ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>

ประเทศจีน

เศรษฐกิจของประเทศจีน

หลังจากจีนใหม่ได้สถาปนาขึ้นเมื่อปี 1949 แล้วเป็นต้นมา เศรษฐกิจจีนได้รับการพัฒนา ค่อนข้างเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ หลังจากจีนได้ดำเนินการการปฏิรูปและเปิดประเทศเมื่อปี 1978 แล้วเป็นต้นมา เศรษฐกิจจีนได้พัฒนาก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่องและไม่เป็นพิษเป็นภัยในอัตราความเร็ว ถัวเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 9 ขึ้นไป เมื่อปี 2003 ยอดมวลรวมการผลิตภายในประเทศจีนสูงถึง 1 ล้านล้าน 4 แสนล้านดอลล่าห์สหรัฐ ปริมาณรวมทางเศรษฐกิจอยู่ในอันดับที่ 6 ของโลก รองลงมาจากอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมนี อังกฤษและฝรั่งเศส ถึงสิ้นปี 2003 มวลรวมการผลิตภายในประเทศถัวเฉลี่ยต่อคนของจีนได้ล้ำเกิน 1,000 ดอลล่าห์ สหรัฐ ปัจจุบัน การลงทุนและการบริโภคในประเทศจีนต่างก็มีสถานการณ์ดี เมื่อปี 2003 การลงทุน ทางสินทรัพย์ถาวรทั่วสังคมจีนมีถึง 5 ล้านล้าน 5 แสนล้านหยวนเหรินหมินปี้  ยอดอัตราการขายปลีกของสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วสังคมมีถึงประมาณ 4 ล้านล้าน 6 แสนล้านหยวน เหรินหมินปี้ อัตราการค้าต่างประเทศมีถึง 8 แสน 5 หมื่นล้านดอลล่าห์สหรัฐ ล้ำเกินอังกฤษและฝรั่งเศส อยู่ในอันดับที่ 4 ของโลก เพียงแต่น้อยกว่าอเมริกา เยอรมนีและญี่ปุ่นเท่านั้น ถึงสิ้นปี 2003 ปริมาณเงินตราต่างประเทศสำรองของจีนได้ล้ำเกิน 4 แสนล้านดอลล่าห์สหรัฐ อยู่ในอันดับที่ 2 ของโลก เพียงแต่น้อยกว่าญี่ปุ่นเท่านั้นในช่วง 20 กว่าปีหลังจากจีนได้ดำเนินการปฏิรูปเปิดประเทศและการสร้างสรรค์ที่ทันสมัยแล้ว เป็นต้นมา จีนได้บรรลุซึ่งการเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจที่วางโครงการสู่เศรษฐกิจการตลาดแห่งสังคมนิยมในขั้นพื้นฐาน ระบบเศรษฐกิจการตลาดแห่งสังคมนิยมได้สถาปนาขึ้นและทวีความ สมบูรณ์ยิ่งขึ้นอย่างมีขั้นตอน ขณะเดียวกัน กฎหมายและกฎข้อบังคับของจีนก็ทวีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลาดเปิดกว้างยิ่งขึ้นมิได้ขาด บรรยากาศการลงทุนได้รับการปรับปรุงดีขึ้นอย่างไม่ขาดสาย การปฏิรูประบบการเงินได้ก้าวหน้าไปอย่างมั่นคง ทั้งนี้และทั้งนั้นล้วนได้สร้างหลักประกันที่พึ่งพาอาศัยได้แก่เศรษฐกิจจีนที่จะพัฒนาก้าวหน้าต่อไป หลังจากได้เข้าสู่ศตวรรษใหม่แล้ว จีนได้เสนอแนวความคิดที่จะให้มนุษย์กับธรรมชาติ มนุษย์กับสังคม เมืองกับชนบท ภาคตะวันออกกับภาคตะวันตก เศรษฐกิจกับสังคมพัฒนาอย่างทั่วด้านและประสานกลมกลืนกัน เมื่อปี 2002 การประชุมสมัชชาผู้แทนทั่วประเทศของพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 16   ยังได้เสนอนโยบายการต่อสู้เกี่ยวกับสร้างสรรค์สังคมที่มีความสมบูรณ์ระดับปานกลางในปี 2020 ด้วย

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจจีนมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วมากภายใต้นโยบายการปฏิรูปและการเปิดประเทศจีนที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 โดยในปัจจุบันประเทศจีนเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นรองแต่สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น รัฐบาลจีนมีเป้าหมายที่จะเน้นผลผลิตทางการเกษตรให้พอเพียงสำหรับการบริโภคภายในประเทศ ในขณะเดียวกันก็จะเน้นการพัฒนาด้านเทคโนโลยีระดับสูงด้วย ในขณะที่ประเทศจีนเพิ่งเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO) ได้เพียง 5 ปี ในปี 2549 จีนได้มีอัตราเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจากร้อยละ 9.9 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 10.7 สูงถึง 20.94 ล้านล้านล้านหยวน หรือ 2.68 ล้านล้านล้านดอลลาร์ สูงที่สุดในรอบ 11 ปี [1] ความร้อนแรงของเศรษฐกิจจีนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรมเหล็กและซีเมนต์ทำให้รัฐบาลจีนออกมาตรการต่างๆ เพื่อชะลอการขยายตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งปริมาณการขนถ่ายสินค้าและตู้คอนเทนเนอร์ ในท่าเรือจีนนั้นสูงเป็นอันดับหนึ่งของโลกมา 4 ปีแล้ว [2] จีนมีคู่ค้าสำคัญได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และเยอรมนี เงินตราสกุลเงินของจีนนั้นเรียกว่า “เหรินหมินปี้” (人民币)โดยมีหน่วยเรียกเป็น “หยวน” (元) 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 7.70 หยวน (2550) 1 ยูโร เท่ากับ 10.46 หยวน (2550) 1 หยวน เท่ากับ 5.15 บาท (2552) รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปี 1,700 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2550) (ปี 2546 เป็นปีแรกที่สูงเกิน 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ) GDP ประมาณ 3,307,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2550) ถือว่าเศรษฐกิจของจีนมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก (รองจากสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ เยอรมนี) ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ 1.533 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ม.ค.ปี 2551) อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 4.07 (ปี 2551)

เกษตรกรรมของประเทศจีน

จีนเป็นประเทศใหญ่ด้านการเกษตร ประชากรในเขตชนบทส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ในสมัยเด็กของหลง หยู่ง ถู รูปแบบการผลิตด้านการเกษตรของจีนล้าหลังมาก บวกกับเกิดอุทกภัยและภัยแล้งเป็นประจำ ซ้ำยังมีสงครามกลางเมืองด้วย ทำให้เกษตรกรรมตกอยู่ในภาวะซบเซาขาดแคลนผลผลิตการเกษตรอย่างมาก และประชาชนเดือดร้อนมาก ปี 1949 ชาวชนบทจีนเฉลี่ยแล้วบริโภคธัญญาหารเพียง 180 กิโลกรัม ปี 1949 สาธารณรัฐประชาชนจีนสถาปนาขึ้น ใช้เวลา 3 ปี รัฐบาลจีนดำเนินการปฏิรูประบบที่ดิน โดยกระจายที่ดิน เครื่องมือการทำนาทำไร่และสัตว์ของเจ้าที่ดินแบ่งให้แก่ชาวนา นโยบายนี้ได้รับการสนับสนุนจากบรรดาเกษตรกร การเกษตรของจีนจึงได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ปริมาณการผลิตธัญญาหารและฝ้ายเพิ่มขึ้นมากอย่างไม่เคยมีมาก่อน หลังจากนั้นจีนดำเนินโครงการชลประทานและปฏิรูปเทคนิคการเพาะปลูกเป็นการใหญ่ ทำให้ภาวะแวดล้อมการเกษตรได้รับการปรับปรุงดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ปริมาณการผลิตธัญญาหารเพิ่มขึ้นเรื่อยๆถึงปลายทศวรรษ 1970 การผลิตธัญญาหารและฝ้ายได้เพิ่มขึ้น 1 เท่าตัวเมื่อเทียบกับปี 1952 แม้ว่า การผลิตธัญญาหารได้เพิ่มขึ้นมากเช่นนี้ แต่เนื่องจากประชากรเพิ่มขึ้นยิ่งเร็วกว่า จีนยังเป็นประเทศที่ขาดแคลนอาหารเสมอ นายหยาง จี่ เลี่ยง ชาวชนบทของหมู่บ้านปี้ เซิ่ง เมืองฉือ โจว มณฑลอันฮุยกล่าวว่า ปัญหาปากท้องเป็นปัญหาที่หมู่บ้านไม่สามารถแก้ตกได้มาตลอด "เมื่อทศวรรษ 1960-1970 ขาดแคลนอาหารอย่างมาก ต้องกินผักป่าแทนข้าวเป็นประจำ" สมัยนั้น บรรดาชาวบ้านต้องไปทำนาทำไร่ด้วยกัน และแบ่งปันผลการเกษตรเท่ากัน ทำให้ชาวชนบทไม่ค่อยมีความกระตือรือร้นในการทำนาทำไร่ ถึงปลายปี 1978 หมู่บ้านเสี่ยว ก่าง ชน ได้นำหน้าดำเนินการปฏิรูประบบที่ดิน ให้ครอบครัวชาวชนบทรับเหมาที่ดินในการปลูกธัญญาหาร บ้านใครได้ผลผลิตมากบ้านเขาก็จะมีรายได้มาก ทำให้ชาวชนบทมีความกระตือรือร้นสูงในการเพาะปลูก ในปีที่สอง ผลผลิตธัญญาหารได้เพิ่มขึ้น 4 เท่าตัวเมื่อเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา หลังจากนั้น รัฐบาลจีนตกลงเผยแพร่ประสบการณ์การรับเหมาที่ดินของหมู่บ้านเสี่ยว ก่าง ชนไปทั่วประเทศ หมู่บ้านของนายหยาง จี่ เลี่ยง ก็เริ่มปฏิรูประบบที่ดิน "ถึงทศวรรษที่ 1980-1990 เนื่องจากใช้ระบบรับเหมาที่ดิน ชาวชนบทมีความกระตือรือร้นในการผลิตธัญญาหารเพิ่มขึ้น ปัญหาปากท้องจึงได้รับการแก้ไขในขั้นพื้นฐาน" สถิติปรากฏว่า ในช่วงปี 1978-1984 แต่ละปี ผลการผลิตทางการเกษตรได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องกันด้วยอัตราเติบโต 8% และปี 2008 ปริมาณการผลิตธัญญาหารของจีนมีถึง 500 ล้านตัน นางหลิว ตง จู่ เจ้าหน้าที่ฝ่ายวางแผนสำรองธัญญาหารของสำนักงานธัญญาหารแห่งชาติของจีนกล่าวว่า ด้วยความพยายามเป็นเวลาหลายปี จีนแก้ปัญหาปากท้องของประชาชน 22%ของโลกด้วยที่ดินเพาะปลูกเพียง 7 %ของโลก นับว่าเป็นความมหัศจรรย์อย่างหนึ่งของโลก "ในการแก้ปัญหาปากท้อง จีนมุ่งมั่นที่จะอาศัยตนเอง พยายามไม่พึ่งพาต่างประเทศ  ปีหลังๆมานี้การบริโภคและการผลิตธัญญาหารทั่วประเทศจีนพอเพียงในขั้นพื้นฐาน อัตราบริโภคธัญญาหารที่ผลิตในจีนมีถึง 95 %ขึ้นไป " เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีความกระตือรือร้นมากขึ้นในการเพราะปลูกธัญญาหาร รัฐบาลจีนยังใช้มาตรการช่วยเหลือทางการเกษตรอีกมากมาย เฉพาะปี 2007 เงินช่วยเหลือเกษตรกรในการปลูกข้าวและซื้อเครื่องมือทำนาทำไร่มีถึง 600 ล้านกว่าหยวน ขณะเดียวกัน รัฐบาลใช้นโยบายปรับเพิ่มราคารับซื้อข้าว เพิ่มปริมาณการสำรองธัญญาหาร น้ำมันปรุงอาหารและเนื้อหมู นอกจากนี้รัฐบาลส่งเสริมชาวชนบทไปหางานทำในเมืองใหญ่ต่างๆ เพื่อให้ชาวชนบทมีรายได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 1998 จีนเริ่มยกเลิกภาษีการเกษตร จนถึง ปี 2006 ทั่วประเทศจีนได้ปลอดภาษีการเกษตร ลดภาระของบรรดาเกษตรกรถึง 130,000 ล้านหยวนต่อปี โดยทำให้ประวัติศาสตร์ที่เกษตรกรต้องเสียภาษีตั้งแต่สมัยโบราณมาเป็นเวลานานถึง 2600 ปีได้สิ้นสุดลง นโยบายและมาตรการดังกล่าวทำให้บรรดาเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก ระดับชีวิตความเป็นอยู่ได้รับการปรับปรุงดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ชาวชนบทไม่เพียงแต่สามารถซื้อโทรศัพท์มือถือ ยังปลูกบ้านหลังใหม่เป็นตึก 2-3 ชั้น บางบ้านยังมีรถเก๋งด้วย หยาง จี่ เลี่ยงรู้สึกพอใจต่อชีวิตในปัจจุบันมาก เขากล่าวว่า "ขณะนี้ ไม่เพียงแต่ไม่มีปัญหาปากท้อง ที่อยู่อาศัย การคมนาคมและการสื่อสารสะดวกสบายมาก" ตามแผนการที่รัฐบาลจีนตั้งเป้าไว้ว่า ถึงปี 2020 รายได้สุทธิของเกษตรกรจะเพิ่มขึ้นสองเท่าเมื่อเทียบกับปี 2008 และทั่วประเทศจะไม่มีผู้ยากจน

อ่านหน้าถัดไป >>

ข้อมูลทั่วไป
ชนเผ่า
เมืองโบราณทั้งเจ็ดของจีน
เมืองทรงเสน่ห์
ท่องเที่ยวเมืองจีน

พิเชฎฐ์ ชัยยัง การศึกษาอิสระ ประกาศนียบัตรบัณฑิต วิชาชีพครู สำนักบัณฑิต สถาบันราชภัฏเชียงราย มกราคม 2553
 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย