ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์
มาเลเซีย (Malaysia)
สหพันธรัฐมาเลเซีย
ประเทศมาเลเซีย (Malaysia) เป็นประเทศในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน โดยมีทะเลจีนใต้ กั้น ส่วนแรกคือคาบสมุทรมลายู มีพรมแดนทิศเหนือติด ประเทศไทย และทิศใต้ติดกับสิงค์โปร์ ส่วนที่สองคือทาง เหนือของเกาะบอร์เนียว มีพรมแดนทิศใต้ติดอินโดนีเซีย และ มีพรมแดนล้อมรอบประเทศบรูไน
มาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ มีประชากรทั้งสิ้น 26.92 ล้านคน และ มีค่า GDP ประมาณ 308.8 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ
การประมงในมาเลเซียส่วนใหญ่เป็นการประมงขนาดเล็กทำการประมงกระจัดกระจายอยู่ตาม ชายฝั่ง มาเลเซียมีเรือประมงที่ได้รับอนุญาตทั้งสิ้น 32,672 ลำ ในจำนวนนี้ 20,365 ลำ ทำการประมงอยู่ใน ฝั่งแหลมมาลายู 133 ลำ ในเขตลาบวน 9,836 ลำ ในซาบาร์ และ 2,338 ลำ ในซาราวัก ในจำนวนนี้ร้อยละ 51.6 เป็นเรือประมงติดเครื่องยนต์ ภายในเรือ ร้อยละ 39.3 เป็นเรือติดเครื่องยนต์ภายนอกเรือ และอีกร้อย ละ 9.1 เป็นเรือไม่ติดเครื่องยนต์ ขนาดของตัวเรือร้อย ละ 63 มีขนาดต่ำกว่า 15 ตันกรอส ร้อยละ 24 มีขนาด อยู่ระหว่าง 15-140 ตันกรอส ร้อยละ 8.2 มีขนาด 40- 69.9 ตันกรอสและมีเพียงร้อยละ 3 ที่มีขนาดมากกว่า 70 ตันกรอส
ภายใต้กฎหมายการประมงของมาเลเซีย ค.ศ.1985 เรือประมงที่จะทำการประมงในน่านน้ำ มาเลเซียต้องมีใบอนุญาตทำการประมงจากกรมประมงก่อน และเนื่องจากการประมงชายฝั่งของมาเลเซีย ระหว่าง 0-30 ไมล์ทะเล มีจำนวนหนาแน่นมากแล้ว จากการทำการประมงของเรือที่มีขนาดต่ำกว่า 70 ตัน กรอส จึงทำให้มาเลเซียไม่ออกใบอนุญาตเพิ่ม และหันมาส่งเสริมการประมงนอกชายฝั่งตั้งแต่ระดับ 30 ไมล์ทะเลออกไป โดยใช้เรือประมงขนาด 70 ตันกรอสขึ้นไป
ผลผลิตการประมงทะเลของมาเลเซียมีประมาณ 1.2 ล้านตันต่อปี โดยร้อยละ 71 มาจากการจับใน ฝั่งแหลมมาลายู ร้อยละ 11 จากรัฐซาราวัก ร้อยละ 3 จากลาบวน และอีกร้อยละ 15 จากซาบาร์ ผลผลิต ร้อยละ 88 ของประเทศมาจากการประมงชายฝั่ง ซึ่งสวนใหญ่มาจากเครื่องมือประมงประเภทอวนลาก และอวนล้อม สำหรับการประมงน้ำลึกตั้งแต่ 30 ไมล์ทะเลออกไปของเรืออวนลาก อวนล้อม และเรือเบ็ด ตวัด ให้ผลผลิตปีละประมาณ 130,000 ตัน คิดเป็นร้อยละ 11 ของผลผลิตทั้งหมด
องค์ประกอบของสัตว์น้ำในมาเลเซียมีความหลากหลาย เนื่องจากเป็นสัตว์น้ำหลากหลายพันธุ์ใน เขตร้อน แต่สัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจมากที่สุด ได้แก่ กุ้ง สหพันธรัฐมาเลเซีย (Republic of Malaysia)
ด้านการจัดการประมง ประเทศมาเลเซียได้แบ่งน่านน้ำออกเป็น 4 เขต คือ ABC และ C2 เขต A อยู่ระหว่าง 0-5 ไมล์ทะเล ซึ่งสงวนไว้เฉพาะการประมงพื้นบ้าน เขต B อยู่ระหว่าง 5-12 ไมล์ทะเล สงวน ไว้สำหรับเรือประมงพาณิชย์ขนาดต่ำกว่า 40 ตันกรอส ที่ใช้เครื่องมืออวนลากและอวนล้อม เขต C เป็น เขตตั้งแต่ 12-30 ไมล์ทะเล สำหรับเรือประมงพาณิชย์ ขนาดต่ำกว่า 70 ตันกรอส และเขต C2 คือตั้งแต่ 30 ไมล์ทะเลออกไป ถือว่าเป็นการประมงน้ำลึกสำหรับเรือขนาดมากกว่า 70 ตันกรอส
การประเมินทรัพยากรประมงในมาเลเซีย แสดงให้เห็นว่ารัฐซาราวัก และรัฐซาบาร์สามารถ ได้รับการพัฒนาต่อไปได้ ส่วนด้านแหลมมาลายูอาจมีข้อจำกัด เพราะจำนวนเรือมีมากเกินไป ประเทศ มาเลเซียมีการจัดการทรัพยากรประมงแบบระมัดระวัง จึงมีนโยบายลดปริมาณการจับสัตว์น้ำ โดยออก มาตรการจำกัดจำนวนเรือ ไม่ออกใบอนุญาตเพิ่ม เพิกถอนใบอนุญาตของผู้ละเมิดกฎหมาย ประเทศ มาเลเซียไม่มีกฎระเบียบในการให้ชาวต่างชาตินำเรือประมงเข้าไปทำการประมงโดยตรง แต่จะอนุญาต ให้ชาวมาเลเซียซึ่งเป็นผู้ถือใบอนุญาตจับปลาในน่านน้ำมาเลเซียสามารถเช่าเรือประมงต่างชาติเข้าไปทำ การประมงในมาเลเซียได้ โดยผู้ประกอบการไทยที่นำเรือไปให้เช่าจะต้องร่วมทุนกับผู้ประกอบการ มาเลเซียเพื่อดำเนินการกิจกรรมประมงต่อเนื่องด้วย ปลาที่จับได้นำขึ้นท่า ที่มาเลเซียก่อน ซึ่งหากมีปลาที่ตลาดมาเลเซียไม่ต้องการก็สามารถขน กลับไทยได้โดยขออนุญาตทางการมาเลเซียก่อน และทำการขนส่งทาง บกเท่านั้น ซึ่งจะต้องเสียภาษีส่งออกร้อยละ 5 ลูกเรือประมงเป็น ชาวต่างชาติได้ร้อยละ 100 การร่วมทุนทำการประมงดังกล่าวต้องเป็นการ ดำเนินการผ่านการประสานงานระหว่างรัฐต่อรัฐด้วย
สหพันธรัฐมาเลเซีย
ประวัติความเป็นมาและการก่อตั้งประเทศ
การเมืองการปกครอง
รู้จักมาเลเซีย
พระพุทธศาสนาในประเทศมาเลเซีย
ข้อมูลการค้าไทย-มาเลเซีย
สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย
ชาวไทยเชื้อสายมลายูในภาคใต้ของไทยและชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยในรัฐกลันตัน
การแต่งกายมาเลเซีย
การประมงไทยในมาเลเซีย