วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา
กฎหมายชีวจริยศาสตร์
การพิจารณาทบทวนข้อกฎหมายชีวจริยศาสตร์ :
ข้อเสนอแนะจากรายงานการประชุมของสภาแห่งรัฐฝรั่งเศส
ในกรณีเกี่ยวกับการวิจัยตัวอ่อนและกลุ่มเซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อนของมนุษย์ ซึ่งมีการหยิบยกประเด็นขึ้นมานับตั้งแต่มีทารกหลอดแก้วที่เกิดจากความพยายามในการนำความช่วยเหลือทางการแพทย์มาช่วยการเจริญพันธ์ สภาแห่งรัฐฝรั่งเศสเห็นว่า ควรมีกฎหมายรองรับการอนุญาตภายใต้เงื่อนไขที่เข้มงวด : เป็นเรื่องทางวิทยาศาสตร์ มิติความก้าวหน้าในการบำบัดรักษาโรคที่สำคัญ ไม่สามารถที่จะศึกษาวิจัยโดยใช้เซลล์ประเภทอื่นได้ เคารพหลักจรรยาบรรณ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ห้ามผลิตตัวอ่อนมนุษย์เพื่อการศึกษาวิจัย) สภาแห่งรัฐฝรั่งเศสยังเห็นว่า ต้องให้ข้อมูลแก่หญิงตั้งครรภ์ถึงความสำคัญของผลการวินิจฉัยก่อนคลอดทารก(un diagnostic prénatal- DPN) หรือการวินิจฉัยก่อนการฝังตัวของตัวอ่อน (un diagnostic préimplantatoire-DPI) เมื่อพิจารณาปัญหาในแง่จรรยาบรรณที่เกิดจากเทคนิค การวินิจฉัยก่อนการฝังตัวของตัวอ่อนคู่ (ซึ่งทำให้สามารถเลือกทารกที่จะเกิดทางพันธุกรรมได้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการรักษาทารกที่เกิดมาแล้วและได้รับถ่ายทอดโรคร้ายทางพันธุกรรม) ด้วยเหตุนี้ สภาแห่งรัฐฝรั่งเศสเห็นควรให้มีการพิจารณาตรวจสอบ กลไกนี้ใหม่ในอีก 5 ปี ก่อนจะตัดสินใจว่าการวิจัยนี้สามารถดำเนินต่อไปได้หรือไม่
ในกรณีเกี่ยวกับการไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้บริจาคอสุจิและไข่ สภาแห่งรัฐฝรั่งเศสได้เสนอว่าในอนาคตควรให้ เด็กที่ถือกำเนิดโดยความช่วยเหลือทางการแพทย์เพื่อการเจริญพันธ์จากบุคคลที่ 3 สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนใหญ่ของผู้บริจาคที่ไม่ระบุไว้ได้ หากผู้บริจาคนั้นให้ความยินยอม
จากหลักการเรื่องการไม่ถือครองกรรมสิทธ์ร่างกายมนุษย์นั้น สภาแห่งรัฐฝรั่งเศสจึงไม่เสนอให้กลับไปพิจารณาถึงการห้ามการรับตั้งครรภ์แทน (อุ้มบุญ) ในทางกลับกัน สภาแห่งรัฐฝรั่งเศสเห็นควรให้มีการจัดการเรื่องสถานภาพทางกฎหมายของเด็กที่เกิดด้วยวิธีการรับตั้งครรภ์แทนในต่างแดนนี้ เพื่อมิให้เด็กต้องรับโทษทางกฎหมาย
เพื่อจำกัดความเสี่ยงต่อบุคคลและหมู่คณะอันเกิดจากการปิดบังซ่อนเร้นการกระทำผิดทางกฎหมายโดยการทดลองทางพันธุกรรม สภาแห่งรัฐฝรั่งเศสได้เตรียมกระบวนกฎหมายทางปกครองที่นับแต่นี้ต่อไป อนุญาตให้มีการทดลองทางพันธุกรรมขึ้นในตลาดวิจัย นอกจากนี้ สภาแห่งรัฐฝรั่งเศสได้พิจารณาว่า การตรวจหาสายเลือดทางพันธุกรรมจากการชันสูตรศพสามารถกระทำได้ด้วยคำตัดสินของศาล หลังจากที่ได้มีการชั่งน้ำหนักพิจารณาผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องแล้ว เว้นเสียแต่ว่า ผู้ได้รับผลประโยชน์จะคัดค้านเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ของตน
สุดท้าย สภาแห่งรัฐฝรั่งเศสได้เสนอสิทธิแก่ผู้ป่วยในการรับการดูแลรักษาแบบประคับประคองที่มีกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายสาธารณสุข และคาดว่าจะทำให้วัตถุประสงค์ของการขอให้ออกกฎหมายการุณยฆาตเบี่ยงเบนไปมาก
แปลโดย นายแสงหิรัญ สาครินทร์ พนักงานแปล ภาษาฝรั่งเศส
ตรวจโดย นส. ณภัค อังควราธานัท กลุ่มแปลและสื่อสารภาษาต่างประเทศ
สำนักประสานความร่วมมือระหว่างประเทศและสารนิเทศ
22 กันยายน 2552