เราคำนวนอายุโลกได้อย่างไร
การสร้างโลกเกิดขึ้นเมื่อเวลา 20.00 น. วันที่ 22 ตุลาคม ในปี 4004 ปีก่อนคริสตกาล
นักบวชชาวไอริช อาร์ชบิชอป เจมส์ อัชเชอร์ ได้คำนวนการกำเนิดของโลก
ไว้เมื่อกลางศตวรรษที่ 17 และหลังจากการศึกษายุคสมัยของ อาร์ชบิชอปองค์ต่างๆ
ตลอดจนการสืบทอดตระกูล อันยาวนานจากพระคัมภีร์ไบเบิลเก่า
ใน ค.ศ. 1785 นักธรรมชาติวิทยาชาวสก็อตชื่อ เจมส์ ฮัตตัน
โต้แย้งความเชื่อดั้งเดิมนี้ ว่าการก่อตัวของขุนเขา และการผุกร่อนของท้องแม่น้ำ
คงต้องใช้เวลานานเป็นล้านๆปี ไม่ใช่แค่พันๆปี
ข้อโต้แย้งดังกล่าวยังหาข้อสรุปไม่ได้ จนเมื่อนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส อองตวน อองรี
เบกเกอเรล ค้นพบกัมมันตภาพรังสีในปี ค.ศ. 1896
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเราจึงคำนวนอายุโลกได้อย่างถูกต้อง
ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ยอมรับว่าเปลือกโลกแข็งตัวในราว 4700 ล้านปีก่อน
โดยคำนวนได้จากการสลายตัวของแร่กัมมันตรังสี
เมื่อหินหลอมละลายหรือลาวา (Lava) เย็นตัวลง และกลายเป็นหินแข็งนั้น
จะมีธาตุกัมมันตรังสีถูกกักไว้ในหิน ธาตุเหล่านี้สลายตัวในอัตราที่แน่นอน
ระยะเวลาที่กัมมันตรังสีสลายตัวไปครึ่งหนึ่งนั้น นักวิมยาศาสตร์ให้คำจำกัดความว่า
"ครึ่งชีวิต" มีการศึกษาวิจัยอย่างละเอียดเพื่อกำหนด ครึ่งชีวิตของธาตุแต่ละชีวิต
โดยการวัดปริมาณกัมมันตภาพรังสีที่มีในหินตัวอย่าง
กระบวนการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี จึงเป็นเหมือนนาฬิกา
ซึ่งเริ่มเดินเมื่อหินก้อนนั้นก่อตัวขึ้น
ปริมาณของธาตุกัมมันตภาพรังสีที่เหลืออยู่ในหินนั้น
จะขึ้นอยู่กับปริมาณดั้งเดิมที่มีอยู่
แต่สิ่งสำคัญก็คือการคำนวนอัตตราส่วนปริมาณของสารกัมมันตรังสี
กับปริมาณของสารที่แปรสภาพไปในหินนั้น ยิ่งหินมีอายุมากขึ้น
สารกัมมันตภาพรังสีก็ยิ่งน้อยลง และอัตราส่วนของสารในหินที่แปรสภาพไปจะเพิ่มขึ้น
ในการตรวจสอบอายุของหินตัวอย่าง เราใช้วิธีคำนวนเวลาได้หลายวิธีด้วยกัน
โดยวิธีที่ใช้กันทั่วๆไป คืกการคำนวนจากการสลายตัวของสารกัมมันตภาพรังสีโพแทสเซี่ยม
-40 ซึ่งมีกระบวนการครึ่งชีวิตประมาณ 11900 ล้านปี
หรืออาจจะคำนวนจากการสลายตัวของยูเรเนียมเป็นตระกั่ว (ครึ่งชีวิตเท่ากับ 4500
ล้านปี)
ในการคำนวนอายุของโลก ปรากฎว่าประมาณครึ่งหนึ่งของยูเรเนียมที่มีมาแต่แรกเริ่ม
ได้สลายตัวเป็นตระกั่วไปแล้วดังนั้นอายุของโลกก็จะประมาณ ครึ่งชีวิตของยูเรเนียม
หรือราว 4500 ล้านปี.