู้วิจัยจะประจักษ์จากการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเด็นทบทวนงานวิจัย ตัวอย่างเช่น

  1. ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล หลังจากทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วพบว่าข้อมูลที่นำมาใช้ในการวิจัยจะมีทั้งข้อมูลปฐมภูมิ ข้อมูลทุติยภูมิ และอาจมีข้อมูลตติยภูมิ การใช้ข้อมูลประเภทใดก็ตามต้องคำนึงถึงความถูกต้องของข้อมูลนั้นเป็นสำคัญ มิฉะนั้นผลการวิจัยอาจจะคลาดเคลื่อนได้
  2. ขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ในกรณีที่ผู้วิจัยใช้ข้อมูลปฐมภูมิ ต้องมีการสร้างเครื่องมือขึ้น ซึ่งคุณภาพของเครื่องมือเป็นสิ่งสำคัญ ผู้วิจัยต้องนำเครื่องมือที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้ และดำเนินการตรวจสอบคุณภาพ หากคุณภาพของเครื่องมือยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ก็ต้องปรับปรุงเครื่องมือจนเป็นที่น่าพอใจก่อนนำเครื่องมือนั้นไปเก็บรวบรวมข้อมูล

การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเด็นทบทวนงานวิจัย การทบทวนที่จะให้คุณค่าแก่นักวิจัยครบถ้วน นอกจากการศึกษาเนื้อหาสาระแล้ว นักวิจัยจะต้องศึกษารายละเอียดของการวิจัยทุกประเด็น ตั้งแต่ชื่องาน วัตถุประสงค์การวิจัย กรอบแนวคิดการวิจัย การกำหนดสมมติฐานการวิจัย ระเบียบวิธีวิจัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนการเขียนรายงานการวิจัย

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย