วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา
ควายป่า
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Bubalus bubalis Linnaeus
วงศ์: Bovidae
ควายป่าจัดเป็นสัตว์จำพวกกีบคู่ ( Even - toed Ungulate ) จำพวกเดียวกันกับวัวป่า
เท้าทั้ง 4ข้าง มีนิ้วเท้าขนาดใหญ่ข้องละ 2 นิ้ว
เล็บที่ปลายนิ้วพัฒนามาเป็นกีบนิ้วแข็ง ( hoff ) ลักษณะเป็นกีบเท้าคู่ขนานกัน
นิ้วที่ 2 และนิ้วที่ 5 ลดขนาดลงเหลือกีบกิ่งขนาด เล็ก ๆบริเวณข้อเท้าเหนือกีบนิ้ว
ส่วนนิ้วโป้งหรือนิ้วที่ 1 หดหายไป จัดเป็นสัตว์กินพืชที่กินหญ้าเป็นอาหารหลัก
มีการพัฒนาระบบย่อยอาหารแบบสัตว์เคี้ยวเอื้อง
ฟันหน้าของกรามบนเปลี่ยนเป็นสันฟันคมสำหรับตัดฉีกพืชใบยาวจำพวกหญ้า กระเพาะอาหารมี
4 ตอนทำให้สามารถสำรอกอาหารจะส่วนของกระเพาะพักขึ้นมาเคี้ยวให้ละเอียดได้ใหม่
ช่วยในการย่อยอาหารจำพวกหญ้าที่เป็นเส้นใยที่ย่อยยาก ๆ ควาย ( Buffalo ) ในสกุล
Bubalus มีเพียงชนิดเดียวและถือว่าเป็นควายแท้ คือควายป่า ( Bubalus bubalis )
ซึ่งมีเขตกระจายพันธุ์เฉพาะในทวีปเอเชียและมีนิสยชอบน้ำมากจึงได้ชื่อเรียกว่าควายน้ำเอเชีย
( Asian Waterbuffalo )
รูปร่างลักษณะของควายป่ากับควายบ้านมีลักษณะคล้ายกันมาก
เนื่องจากเป็นควายชนิดเดียวกัน
แตกต่างกันที่สัดส่วนซึ่งใหญ่กว่ากันทุกสัดส่วนอย่างชัดเจน ลักษณะรูปร่างของควาย
ค่อนข้างเตี้ยล่ำสัน สีขนตามตัวทั่วไปเป็นสีเทาหรือน้ำตาลดำ เส้นขนหยาบห่าง
ช่วงคอใหญ่และหนา บริเวณลำคอมีแถบลายขนาดใหญ่สีขาวเป็นรูปตัว V หน้าผากแคบ
ท้องไม่ป่องพลุ้ยอย่างควายบ้าน หางสั้น ความยาวเพียงแค่ข้อเข่าหลัง
ปลายหางเป็นพู่ขนยาวใบหูแหลมมีขนขึ้นเต็มขาทั้ง 4 ข้าง
ขนาดของควายป่าไทย ช่วงลำตัวและหัวยาว 2.4-2.8 เมตร หางยาว
0.6-0.85 เมตร ความสูงที่ไหล่ 1.6-1.9 เมตร น้ำหนักตัวประมาณ 800-1,200 กิโลกรัม
ส่วนขนาดควายบ้าน ขนาดตัวเฉลี่ย 1.3-1.5 เมตร ความสูงเฉลี่ย 1.2-1.4 เมตร
น้ำหนักตัวประมาณ 360-440 กิโลกรัม
เขตการกระจายพันธุ์ของควายป่ามีอยู่แถบประเทศอินเดีย
เมียนมาร์และกลุ่มประเทศอินโดจีน แต่ไม่กระจายลงมาทางแหลมมาลายู
ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการกระจายพันธุ์ของควายป่า
อีกทั้งยังพบว่าควายป่าในประเทศไทยมีขนาดใหญ่กว่าควายป่าในแหล่งอื่น ๆ
ปัจจุบันคาดว่ายังมีควายป่าแท้ ๆ หลงเหลืออยู่ในประเทศเนปาล
รัฐอัสสัมและโอริสสาของอินเดีย
ในประเทศไทย
แต่เดิมเคยมีควายป่าอยู่ตามป่าทุ้งโปร่งเกือบทุกภาคของประเทศ ยกเว้นภาคใต้
แต่ปัจจุบันถูกล่าหมดไป
ยังคงเหลืออยุ่เพียงแหล่งเดียวเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทยธานี
ประมาณ 40 ตัว ( 2536 )
พฤติกรรมความเป็นอยู่ทั่ว ๆ ไปของควายป่า
ชอบอยู่รวมกันเป็นหมู่ที่มีตัวเมียและตัวผู้เล็ก ๆ
ส่วนตัวผู้ที่มีขนาดใหญ่มักชอบแยกตัวอยู่ตามลำพังเป็นควายโทน
ลักษณะรูปแบบสังคมคล้ายกับพวกวัวป่า แหล่งทีอยู่สำคัญได้แก่
ป่าทุ่งหรือป่าโปร่งตามที่ลุ่มต่ำที่มีหนองบึงสำหรับลงแช่ปลัก
ปกติไม่ชอบอยู่ตามป่าเขาสูง ๆ ที่หาปลักโคนได้ยาก หรือตามป่าดิบรกทืบ
เพาะมีเขายาวใหญ่เกะกะไม่สะดวกในการบุกรุก สายตาไม่ดี
แต่จมูกและหูมีความไวต่อประสาทสัมผัสดีมาก
ฤดูผสมพันธุ์ของควายป่า ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงปลายฤดูฝน
ต้นฤดูหนาว ประมาณเดือน ตุลาคม-พฤษจิกายน ในช่วงฤดูนี้
ปกติแล้วควายป่าตัวเมียจะมีระยะเป็นสัดประมาณ 20-21 วัน ต่อครั้ง
ระยะตั้งท้องของควายป่าประมาณ 310 วัน ปกติออกลูกครั้งละ 1 ตัว
ภายหลังจากออกลูกประมาณ 40 วัน แมควายป่าจะสามารถผสมพันธุ์ตั้งท้องได้ใหมิอีก
แต่โดยทั่วไปแล้วแม่จะเลี้ยงดูลูกนานประมาณ 1 ปีครึ่ง
โดยไม่ยอมผสมพันธุ์ใหม่อายุเฉลี่ยประมาณ 20-25 ปี
สาเหตุที่ทำให้ควายป่าในธรรมชาติ
ลดน้อยลงอย่างรวดเร็วจนสูญพันธุ์ไปแล้วในหลายถิ่นกำเนิดเดิม
ได้แก่การล่าเพื่อเอาเนื้อ หนังและเขา เป็นอาหารและเครื่องประดับต่างๆ
ทั้งนี้เนื่องมีนิสัยที่ๆไม่ค่อยกลัวหรือหลบคน
และการแช่ปลักหรืออยู่ตามทุ่งโล่งที่เดิมเป็นประจำ จึงถูกล่าได้ง่าย
อีกทั้งป่าโปร่งหรือป่าทุ่งส่วนใหญ่ถูกทำลายเป็นที่อยู่อาศัย และเป็นที่เกษตรกรรม
ทำให้ควายป่ามีอยู่ถูกขับไล่กระจัดกระจายเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย
ไม่สามารถติดต่อกันได้
ซึ่งมีผลกระทบต่อการถ่ายทอยพันธุกรรมของสัตว์ที่อยู่เป็นฝูงอย่างยิ่ง
นอกจากนี้การลูกรุกถิ่นที่อยู่ของควายผป่า
อาจที่ให้ควายป่าผสมพันธุ์กับควายบ้านที่คนเอามาเลี้ยง
ทำให้พันธุกรรมของควายป่าด้วยลง และอาจติดโรคระบาดจากควายบ้านได้ด้วย