ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป>>

ประวัติศาสตร์รถยนต์ในประเทศไทย

2

               พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดปรานรถยนต์พระที่นั่งดังกล่าว เพราะทรงเห็นว่า สะดวกสบาย และเดินทางได้รวดเร็วกว่ารถม้าพระที่นั่ง ในยามว่างจากพระราชกรณียกิจ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์นำเสด็จพระองค์ และพระบรมวงศานุวงศ์ไปตามที่ต่างๆ ต่อมาทรงเห็นว่า รถยนต์พระที่นั่งคันเดียวไม่พอที่จะใช้งานตามพระราชประสงค์ จึงตัดสินพระทัยที่จะซื้ออีกคันหนึ่ง
                        ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทำหน้าที่นี้ เช่นเดียวกับซื้อรถยนต์คันแรก พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงเลือกรถเมร์เซเดสเบนซ์ อีกคันหนึ่งโดนนำเข้าจากประเทศเยอรมนี รุ่นปี พ.ศ. 2448 เครื่องยนต์ 4 สูบ 28 แรงม้า ความเร็ว 73 กม.ต่อ ชั่วโมง นับว่าเร็วที่สุดในยุคนั้น

รถยนต์หลวงคันที่ 2 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเมร์เซเดส
รุ่นปี พ.ศ. 2448 ได้รับพระราชนามว่า แก้งจักรพรรดิ์

                     ในปี พ.ศ. 2451 วาระเฉลิมพระชนม์พรรษาครบ 56 พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริที่จะสั่งซื้อรถยนต์ มาเป็นของขวัญพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นสูง เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์แก่แผ่นดินสืบไป ในการนี้ทรงโปรดเกล้าให้ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ สั่งซื้อจากประเทศฝรั่งเศส จำนวน 10 คัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามแก่รถยนต์เหล่านี้แต่ละคัน ในลักษณะเดียวกับที่พระราชทานนามแก่ช้าง เพื่อแสดงถึงฐานะและความมั่งมี เช่น แก้วจักรพรรดิ์ มณีรัตนา ทัดมารุต ไอยราพต กังหัน ราชอนุยันต์ สละสลวย กระสวยทอง ลำลองทัพ พรายพยนต์ กลกำบัง สุวรรณมุขี


                         เมื่อมีรถมากขึ้นก็มีความจำเป็นที่จะต้องหาคนขับ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงคัดเลือกมหาเล็กที่มีไหวพริบดี จำนวนหนึ่งไปฝึกหัดขับรถเป็นการด่วน และผู้ที่รับหน้าที่สอนขับรถก็คือ หม่อมเจ้าหญิงพิมพ์รำไพ พระธิดาของ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
                          ในปี พ.ศ. 2452 ขณะที่รถยนต์มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าให้ตราพระราชบัญญัติรถยนต์ฉบับแรกของประเทศไทยขึ้น โดยให้มีผลบังคับใช้ในปีถัดมา พระราชบัญญัตินี้ กำหนดให้เจ้าของรถยนต์ต้องจดทะเบียนกับ กระทรวงมหาดไทย และเสียค่าธรรมเนียม 10 บาท
                        รถยนต์นั่ง และรถบรรทุกในพระราชอาณาจักรที่จดทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทยขณะนั้นมีจำนวนดังนี้คือ
เมืองบางกอก และจังหวัดใกล้เคียง    401 คัน
จังหวัดนครสวรรค์       1 คัน
จังหวัดนครศรีธรรมราช     2 คัน
จังหวัดทางภาคเหนือ      6 คัน
จังหวัดภูเก็ต            2 คัน
                           เมื่อถึงปี พ.ศ. 2470 ตัวเมืองบางกอกก็ขยายออกไปโดยรอบ มีถนนสายใหม่ๆ ที่ช่วยให้สามารถเดินทางไปในแถบชนบท แถวชานเมืองก็มีถนนชั้นดีหลายสาย สองข้างทางมีต้นไม้ยื่นกิ่งก้านปกคลุม และบังแสงอาทิตย์จากสายตาผู้ขับรถได้เป็นอย่างดี ป้อมปราการที่สวยงามดุจภาพวาดเริ่มจะหมดไป ทีละแห่งสองแห่ง ประตูเมืองถูกรื้อทิ้งเพื่อเปิดพื้นที่ให้แก่การจราจร กำแพงถูกทุบทิ้งแล้วเอาเศษอิฐเศษปูนไปปูถนน

หน้าถัดไป >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย