ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์

ประชาคมอาเซียน

พม่า (Myanmar)

พระพุทธศาสนาในประเทศพม่า

หน้า 3

ในครั้งนั้นได้มีพระบวชในคณะกัลยาณีถึง 15,666 รูป คณะสงฆ์เมืองหงสาวดีก็กลับมาเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง แต่ก็เพียงชั่ว พระชนมายุของพระเจ้าธรรมเจดีย์เท่านั้น เมื่อหลังการสวรรคตของระเจ้าธรรม เจดีย์แล้ว ก็เกิดการแตกแยกกันอีก ในรัชสมัยของพระเจ้าเมงกะยินโย ครองเมือง ตองอู ขณะนั้นพระพม่าแบ่งออกเป็น3 เมืองใหญ่ ๆ ได้แก่ อังวะ ของไทยใหญ่ เมืองแปรของมอญ และตองอู ของพม่า ทั้ง 3 เมืองมุ่งแต่จะทำสงครามกัน ไม่มี เวลาสนใจทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเลย ในสมัยพระเจ้าบุเรงนองได้มีการฟื้นฟู พระพุทธศาสนา และห้ามฆ่าสัตว์ใหญ่ เมื่อมีคนตาย พระเจ้าบุเรงนองเรืองอำนาจ มากจนชื่อว่าผู้ชนะสิบทิศ มีประเทศราชทั่วสุวรรณภูมิ คือ อังวะ แปร เชียงใหม่ อยุธยา ยะใข่ ล้านช้าง และหัวเมืองไทยใหญ่ทั้งปวง ทรงครองราชอยู่ได้ 30 ปี สวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2124 เมื่อพระเจ้าบุเรงนองสวรรคตแล้ว พระโอรสขึ้นเสวย ราชแทน แต่ไม่มีอำนาจเหมือนพระเจ้าบุเรงนอง เมืองขึ้นต่าง ๆ ได้ประกาศตัว เป็นอิสรภาพ รวมทั้งไทยด้วย พม่าต้องทำศึกกับไทย 4 ครั้งใหญ่ ๆ ไทยเป็นผู้ ชนะทุกครั้ง พวกมอญได้รวบรวมพรรคพวก โดยได้เชิญพระภิกษุชาวกะเหรี่ยงรูป หนึ่ง ชื่อว่า พระสะล่า เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญทางเวทย์มนต์คาถา เชิญให้สึก ออกมา คิดแผนการณ์ไล่พม่าออกจากเมืองได้สำเร็จ และได้ทำพิธีราชาภิเษกเป็น กษัตริย์ผู้ครองนครหงสาวดี เมื่อพ.ศ. 2283 มีพระนามว่า พระเจ้าสทิงทอพุทธ เกติ ได้แผ่อิทธิพลตีเมืองตองอู และเมืองแปรได้สำเร็จ นับว่าเป็นยุคที่มอญเรือง อำนาจ

ในราวพุทธศตวรรษที่ 21 ชนชาติโปรตุเกสได้เข้ามาติดต่อกับประเทศพม่า มีโปรตุเกสคนหนึ่งได้มาแต่งงานกับพระธิดาของเจ้าเมืองเมาะตะมะ และได้ช่วย พระเจ้ายะไข่ปราบกบฏ จนมีความดีความชอบได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองสีเรียม จึงถือโอกาสเผยแผ่ลัทธิโรมันคาทอลิค ด้วยการเบียดเบียนพุทธศาสนา เช่นริบ ทรัพย์สมบัติของวัด เที่ยวยื้อแย่งเจดีย์สถาน ห้ามประชาชนใส่บาตรทำบุญ จน พระสงฆ์ต้องลี้ภัยไปกรุงอังวะ เพื่อร้องทุกข์กับกษัตริย์พม่า ในที่สุดพม่ากับมอญ ได้ร่วมมือกันกำจัดพวกโปรตุเกสที่เบียดเบียนพระพุทธศาสนา โดยจับขึงไม้ กางเขนตายหลายคน พวกมอญได้ยึดครองพม่าเพียง 7 ปีเท่านั้น ก็ได้สิ้นอำนาจ ลงจากการทำสงครามกับอลองพญา ซึ่งประกาศแต่งตั้งราชธานีขึ้นเอง ชื่อว่ากรุง รัตนสิงห์ ได้มาตีกรุงหงสาวดี เมื่อพ.ศ. 2299 ในที่สุดกรุงหงสาวดีก็แตกเมื่อ พ.ศ. 2300 มอญจึงได้สูญสิ้นอำนาจ พม่ากลับมีอำนาจอีกครั้ง และพม่าหลังจาก ได้ปราบมอญได้แล้ว จึงได้ยกทัพมาตีไทย ตีครั้งแรก พ.ศ. 2303 นำโดยอลอง พญา แต่ไม่สำเร็จ โดย อลองพญาได้สวรรคต เพราะปืนใหญ่แตก แต่ก็สามารถตี กรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จเมื่อ พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาจึงถูกพม่าเผาผลาญเสีย วอดวาย ได้มีเหตุการณ์สำคัญทางพุทธศาสนาที่เกิดขึ้นในพม่า คือ การสังคายนา พระไตรปิฎก ครั้งที่ 5 (ของฝ่ายเถรวาท) ณ เมืองมัณฑะเล เมื่อ พ.ศ. 2414 ได้ มีการจารึกพระไตรปิฎกลงในหินอ่อน 729 แผ่น โดยการอุปถัมภ์ของพระเจ้ามิ นดง และได้รับการสนับสนุนจากคณะสงฆ์ทั้งของศรีลังกา ไทย กัมพูชา และลาว อังกฤษได้เข้ามาแสวงอาณานิคม และมีอำนาจในพม่า เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2368 กษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่า คือ พระเจ้าธีบอ แห่งราชวงศ์อลองพญา ได้สิ้นลง เมื่อ พ.ศ. 2429 เมื่อคราวพม่าทำสงครามกับอังกฤษ ครั้งที่ 3 อังกฤษเอาชนะ พม่าโดยปราศจากสัญญาใด ๆ พระราชา คือ พระเจ้าธีบอ และพระมเหสี ถูก เนรเทศไปอยู่เมืองรัตนคีรีในประเทศอินเดีย พระเจ้าธีบอสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2458 ส่วนพระนางศุภยะลัต กลับมาสวรรคตที่เมืองย่างกุ้ง เมื่อ พ.ศ. 2468 ในช่วงที่อังกฤษปกครองพม่านั้น ประชาชนไม่พอใจ และต่อต้านอังกฤษหลาย เรื่อง เช่น การประกาศยุบประเทศพม่าให้เป็นมณฑลอันหนึ่งของอินเดีย จึงมีการ ก่อกบฏขึ้น แต่ก็ถูกอังกฤษปราบปราม ประชาชนก็ยังต่อต้านอังกฤษในทาง ศาสนาและวิถีการเมือง

<< ย้อนกลับ || หน้าถัดไป >>

อ้างอิง : http://watmai.atspace.com/burma.htm

ประวัติศาสตร์ประเทศพม่า
การเมืองพม่า
ข้อมูลประเทศพม่า
เปียงมนา เนปิดอว์ เมืองหลวงใหม่
พระพุทธศาสนาในประเทศพม่า
พม่า : เพื่อนบ้านที่เราไม่คุ้นเคย
การแต่งกายพม่า

สาระความรู้ ข้อมูลอาเซียน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย