สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ความหมายของการจัดองค์การ
ทฤษฎีองค์การ
ประเภทขององค์การ (Types of Organization)
หลักการจัดองค์การ
กระบวนการจัดองค์การ (Process of Organizing)
การจัดโครงสร้างขององค์การ (Organization structure)
โครงสร้างองค์การ แบบสูง และแบบกว้าง
การจัดแผนกงาน (Departmentation)
แผนภูมิองค์การ (Organization charts)
อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ (Authority and
Responsibility)
การมอบหมายงาน (Delegation)
หลักการจัดองค์การ
หลักการจัดองค์การ OSCAR ของ Henri Fayol มาจากคำว่า Objective, Specialization,
Coordination, Authority และ Responsibility ซึ่ง Fayol
ได้เขียนหลักของการจัดองค์การไว้ 5 ข้อ เมื่อนำเอาตัวอักษรตัวแรกของคำทั้ง 5
มาเรียงต่อกัน จะทำให้สะกดได้คำว่า OSCAR สำหรับรายละเอียด ทั้ง 5 คำจะขอกล่าวไว้ใน
" หลักในการจัดองค์การที่ดี "
หลักในการจัดองค์การที่ดีจะต้องมีองค์ประกอบและแนวปฏิบัติดังต่อไปนี้
(ศิริอร ขันธหัตถ์, 2536)
- หลักวัตถุประสงค์ (Objective) กล่าวว่า
องค์การต้องมีวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน
นอกจากนั้นตำแหน่งยังต้องมีวัตถุประสงค์ย่อยกำหนดไว้เพื่อว่าบุคคลที่ดำรงตำแหน่งจะได้พยายามบรรลุวัตถุประสงค์ย่อย
ซึ่งช่วยให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์รวม
- หลักความรู้ความสามารถเฉพาะอย่าง (Specialization) กล่าวว่า
การจัดแบ่งงานควรจะแบ่งตามความถนัด
พนักงานควรจะรับมอบหน้าที่เฉพาะเพียงอย่างเดียวและงานหน้าที่ที่คล้ายกันหรือสัมพันธ์กัน
ควรจะต้องอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของคนคนเดียว
- หลักการประสานงาน (Coordination) กล่าวว่า การประสานงานกัน คือ
การหาทางทำให้ทุกๆฝ่ายร่วมมือกันและทำงานสอดคล้องกัน โดยใช้หลักสามัคคีธรรม
เพื่อประโยชน์ขององค์การ
- หลักของอำนาจหน้าที่ (Authority) กล่าวว่า ทุกองค์การต้องมีอำนาจสูงสุด
จากบุคคลผู้มีอำนาจสูงสุดนี้
จะมีการแยกอำนาจออกเป็นสายไปยังบุคคลทุกๆคนในองค์การ หลักนี้บางทีเรียกว่า
Scalar Principle (หลักความลดหลั่นของอำนาจ) บางทีเรียกว่า Chain of command
(สายการบังคับบัญชา)
การกำหนดสายการบังคับบัญชานี้ก็เป็นวิธีประสานงานอย่างหนึ่ง
- หลักความรับผิดชอบ (Responsibility) หลักของความรับผิดชอบ กล่าวว่า
อำนาจหน้าที่ควรจะเท่ากับความรับผิดชอบ
คือบุคคลใดเมื่อได้รับมอบหมายความรับผิดชอบก็ควรจะได้รับมอบหมายอำนาจให้เพียงพอ
เพื่อทำงานให้สำเร็จด้วยดี
<script async src="//pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/adsbygoogle.js"></script>
<!-- center_2559 -->
<ins class="adsbygoogle"
style="display:block"
data-ad-client="ca-pub-2716469986870548"
data-ad-slot="8796964454"
data-ad-format="auto"></ins>
<script>
(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});
</script>
- หลักความสมดุล (Balance)
จะต้องมอบหมายให้หน่วยงานย่อยทำงานให้สมดุลกันกล่าวคือปริมาณงานควรจะมีปริมาณที่ใกล้เคียงกัน
รวมทั้งความสมดุลระหว่างงานกับอำนาจหน้าที่ที่จะมอบหมายด้วย
- หลักความต่อเนื่อง (Continuity)
ในการจัดองค์การเพื่อการบริหารงานควรจะเป็นการกระทำที่ต่อเนื่อง ไม่ใช่ ทำ ๆ
หยุด ๆ หรือ ปิด ๆ เปิด ๆ ยิ่งถ้าเป็นบริษัทหรือห้างร้านคงจะไปไม่รอดแน่
- หลักการโต้ตอบและการติดต่อ (Correspondence)
ตำแหน่งทุกตำแห่งจะต้องมีการโต้ตอบระหว่างกันและติดต่อสื่อสารกัน
องค์การจะต้องอำนวยความสะดวก จัดให้มีเครื่องมือและการติดต่อสื่อสารที่เป็นระบบ
- หลักขอบเขตของการควบคุม (Span of control)
เป็นการกำหนดขีดความสามารถในการบังคับบัญชาของผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ
ว่าควรจะควบคุมดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาหรือจำนวนหน่วยงานย่อยมากเกินไป
โดยปกติหัวหน้าคนงานไม่เกิน 6 หน่วยงาน
- หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of command) ในการจัดองค์การที่ดี
ควรให้เจ้าหน้าที่รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าง่านเพียงคนเดียวเท่านั้น
เพื่อให้เกิดเอกภาพในการบังคับบัญชาจึงถือหลักการว่า "One man one boss"
- หลักตามลำดับขั้น (Ordering)
ในการที่นักบริหารหรือหัวหน้างานจะออกคำสั่งแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
ควรปฏิบัติการตามลำดับขั้นของสายการบังคับบัญชาไม่ควรออกคำสั่งข้ามหน้าผู้บังคับบัญชา
หรือผู้ที่มีความรับผิดชอบโดยตรง เช่น อธิการจะสั่งการใด ๆ
แก่หัวหน้าภาควิชาควรที่จะสั่งผ่านหัวหน้าคณะภาควิชานั้นสังกัดอยู่
อย่างน้อยที่สุดก็ควรจะได้แจ้งหัวหน้าคณะวิชานั้น ๆ ทราบด้วย
เพื่อป้องกันความเข้าใจผิด
และอาจจะเป็นการทำงายขวัญและจิตใจในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาโดยไม่ตั้งใจ
- หลักการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง (Promotion) ในการพิจาความดีความความชอบและการเอนตำแหน่งควรถือหลักว่า ผู้บังคับบัญชาโดยตรงย่อมเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับใต้บังคับบัญชาของตนโดยใกล้ชิดและย่อมทราบพฤติกรรมในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาได้ดีกว่าผู้อื่น ดังนั้นการพิจารณาให้คุณและโทษแก่ผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้ใดก็ควรให้ผู้นั้นทราบและมีสิทธิมีเสียงในการพิจารณาด้วยเพื่อความเป็นธรรมแก่ใต้บังคับบัญชาของเขา และเพื่อเป็นการเสริมสร้างขวัญในการทำงานของบุคคลในองค์การด้วย