สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

ศิลปะศาสตร์

ศิลปศาสตร์ (อังกฤษ: Liberal arts) หมายถึง การศึกษาที่มุ่งจะให้ความรู้ทั่วไป และทักษาเชิงปัญญา มิใช่วิชาชีพเฉพาะด้าน หรือความทักษะเชิงช่าง เดิมนั้น คำว่า "ศิลปศาสตร์" เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต (ศิลฺป + ศาสฺตฺร) หมายถึง วิชาความรู้ทั้งปวง ในภายหลังใช้ในความหมายเดียวกับ Liberal Arts ในภาษาอังกฤษ ดังระบุคำนิยามไว้ข้างต้น ในประวัติศาสตร์การศึกษาของตะวันตกนั้น ศิลปศาสตร์ 7 อย่าง อาจจำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ไตรศาสตร์ (trivium) และ จตุรศิลปศาสตร์ (quadrivium) การศึกษาในกลุ่ม ไตรศาสตร์ ประกอบด้วย 3 สาขาวิชา ได้แก่

  • ไวยากรณ์ (grammar)
  • ศิลปะการใช้เหตุผล (dialectic หรือ logic)
  • ศิลปะการพูด (rhetoric)

ส่วนการศึกษากลุ่ม จตุรศิลปศาสตร์ ประกอยด้วย 4 สาขาวิชา ได้แก่ เลขคณิต, ดนตรี, เรขาคณิต และ ดาราศาสตร์ ศิลปศาสตร์นั้นถือเป็นหลักสูตรแกนของมหาวิทยาลัยในยุคกลาง คำว่า liberal ในคำว่า liberal arts นั้น มาจากศัพท์ภาษาละตินว่า liberalis หมายถึง "เหมาะแก่เสรีชน" (ชนชั้นสูงด้านสังคมและการเมือง) ซึ่งตรงกันข้ามกันศิลปะการรับใช้หรือบริการ (servile arts) ในเบื้องต้นคำว่าศิลปศาสตร์ในแนวคิดของตะวันตก จึงเป็นตัวแทนของทักษะและความรู้ทั่วไป ที่จำเป็นต้องใช้ในหมู่ชนชั้นสูงในสังคม ขณะที่ศิลปะบริการนั้น เป็นตัวแทนของความรู้และทักษะของพ่อค้าผู้เชี่ยวชาญ ที่จำเป็นต้องรู้ในหมู่ผู้รับใช้ชนชั้นสูง หรือขุนนาง

ศิลปศาสตร์ 18 ประการ
ในสายวัฒนธรรมตะวันออก มีกล่าวถึงศิลปศาสตร์ 18 ประการ ดังนี้

1. สูติ ความรู้ทั่วไป 2. สัมมติ ความรู้กฎธรรมเนียมต่างๆ 3. สังขยา การคำนวณ 4. โยคยันตร์ การช่างยนต์ 5. นีติ นีติศาสตร์ 6. วิเสสิกา ความรู้การอันทำให้เกิดมงคล 7. คันธัพพา วิชานาฏศิลป์ 8. คณิกา วิชาบริหารร่างกาย 9. ธนุพเพธา วิชายิงธนู 10. ปุราณา โบราณคดี 11. ติกิจฉา วิชาแพทย์ 12. อิติหาสา ตำนานหรือประวัติศาสตร์ 13. โชติ ดาราศาสตร์ 14. มายา วิชาพิชัยสงคราม 15. ฉันทสา การประพันธ์ 16. เกตุ วาทศิลป์ 17. มันตา วิชามนต์ 18. สัททา ไวยากรณ์



ศิลปะเป็นผลงานการสร้างสรรค์
ในสมัยต่อมา มีผู้ให้ความหมายของศิลปะว่า ศิลปะเป็นผลงานการสร้างสรรค์ ซึ่งในความหมาย นี้ เราต้องมาตีความหมายของคำว่า "การสร้างสรรค์" กันเสียก่อน การสร้างสรรค์ หรือที่ภาษา อังกฤษเรียกว่า "Cerative" นั้น คือ การทำให้เกิดบางสิ่งบางอย่างขึ้นมา ซึ่งบางสิ่งบางอย่างนั้นไม่เคยมีอยู่มาก่อทันที่เป็นผลิตผล หรือกระบวนการหรือความคิด ดังนั้น สิ่งที่จะเป็นงานสร้างสรรค์ได้จะต้องเป็นประดิษฐ์กรรมใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในโลก หรือเป็นกระบวนการใหม่ๆที่สร้างขึ้นมาเพื่อกระทำการบางสิ่งบางอย่างให้ประสบผลสำเร็จหรือเป็นการสร้างแนวคิดใหม่ ที่จะนำไปสู่วิธีการใหม่ๆแนวคิดใหม่ๆ นี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสรรค์ เพราะแนวคิด ใหม่ จะนำไปสู่การพัฒนากระบวนการ หรือวิธีการใหม่ๆที่จะนำไปสู่ผลผลิตหรือประดิษฐ์กรรมใหม่ๆให้เกิดขึ้นมาในโลก และตอบสนองความต้องการในด้านต่างๆของมนุษย์ได้ เพื่อแทนที่ ผลผลิต หรือประดิษฐ์กรรมเดิม ที่ตอบสนองได้ไม่พอเพียง หรือไม่เป็นที่พอใจการสร้างสรรค์ใน อีกความหมายหนึ่งจึงเกิดขึ้น คือ เป็นการทำให้ดีขึ้นกว่าเดิมซึ่งมีหลายๆ วิธี โดยอาจเป็นการปรับ ปรุงกระบวนการใหม่ ให้ได้ผลผลิตมากกว่าเดิม หรือเป็นการปรับปรุงรูปแบบผลผลิตใหม่ โดยใช้วิธีการเดิม แต่ผลผลิตมีคุณภาพมากขึ้น แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด ๆ ก็ตาม เป็นการกระทำให้เกิดขึ้น จากการใช้แนวคิดแบบใหม่ ๆ ทั้งสิ้น และเป็นผลของวิธีการคิดที่เรียกว่า "ความคิดสร้างสรรค์" ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่อยู่ในมนุษย์ทุกคน และสามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นได้โดยอาศัยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและบรรยากาศที่เอื้ออำนวย ความคิดสร้างสรรค์เป็นความคิดที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะอย่างแยกกันไม่ออก หรืออาจกล่าวได้ว่า ศิลปะเป็นผลงานจากความคิดสร้างสรรค์ ศิลปะเป็นผลจากความคิดสร้างสรรค์ ดังนั้น สิ่งใดก็ตามที่มีความคิดสร้างสรรค์ ก็สามารถสร้างงานศิลปะได้

ศาสตร์สำหรับการทำมาหากิน

ดำรงชีวิตอยู่ได้ เรียกว่า ศิลปศาสตร์ ขอยืมคำนี้มาใช้ คำว่า “ศิลปศาสตร์” นี้กว้าง พอที่จะใช้ถึงศาสตร์อะไรก็ได้ ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความรู้เพื่ออาชีพ คำว่า สิปฺ ๆ ในภาษาบาลี หรือศิลปะในพุทธศาสนา นี้เป็นคำเดียวกัน สำหรับครั้งพุทธกาลโน้นแล้ว คำว่า สิปปะหรือศิลปะ เป็นความรู้อาชีพเท่านั้น, เป็นความรู้เพื่อมนุษย์คนหนึ่งจะใช้เป็นอาชีพได้ ฉะนั้นจึงเรียนศิลปศาสตร์ หรือสิปปศาสตร์กัน เพื่อเป็นผู้สามารถที่จะมีอาชีพได้

ส่วนความรู้อีกทางหนึ่ง นั้น ก็คือ ความรู้ทางจิต ทางใจ ทางวิญญาณ ซึ่งจะเรียกว่า วิญญาณศาสตร์ หรือธรรมศาสตร์ แต่เรียกว่าวิญญาณศาสตร์ดีกว่า จะได้มีความรัดกุม ความรู้ทางมโนธรรม หรือความรู้ทางวิญญาณศาสตร์นี่ ไม่ใช่เรื่องทำมาหากิน อย่างดีก็จะเป็นเครื่องช่วยให้ทำมาหากิน โดยไม่ต้องเป็นทุกข์ คนมีความทุกข์เพราะทำมาหากิน เพราะว่าเขาขาดความรู้ส่วนนี้ ฉะนั้นความรู้ส่วนนี้มันจึงเป็นเรื่องเหนือวัตถุ, ส่วนใหญ่ก็ต้องเรียกว่าเหนือวัตถุ เหนือฟิสิคส์ เป็นเมตาฟิสิคส์ (metaphysic) คือ เหนือฟิสิคส์ เหนือความรู้ทางวัตถุ; เป็นความรู้ทางสติปัญญา ทางความคิดเห็น ทางความเชื่อถือ ทางจิตทางวิญญาณ จะเรียกให้สั้น ความรู้ทางวัตถุอย่างหนึ่ง ความรู้ทางนามธรรม หรือทางวิญญาณอีกอย่างหนึ่ง

***ศิลปะศาสตร์  http://www.buddhadasa.org/html/articles/1_bdb/aestetic01-1.html

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

🍁 การแพทย์แผนโบราณ
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ได้ค้นพบบันทึกว่า มีระบบการจัดหายาที่ชัดเจนสำหรับราษฏร มีแหล่งจำหน่ายยาและสมุนไพรหลายแห่งทั้งในและ นอกกำแพงเมือง

🍁 หลักธรรมในการอยู่ร่วมกันในสังคม
พระพุทธศาสนาได้สอนไว้ว่านักปกครองที่ดีนั้นควรมีคุณธรรม 10 ประการ เรียกว่า ทศพิธราชธรรม

🍁 สมถะวิปัสสนา
ตามแนวพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ (เถรวาท) ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)

🍁 พุทธธรรมขั้นพื้นฐาน
ไม่มีมนุษย์คนใดที่จะสามารถมีชีวิตอยู่ได้ลำพังตนเองโดยไม่ติดต่อสัมพันธ์กับคนอื่น เพราะการดำรงชีวิตอยู่ของคนเราจำเป็นจะต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน

🍁 พระสูตรของท่านเว่ยหลาง
สูตรของท่านเว่ยหล่างล้วนแต่เป็นเรื่องของการใช้ปัญญาเพื่อค้นหาหนทางแห่งความเป็นพุทธะ และเพื่อความหลุดพ้นไปจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวงในโลกนี้

🍁 พุทธศาสนสุภาษิต
สุภาษิตที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงดำรัสไว้ ซึ่งมีคุณค่าสูงส่ง สามารถใช้ได้ทั้งเป็นแนวทางดำเนินชีวิต เตือนใจ หาคำตอบที่ดีสำหรับปัญหาที่สงสัย

🍁 โอวาทสี่ของเหลี่ยวฝาน
แบบฉบับในการประพฤติดี ปฏิบัติชอบ เพื่อหยุดยั้งกระแสแห่งวัฒนธรรมตะวันตกและอนุรักษ์ความเป็นคนจีนดั้งเดิม

🍁 สาเหตุการเกิดมลภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อน หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกในปัจจุบัน สังเกตุได้จากอุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้น

🍁 แนวคิดและหลักการทางวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ คือ องค์ความรู้ของธรรมชาติและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการสืบเสาะหาความรู้

🍁 จักรวาล
“จักรวาล” และ “เอกภพ” เป็นคำๆ ที่มีความหมายเหมือนกัน ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “Universe” ซึ่งหมายถึง ทุกสรรพสิ่งทั้งหมดทั้งปวง

🍁 ลัทธิของค้านท์
ลัทธิที่ยึดมั่นในคุณธรรมหรือเหตุผลอย่างเคร่งครัด หรือ Moral Purism แปลว่า บริสุทธิ์นิยมทางศีลธรรม หรือบางทีก็เรียกว่า หน้าที่นิยม เพราะเน้นที่หน้าที่เป็นหลัก

🍁 ประชุมพงศาวดาร
การศึกษาหาความรู้พงศาวดาร และตำนานเก่าย่อมถือว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งใน การศึกษาทั่วทุกประเทศ

🍁 อปริหานิยธรรม 7
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อม 7 ประการ ผู้ปฏิบัติ ธรรมนี้จะเป็นไปเพื่อความเจริญทั้งฝ่ายบ้านเมืองและฝ่ายสงฆ์

🍁 จริยธรรม
จริยธรรมไม่แยกเด็ดขาดจากศีลธรรม แต่มีความหมายกว้างกว่าศีลธรรม

🍁 พุทธศาสนสุภาษิต

🍁 ภาษิต คติพจน์ ของอังกฤษ

🍁 คมคำบาดใจ

🍁 ปรัชญาชาวบ้าน

🍁 ปรัชญาจากพระคัมภีร์ไบเบิล

🍁 บทเพลงสากลจากอดีต (แปลไทย)

🍁 สุภาษิตจีน

🍁 สุภาษิตสอนหญิง

🍁 ภาษิตจีนโบราณ

🍁 ปราชญ์สอนว่า (ขงจื้อ)

🐍 โปรดระวังงูฉก

ชีวิตคือการเดินทาง

ส่วนหนึ่งของการเดินทางเริ่มต้น
เมื่อตอนที่เราลืมตาขึ้นมาดูโลก
ตั้งแต่ตอนที่เราเกิด...

จากอดีตข้ามมาถึงปัจจุบัน
และกำลังจะไปสู่อนาคต
เพื่อที่จะเปลี่ยนมันให้กลายเป็นอดีต

วนเวียนเป็นวัฏจักรแห่งกาลเวลา
ที่ไม่สามารถย้อนกลับคืนไปได้
และเป็นอยู่อย่างนั้น

จนกว่าจะสิ้นสุดการเดินทาง
ที่ไหนสักแห่งบนโลกนี้
ที่ซึ่งเรามา

จากความว่างเปล่าสู่ความว่างเปล่า.

🐍 งูเขียว หางบอบช้ำ : เขียน

เชิญแวะอ่านสักนิดสักหน่อยก็ยังดี...

🌿 ขอเป็นตาแก่ขี้บ่นในหัวใจเธอ
สง่างามแบบมนุษย์ๆ ไม่ขี้โกงเอารัดเอาเปรียบกัน ไม่นินทากันลับหลัง ไม่เหยียบย่ำทำลายกัน นั่นย่อมประเสริฐแล้ว

🌿 ฝ่าเท้าเย้ยพิภพ
ปรัชญาเถื่อน โดย :: สารถี แห่งลุ่มแม่น้ำเพชร
อหังการ์แห่งมนุษยชาติ ก้าวเท้ากดลึกลงบนผิวดวงจันทร์ บริวารเก่าแก่ดวงเดียวของโลก ซึ่งครั้งหนึ่ง บรรพชนเคยนมัสการกราบไหว้

🌿 ความทรงจำที่เศร้าหมอง
จอมยุทธ : กรีดสาย
กับความอาดูรที่สูญสิ้น บางสิ่งบางอย่างไม่อาจหวนคืน ใครคนหนึ่งเก็บตัวเงียบเหมือนสัตว์ป่าหายาก

🌿 ธรรมนูญนรก
ปรัชญาเถื่อน โดย :: สารถี แห่งลุ่มแม่น้ำเพชร
และแล้วชีวิตก็จากไป จากไปอย่างไร้ร่องรอย คงทิ้งไว้แต่เพียงเรือนร่างร้างที่เคยสิงสถิต ซากศพผู้จงรักภักดี

ยังมีอีก »


ชีวิตเริ่มต้นอีกครั้งหลังเกษียณ
ภูจอมยุทธ | Podcast

ชีวิตในแบบฉบับของตัวเอง หิวก็กินง่วงก็นอน อยากทำอะไรก็ทำ เบียดเบียนสภาพแวดล้อมแต่พองาม ประสบการณ์แบ่งปันผู้คน มากบ้างน้อยบ้าง วัดกับร้านเหล้าถือเป็นสถานอโคจร ที่ต้องรักษาระยะห่าง คลิกดู👆