ธนบัตรไทย
หมายชนิดแรก
เงินกระดาษที่ออกครั้งแรกในประเทศไทย เรียกว่า "หมาย"
ถ้าเราจะเรียกหมายว่าธนบัตรก็เห็นจะไม่ผิด
เพราะธนบัตรมีความหมายเป็นบัตรของรัฐบาล ที่ใช้เป็นเงินตรา
หมายมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด
ชนิดแรกเป็นหมายขนาดใหญ่มี 4 ราคา คือ 3 ตำลึง , 4 ตำลึง , 6 ตำลึง และ 10
ตำลึง ทำด้วยกระดาษปอนด์สีขาว ขนาด 10 คูณ 14 ซม.
ด้านหน้ามีกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าสองชั้น ฉบับ 6 ตำลึงมีข้อความว่า
"ใช้หกตำลึง ให้แก่ ผู้ออกหมายนี้ มาให้
เก็บหมาย นี้ไว้ ทรัพย์จักไม่ สูญเลย"
ตรงกลางประทับตราชาดสองดวง คือ ตราจักรและตรามหาพิชัยมงกุฎ ด้านหลังเป็นลายเครือเถาเต็มทั้งด้าน มีตราชาดสี่เหลี่ยมประทับอยู่ตรงกลาง
หมายชนิด 2 และ ชนิด 3
หมายชนิดที่ 2 ทำด้วยกระดาษปอนด์สีขาว ขนาด 5 คูณ8.7 ซม. มีราคา 1 บาท , 3
สลึง, 2 สลึง ,สลึงเฟื้อง , หนึ่งสลึง และหนึ่งเฟื้อง
หมายเหล่านี้แสดงราคาไว้ถึง 11 ภาษา คือ ไทย จีน ละติน อังกฤษ มาลายู เขมร
พม่า ลาว สันกฤต และบาลี
ด้านหน้ามีกรอบรูป ภายในกรอบมีข้อความว่า "เงิน+๑ ใช้หมายนี้แสดงแทนเถิด
เข้าพระคลังจักใช้เงินเท่านั้น ให้แก่ผู้เอามหายนี้มาส่ง
ในเวลาแต่เที่ยงไปจนบ่ายสามโมงทุกวัน ณ โรงทหารพระบรมมหาราชวังฯ"
หมายชนิดที่ 3 เป็นหมายราคาสูง ขนาด 6.2คูณ 8.7 ซม. มี 2 ราคา เท่านั้นคือ
ราคา 20 บาท และ 80 บาท ด้านหน้ามีข้อความว่า "หมายสำคัญนี้ ใช้แทน 320
ซีกฤา 640 เสี้ยว ฤา 1280 อัฐ ฤา 2560 โสฬส คือ เป็นเงินยี่สิบบาท
ฤาห้าตำลึง ฤา 12 เหรียญนก ฤา 28 รูเปีย ได้ให้ไปเปลี่ยนที่พระคลังจะได้
จงเชื่อเถิด"
อัฐกระดาษ
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2417 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่4 โปรดเกล้าฯ ให้ใช้กระดาษแทนเบี้ย
เพราะเหรียญกษาปณ์ไม่มีพอใช้ประจำวัน
กระดาษอัฐเป็นกระดาษหน้าเดียว ทพด้วยกระดาษขาว 80 ปอนด์ ขนาด 9.3 คูณ 15
ซม. มีกรอบใบเทศต่อก้านสัดำสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ภายในกรอบตรงกลางพิมพ์อักษรสัดำว่า "ราคาหนึ่งอัฐ"
มุมด้านซ้ายเขียนหมาบเลขที่ของอัฐกระดาษ ลามมือสีดำ ตราประทับลงในอัฐกระดาษ
เป็นตราดุนแผ่นดินสองดวง ดวงใหญ่เป็นตรารูปพระเกี้ยวยอดมีพานรอง 2 ชั้น
และฉัตรตั้ง 2 ข้าง ดวงเล้กประทับตราสี่เหลี่ยมผืนผ้า
รูปอย่างเดียวกันกับดวงใหญ่
กระดาษอัฐไม่เป็นที่นิยมแก่ประชาชนมากนัก เพราะชำรุดเสียหายง่าย
จึงได้ถูกถอนคืนไปโดยปริยาย ในระยะเวลาอันสั้น
เงินกระดาษหลวง
ในปี พ.ศ. 2435 เงินกระดาษหลวงที่สั่งไป ได้เข้ามาถึงกรุงเทพฯ
บางส่วนพระเจ้าบรมวงเธอ กรมพระนราธิปฯ ได้ทรงร่างพระราชบัญญัติ
กฎข้อบังคับและประกาศสำหรับเงินกระดาษหลวง ทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ 5
ซึ่งพระองค์ได้สั่งให้ที่ประชุมเสนาบดีพิจารณา
ที่ประชุมพิจารณาเห็นชอบตามร่างดังกล่าว
เป็นที่น่าเสียดาย ที่เงินกระดาษหลวงนี้ไม่ได้นำออกมาใช้
ตามรายงานเสนาบดีกระทรวงพระคลัง เรื่องเปิดกรมธนบัตรหอรัษฎากรพิพัฒน์
มีตอนหนึ่งให้เหตุผลว่า
"ความดำริใช้กระดาษแทนจะนวนเงินในสยามนี้ ใช่เพิ่งเริ่มริขึ้น ณ บัดนี้
ได้ดำริการมาแล้วแต่ก่อนประมาณ 12 ปี การนั้นได้จัดถึงได้สั่งกระดาษ
ซึ่งเรียกว่า เตรเชอร์โน๊ต จากยุโรปแล้ว แต่หาได้ออกใช้ไม่
ด้วยเหตุที่การยังไม่พร้อมเพรียง จึงเป็นอันระงับมา "
เงินกระดาษหลวง
เมื่อธนาคารฮ่องกง ออกบัตรธนาคารใช้แทนเหรียญกษาปณ์ได้สักปีเศษ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนารธิปประพันธ์พงศ์ ทรงดำรงตำแหน่ง รองอธิบดีกรมพระคลัง ได้ทรงพิจารณาเห็นว่า การค้าขายในกรุงสยามเจริญยิ่งขึ้นตามลำดับ สมควรจะสร้างเงินขึ้นแทนเหรียญกษาปณ์ จึงกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอพระบรมราชานุญาตสั่งเงินกระดาษหลวงจากห้าง กีเซคเก้แอนด์เดรี่เอ้นท์ เมืองไลป์ซิก ประเทศเยอรมันนี ธนบัตรที่สั่งมี จะนวน 3,951,500 ฉบับ ราคา 1 บาท 3,200,000 ฉบับ ราคา 5 บาท 320,000 ฉบับ ราคา 10 บาท 320,000 ฉบับ ราคา 40 บาท 40,000 ฉบับ ราคา 80 บาท 40,000 ฉบับ ราคา 100 บาท 24,000 ฉบับ ราคา 400 บาท 5,000 ฉบับ ราคา 80 บาท 2,500 ฉบับ รวมราคาธนบัตร 19,200,000 บาท ค่าจ้าง 145,000 บาท