สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้  >>

ไวรัสอินฟลูเอนซา

(influenza virus)

       Influenza A virus พบในสิ่งมีชีวิต ได้หลายชนิด มีทั้งสัตว์ปีก เช่น ไก่บ้าน ไก่ป่า นกป่าชนิดต่างๆ ไก่งวง ห่าน เป็ด เป็นต้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น หมู ม้า ปลาวาฬ คน แมวน้ำ ตัวมิงค์ ลิง เป็นต้น แต่สิ่งมีชีวิตที่แยกเชื้อไวรัสได้และพบมีความหลากหลายมากที่สุด คือ สัตว์ปีกโดยเฉพาะพวกนกน้ำ (aquatic bird ) จึงเชื่อว่า พวกนกน่าจะเป็น reservoir ของ influenza virus ไวรัสสามารถแยกได้จากนกน้ำทั่วโลก ที่สำคัญ คือ เป็ด ส่วน influenza B virus ในแมวน้ำซึ่งการค้นพบนี้ยังไม่แน่ใจว่าเป็นการขยายชนิดของสิ่งมีชีวิตหรือเป็นการติดเชื้อโดยโอกาสเอื้อเท่านั้น ส่วน influenza c virus พบส่วนใหญ่ในคนแต่อาจพบได้ในหมู

มีการศึกษาที่ทำให้เชื่อว่าไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด influenza A ที่พบแพร่กระจายในคนนั้น มีจุดเริ่มต้นมาจากเชื้อไวรัสที่มาจากสัตว์ปีกเหล่านี้ โดยอาจได้รับมาโดยตรง และเกิดการกลายพันธุ์ระหว่างที่มีการเจริญภายในร่างกายคน จนทำให้มีความเหมาะสมที่จะแพร่ติดต่อระหว่างคนได้ แต่ก็มีรายงานพบว่า อาจเกิดจากการที่ไวรัสในสัตว์ปีกติดเชื้อผ่านเข้าในหมู และทำให้ไวรัสมีการเปลี่ยนแปลงจนมีความเหมาะสมที่จะเจริญเติบโตในคนได้ดีขึ้น ทำให้เกิดมีสมมุติฐานว่า หมูน่าจะเป็นตัวกลางทำหน้าที่เป็น mixing vessel ระหว่างไวรัสสายพันธุ์ต่างๆ ของสัตว์ปีก ให้มีการกลายพันธุ์ทั้งแบบ mutation และ genetic reassortment ข้ออธิบายหนึ่งคือ การที่ไวรัสจะเข้าเจริญในสิ่งมีชีวิตได้ต้องมีความจำเพาะกับเซลล์สิ่งมีชีวิตนั้นๆ ส่วนที่เป็นตัวกำหนดชนิดของเซลล์ คือ HA ตัวรับที่อยู่บนผิวเซลล์ที่สามารถจับกับ HA ได้อย่างจำเพาะคือ sialic acid ชนิด หรือ linkage ความจำเพาะนี้จึงเป็นตัวกำหนดการเข้าสู่เซลล์ของไวรัส ตัวอย่าง เช่น ในเซลล์เยื่อบุหลอดคอของคนจะมีตัวรับชนิด แต่ในสัตว์ปีกจะมีตัวรับชนิด และในหมูพบว่ามีตัวรับทั้งชนิด และ แต่เดิมเชื่อว่า เซลล์ของคนมีตัวรับเฉพาะชนิด ไม่มี แต่เมื่อเร็วๆ นี้มีรายงานการพบตัวรับชนิด ในเซลล์ของระบบทางเดินหายใจส่วนล่างของคนโดยเฉพาะในเซลล์ alveolar epithelial cell , non-ciliated cuboidal epithelium cell ใน bronchioles ส่วนล่าง การค้นพบนี้อาจทำให้สมมุติฐานเกี่ยวกับการมีตัวกลางเปลี่ยนไป



การติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก H5N1 ในคนนั้น มีหลักฐานเชื่อได้ว่า เกิดจากการติดเชื้อโดยตรงจากสัตว์ปีกที่ป่วยมายังคน แต่ยังไม่มีรายงานใดที่ยืนยันว่า ไวรัสไข้หวัดนก H5N1 สามารถแพร่กระจายและทำให้มีการติดต่อระหว่างคนได้ แม้จะมีรายงานที่ตั้งสมมุติฐานดังกล่าวว่า อาจมีความเป็นไปได้ เพราะมีรายงานผู้ป่วยหลายครอบครัวที่มีการติดต่อระหว่างกัน และไม่มีประวัติการสัมผัสสัตว์ป่วย ไวรัสไข้หวัดนก H5N1 นี้สามารถทำให้สัตว์หลายชนิดติดเชื้อ และ ทำให้เสียชีวิตได้ เช่น เสือ เสือดาว และ แมว เป็นต้น

นอกจาก HA แล้ว ยังพบว่ามีโปรตีนที่สร้างจากยีนส่วน NP ของไวรัสที่คาดว่าจะมีบทบาทในการกำหนดชนิดสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมให้ไวรัสเข้าเจริญเติบโต ส่วน internal genes ต่างๆ ได้แก่ PB1,PB2,PA,M1,M2,NS1 และ NS2 ก็มีรายงานว่าอาจมีบทบาทร่วมบางส่วนด้วย

อ้างอิงจาก : สมาคมไวรัสวิทยา (ประเทศไทย) . INFLUENZA A VIRUSไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนก . พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โนว์เลจด์ เพรส จำกัด , 2549.

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย