สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>
โรคอาหารเป็นพิษ
สาเหตุการเกิดโรค
การเลือกรับประทานอาหารนับเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันเนื่องจากมีแบคทีเรีย
หรือสารพิษต่างๆ ที่อาจปนเปื้อนอยู่ในน้ำ อาหาร อากาศ
ซึ่งแบคทีเรียหรือสารพิษเหล่านี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษ
ซึ่งเป็นอันตรายรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ถ้าไม่รีบพามาพบแพทย์
นอกจากนี้อาหารที่ปรุงสุกๆดิบๆ จากเนื้อสัตว์ อาหารกระป๋อง อาหารทะเล
นมที่ปนเปื้อนเชื้อหรือหมดอายุ อาหารค้างมื้อและไม่ได้แช่เย็น
ถ้าไม่อุ่นให้เดือดทั่วถึงก่อนการรับประทาน ก็อาจทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษได้
อาการของโรค
อาหารเป็นพิษมักเกิดอาการตั้งแต่ หนึ่งชั่วโมงจนถึง 8
วันหลังรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป
มักจะพบว่าในหมู่คนที่กินอาหารร่วมกันมักจะมีอาการพร้อมกันหลายคน
ซึ่งอาจมีอาการมากน้อยแตกต่างกันไปแล้งแต่ละบุคคลและปริมาณที่กิน อาการที่พบคือ
คลื่นไส้ อาเจียน ตามด้วยอาการ ไข้ เบื่ออาหาร อุจจาระร่วง
มีตั้งแต่อาการอย่างอ่อนจนถึงรุนแรง อาจถ่ายมีมูกปนเลือดได้
รู้จักอาหาร
วิธีสังเกตุและป้องกันตนเองจากอาหารที่อาจเป็นต้นเหตุของโรคอาหารเป็นพิษโดยแยกประเภทดังนี้
อาหารประเภทแป้ง
ได้แก่ข้าวผัด ขนมจีน ขนมปัง ขนมเอแคร์ ฯลฯเป็นต้น
ที่ปรุงทิ้งไว้นานหรือหมดอายุอาจจะมีสารพิษจากเชิ้อแสตปฟิลโลคอกคัส ออเรียส
(Staphylococcus aureus) และแบซิลลัส ซีเรียส(Bacillus cereus)
ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ
การป้องกัน
- ขนมจีน ควรนึ่งก่อนรับประทาน
- ขนมปัง ขนมเอแคร์และเบเกอรี่ต่างๆ ควรเลือกรับประทานใหม่ๆ ไม่หมดอายุ ไม่มีรา
- ควรเก็บอาหารที่ยังไม่รับประทานไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส
- ข้าวกล่องและอาหารที่เตรียมสำหรับคนหมู่มาก เช่น อาหารกลางวันสำหรับนักเรียน อาหารบุ๊พเฟ่ งานเลี้ยงไม่ควรเตรียมไว้ข้ามมื้อ
- ควรเน้นความสะอาดเวลาปรุงและเลือกรายการอาหารที่ไม่บูดง่าย ข้าวผัดปูควรนึ่งปูเพื่อฆ่าเชื้ออีกครั้ง ก่อนใส่ในข้าวผัด
อาหารทะเล
เช่น ปลาหมึก กุ้ง หอย ปู ปลา ที่เตรียมไม่สะอาด ปรุงไม่สุกหรือสุกไม่ทั่วถึง
อาจมีเชื้อแบคทีเรียก่อโรคหลายชนิดเช่น เชื้อวิบริโอ พาราฮีโมไลติคัส(Vibrio
parahaemolyticus) ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ
การป้องกัน
- อาหารทะเลควรเลือกซื้อที่สดและสะอาด
- รับประทานอาหารทะเลที่มั่นใจปรุงสุข
- หอยแมลงภู่ควรดึงเส้นใยออกก่อนรับประทาน
- ปูเค็ม ปูดอง หอยแครงควรทำให้สุกก่อนรับประทาน
- ไม่ควรวางอาหารที่ปรุงสุกปะปนกับอาหารดิบ
อาหารประเภทเนื้อสัตว์
ได้แก่อาหารประเภทเนื้อสัตย์ทุกชนิดเช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่
เครื่องในสัตย์ รวมทั้งนม และไข่
ซึ่งมักปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียก่อโรคหลายชนิดเช่น(Vibrio
cholerae),ซัลโมเนลลา(Salmonella), เอนเทอโรพาโทเจนนิค เอสเซอริเซียโคไล
(Enteropathogenic E coli),แคมฟิลโลแบคเตอร์ (Campylobacter) และเยอชิเนีย
เอนเทอโรโคไลติคา (Yersinia enterlocolitica)
การป้องกัน
- ควรแยกเขียงที่ใช้กับอาหารดิบและสุก
- เลือกซื้อเนื้อ นม และไข่สดและสะอาด
- หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสอาหารโดยตรง เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อลง ในอาหาร ทั้งนี้รวมทั้งผู้จำหน่าย ผู้ปรุงและผู้บริโภค
- ผู้จำหน่ายเนื้อสัตย์ ควรให้ความสำคัญกับการทำความสะอาด มีด เขียง ที่วางเนื้อสัตว์จำหน่าย
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทเนื้อที่สุกๆดิบ เช่นลาบ,ก้อย
น้ำดื่ม
หากบริโภคน้ำ
หรือเครื่องดื่มที่ไม่สะอาดและปลอดภัยเพียงพออาจทำให้ป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงจากเชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่ปนเปื้อนได้
การป้องกัน
- ดื่มน้ำต้มสุก
- ควรบริโภคน้ำหรือเครื่องดื่มที่มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
- เลือกรับประทานน้ำที่สะอาดไม่มีตะกอน
- ไม่ควรดื่มน้ำจากแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึงที่ยังไม่ผ่านการบำบัด
ผักและผลไม้
อาจมีสารเคมีและยาฆ่าแมลงตกค้างอยู่
หรืออาจมีเชื้อแบคทีเรียก่อโรคและ/หรือไข่พยาธิปนอยู่
เมื่อรับประทานเข้าไปอาจทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษที่บริโภคไม่ได้
การป้องกัน
- เลือกซื้อผัก ผลไม้ที่สดสะอาด ปลอดสารเคมีและยาฆ่าแมลง
- ล้างผักและผลไม้ให้สะอาด คลี่ใบล้างผ่านน้ำให้สะอาดหลายๆครั้ง
- หลีกเลี่ยงการรับประทานผักดิบ
- เลือกซื้อและรับประรับประทานเห็ดที่ไม่เป็นพิษและเห็ดที่รู้จักจริง เท่านั้น
อาหารกระป๋อง
อาทิปลากระป๋อง ผักกระป๋อง แกงกระป๋อง หรือผลไม้กระป๋องที่เก็บไว้นานๆ
จนเป็นสนิมหรือกระป๋องบุบ หากนำมาปรุงรับประทานอาจทำให้ป่วยด้วยโรคคลอสทริเดียม
เพอร์ฟรินเจนส์ (Clostridium perfringens ) และคลอสทริเดียมโบทูลินัม (Clostridium
botulinum )
การป้องกัน
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารกระป๋องที่หมดอายุหรือกระป๋องเป็นสนิม บุบบวมหรือโป่งพองออกมา
- เลือกซื้ออาหารที่บรรจุในกระป๋องที่สภาพดีควรดูวันหมดอายุทุกครั้งก่อนนำมารับประทาน
- อุ่นอาหารให้เดือดที่ 100องศาเซลเซียสนาน 10 นาที เพื่อทำลายสารพิษ หรือที่ 120องศาเซลเซียสนาน 10นาที เพื่อทำลายสปอร์ของเชื้อ
รักษาอาการเบื้องต้น
ผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ มักมีอาการอาเจียนเป็นอาการเด่นการรักษาตามอาการ
คือ ¡ ถ้าผู้ป่วยยังพอรับประทานได้ ควรให้ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่
เพื่อป้องกันการขาดน้ำและเกลือแร่ ¡ ถ้าอาเจียนมาก รับประทานไม่ได้
ถ่ายเป็นมูกเลือด ถ่ายเป็นน้ำ มีไข้ ควรนำส่งโรงพยาบาล
***เนื้อหา : กรมควบคุมโรค รวบรวม : งานควบคุมป้องกันโรค ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี