ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์
พม่า (Myanmar)
เปียงมนา เนปิดอว์ เมืองหลวงใหม่พม่า
ภูมิศาสตร์ที่ตั้งเมืองหลวงใหม่
ตั้งอยู่ กลางของประเทศห่างจากย่างกุ้งไปทางเหนือ 390กิโลเมตร (ตำแหน่งที่ตั้งละติจูด 19 ํ45'N, 96 ํ12'E) ที่ชื่อว่าเมืองเปียงมนา (Pyinmana)2 ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด งา ถั่ว และอ้อย อุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ ป่าไม้ (ไม้สัก ไม้แดง) และเป็นแหล่งผลิตน้ำตาล เพราะมี พื้นที่ปลูกอ้อย มีโรงงานน้ำตาลไชยวดีซึ่งอยู่ลงมา ทางเมืองตองอูและแถบแม่น้ำปองลอง ซึ่งห่างจาก เมืองเปียงมนาออกไปทางด้านตะวันออกราว 5 ไมล์ ซึ่งสามารถผลิตน้ำตาลได้ถึง 1,500 ตัน/วัน ส่วนบริเวณที่เรียกว่าเป็นมหานครเนปิดอว์ ตั้งอยู่ห่างจากเปียงมานาประมาณ 5-6 ไมล์ โดย พม่าวางแผนจะให้บริเวณนี้เป็นเมืองธุรกิจและ ศูนย์กลางธุรกิจระดับนานาชาติและศูนย์กลางการ ท่องเที่ยว โดยคาดว่าจะใช้เงินหลายล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2 แสนล้านบาท เพื่อการก่อสร้าง บนพื้นที่ 10 ตารางกิโลเมตรเพื่อเป็นที่ตั้งศูนย์ราชการ กรม กอง กระทรวงต่าง ๆ กว่า 30 กระทรวง และ บ้านพักข้าราชการ และกองบัญชาการกองทัพ ศาลากลาง โรงแรมห้าดาวหนึ่งแห่ง โรงพยาบาล ขนาด 300 และ 1,000 เตียง มีตลาดขนาดใหญ่ มีชื่อว่า Myoma แหล่งเก็บน้ำ ถนนไฮเวย์ 6 เลน
เป็นเมืองดั้งเดิมมีมาในสมัยที่พม่าปกครองด้วย ระบอบกษัตริย์ มีขนาดพื้นที่ 4,600 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 78 เท่าของเมืองแมนฮัตตันของ สหรัฐอเมริกาโดยมีความหมายเดิมว่าเป็น "ดินแดน ละเว้น" เพราะตั้งอยู่บริเวณป่าทึบและชื้นแฉะทำให้ ไม่มีการเดินทัพหรือการทำศึก และจะถูกละเว้นการ เก็บส่วย ซึ่งได้มีการเปลี่ยนชื่อในสมัยอาณานิคม แต่เกิดการสะกดชื่อสับสน จึงเลือกชื่อจากอีก หมู่บ้านใกล้เคียงมาแทน ในอดีตเปียงมนาเป็น ตำบลหนึ่งที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอยะแมตึง และ นับเป็นเมืองใหญ่อันดับสองซึ่งอยู่ในเขตมัณฑะเลย์ และถูกยกระดับเป็นเทศบาลในปี พ.ศ. 2431 มีการสร้างสถานที่ราชการ ศาลปกครอง และโรงงาน อยู่บนเนินทางด้านทิศตะวันตกของเมือง
ปัจจุบัน เปียงมนาถูกยกเป็นอำเภอ และเป็นที่ตั้งของ เมืองราชธานี ที่เรียกว่า เนปิดอว์ เรียกเต็ม ๆ ว่า เปียงมนา-เนปิดอว์ (Pyinmana Naypyidaw) คำแรกเป็นชื่อเมือง คำหลังแปลว่า ราชธานี หรือบางที่ เรียกว่า เนปิดอว์ ซึ่งเพิ่งประกาศเป็นทางการทางสื่อ ต่าง ๆ ในวัน Armed Force Day เมื่อช่วงปลายเดือน มีนาคม 2549 สถานที่ราชการทั่วไปอยู่ทางด้าน ตะวันตกติดกับเทือกเขาพะโค ส่วนด้านตะวันออก ติดกับเทือกเขาฉานจะเป็นบริเวณที่ทำการทหาร เคยมีการสำรวจในปี ค.ศ.1953 มีประชากรมากกว่า 5,000 ครัวเรือนหรือกว่าสองหมื่นคน
ปัจจุบัน ประมาณการปี 2006 มีประชากร 100,000 คน3 ชาวเมืองส่วนใหญ่เป็นชาวพม่าที่นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาเป็นชาวมุสลิมและชาวจีนตามลำดับ ส่วนใหญ่มีอาชีพรับราชการ ทำไร่ทำนา และค้าขาย เชื่อมกับย่างกุ้ง และยังมีการก่อสร้างสนามบิน ขนาดใหญ่เป็นทั้งสนามบินทหารและพาณิชย์ เพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการบินระหว่างประเทศและ การค้าและพัฒนาธุรกิจระหว่างประเทศ และที่สำคัญ สุดสนามกอล์ฟ 2 สนาม ทำเนียบประธานาธิบดีสุดหรู ขนาด 110 ห้อง ซึ่งมีข่าวว่ามีการขุดอุโมงค์และถ้ำ เพื่อให้หลีกจากภัยของขีปนาวุธ นอกจากนี้ยังมี การสร้างสัญลักษณ์อันเป็นที่เคารพบูชาของคนพม่า ด้วยการจำลองเจดีย์ชเวดากอง ชื่อ Oakpartathanti ซึ่งมีขนาดสูงน้อยกว่าของจริงเล็กน้อย เมืองหลวงใหม่นี้ตั้งอยู่บนเส้นทาง คมนาคมมาตั้งแต่ในอดีต เพราะยังมีเส้นทาง เชื่อมต่อกับเมืองย่างกุ้ง จึงทำให้สามารถพัฒนาเป็นฮับขนส่งและยังติดกับรัฐ Shan Chin และ Karen มีเส้นทางคมนาคมทั้งทางรถยนต์และรถไฟ สามารถเดินทางติดต่อเมืองย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ โดยระยะทางรถไฟจากเมืองเปียงมนาถึงเมือง มัณฑะเลย์ 161ไมล์ และอยู่ห่างจากเมืองย่างกุ้ง 224 ไมล์ หรือใช้เวลาประมาณ 9 ชั่วโมง ในด้านการขนส่งชาวเมืองอาศัยรถม้า เกวียน รถยนต์ และ รถไฟเพื่อการเดินทางและค้าขาย
สำหรับทางรถยนต์นั้นเป็นเส้นทางสายสำคัญในการขนส่งไม้ ส่วนสนามบินแห่งใหม่อยู่ที่บ้านAlar ทางใต้ของเมืองเปียงมนา เรียกว่า Alar Airport มีการสร้างถนน 8 เลน ระยะทาง 21.4 กิโลเมตร เชื่อมต่อส่วนราชการ ใช้เวลาราว 30 นาที คาดว่า จะแล้วเสร็จปลายปี 2549 ซึ่งอยู่ไม่ไกลจาก บริเวณที่ราบ Pyin Oo Lwin ซึ่งเป็นที่ตั้งสำคัญ ทางการทหารที่ชื่อ Army's Defense Services Academy (DSA) เมืองไซเบอร์แห่งใหม่ Yanadabon Silicon Vallage และยังมีโรงงานผลิต เหล็กและเหล็กกล้าสามารถผลิตได้ 30,000 ตันต่อปี ผลต่อเศรษฐกิจพม่าจากการย้ายเมืองหลวง การย้ายเมืองหลวงของพม่าแม้ว่าจะมีทั้ง ผลดีในระยะแรก เนื่องจากดึงดูดนักลงทุนจาก ต่างประเทศ การจ้างงาน แต่ในระยะยาวส่งผลต่อ เศรษฐกิจพม่าจากปัญหาเงินเฟ้อ ค่าเงิน 2 ระบบ ที่ยิ่งห่างกันมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการขาดดุลงบประมาณ เพิ่มขึ้นในอนาคต
- สาเหตุการย้ายเมืองหลวง
- ภูมิศาสตร์ที่ตั้งเมืองหลวงใหม่
- ผลกระทบต่อเศรษฐกิจพม่า
- ผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจพม่า
- ผลทางด้านเศรษฐกิจต่อประเทศไทย
ประวัติศาสตร์ประเทศพม่า
การเมืองพม่า
ข้อมูลประเทศพม่า
เปียงมนา เนปิดอว์ เมืองหลวงใหม่
พระพุทธศาสนาในประเทศพม่า
พม่า : เพื่อนบ้านที่เราไม่คุ้นเคย
การแต่งกายพม่า