สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
จรรยาบรรณนักบัญชีตามวิถีพุทธ
การบัญชี(Accounting) เป็นศิลปะของการจดบันทึกรายการ
หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการเงินไว้ในรูปแบบของเงินตรา จัดเป็นหมวดหมู่
พร้อมทั้งสรุปผล ตีความหมายของผลลัพธ์
การบัญชีเริ่มมีการศึกษาครั้งแรกในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 5
ทำให้ความรู้ทางบัญชีกว้างขวางขึ้นประกอบรัฐบาลได้ส่งเสริมให้มีการศึกษาทางด้านบัญชีมากขึ้น
เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการค้า และการจัดเก็บภาษี
ข้อมูลทางบัญชี มีประโยชน์ต่อบุคคลภายในและภายนอก กิจการ
ในโลกนี้มีธุรกิจมากมายถ้ามนุษย์ไม่มีระบบบัญชีควบคุม จัดให้เป็นระบบระเบียบ
ย่อมจะทำให้ธุรกิจต่างๆเกิดความยุ่งเหยิงธนาคารหรือสถาบันการเงินต่างๆจะมีวิธีเก็บบัญชีลูกค้าอย่างไร
...รัฐบาลทั่วโลกจะจัดเก็บภาษีกันอย่างไร
.
จรรยาบรรณนักบัญชีตามวิถีพุทธ
เป็นนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการทำงานที่นำพุทธศาสนาให้ย้อนกลับมามีบทบาทในการศึกษาและการทำงาน
ให้นักบัญชีไทยตระหนักว่าศาสนาพุทธของไทยเป็นศาสนาที่มีเหตุผลไม่มีความล้าสมัย
นักบัญชีสามารถนำหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการทำงานเป็นนักบัญชีที่ดีได้
โอกาสและอนาคตอันสดใสของวิชาชีพบัญชี
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาการบัญชี (บช.บ.)
และจะมีโอกาสโดดเด่นที่จะมีอนาคตสดใสจากการเป็นนักบัญชีมืออาชีพ
- มีคุณสมบัติที่สอบเป็น ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (Tax Auditor : TA) ได้ทันที (ผู้สอบภาษีอากร 1 คนสามารถสอบเซ็นรับรองงบได้ 300 ราย) ดังนั้นยังมีความต้องการและโอกาสที่จะสอบเป็นผู้สอบบัญชีอีกมาก
- มีคุณสมบัติเป็น ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (Certified Public Accountant : CPA) ได้ หากสอบได้ใบอนุญาต CPA จะสามารถประกอบวิชาชีพอิสระเหมือน นายแพทย์ วิศวกร นักกฎหมาย ฯลฯ
- มีอาชีพเป็น ผู้ตรวจสอบภายในรับอนุญาต (Certified Internal Auditor : CIA) ได้ หากสอบได้ใบอนุญาต CIA สามารถประกอบอาชีพได้ทั่วโลก
- มีอาชีพเป็น ผู้ตรวจสอบภายใน (Internal Auditor : IA) ของบริษัท สถาบันการเงินรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งกระทรวงต่างๆ ได้
- มีคุณสมบัติเป็น ผู้ทำบัญชี ตามพระราชบัญญัติการบัญชี 2543 ได้ โดยสามารถเป็นผู้ทำบัญชีตามกฎหมายให้กับห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด เป็นต้น ส่วนนักศึกษาที่จบระดับปวส.และปวช. สามารถเป็นผู้ช่วยทำบัญชี(Bookkeeper)
อาชีพนักบัญชีเป็นอาชีพที่มีความรับผิดชอบสูง นักธุรกิจสามารถนำตัวเลขทางบัญชีไปวิเคราะห์ผลการประกอบการ ดูแนวโน้มทางธุรกิจ คาดคะเนการขาย วางเป้าหมายธุรกิจ และการใช้ข้อมูลทางบัญชีวิจัยทางด้านตลาด ส่วนภาครัฐบาลสามารถนำตัวเลขไปวางแผนด้านงบประมาณ การจัดเก็บภาษี วิเคราะห์ความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศ (GDP)ฯลฯ ดังนั้นอาชีพนักบัญชีก็ไม่ต่างกับอาชีพแพทย์ นักกฎหมาย ที่ต้องมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ ซึ่ง ณ ปัจจุบัน สภาวิชาชีพบัญชี ซึ่งเป็นองค์กรนิติบุคคลระดับประเทศได้ออกพระราชบัญญัติ พุทธศักราช 2547 ว่าด้วย จรรยาบรรณนักบัญชี ที่ดี ดังนี้
- มีความซื่อสัตย์ สุจริต
- มีความละเอียดรอบคอบ
- รักษาความลับทางด้านบัญชีของหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
- ไม่นำเอกสารทางด้านบัญชีไปเผยแพร่ต่อบุคคลภายนอก โดยไม่ได้รับอนุญาต
ในเมื่อตัวเลขทางบัญชีมีประโยชน์และมีความสำคัญมากเปรียบเสมือน
เข็มทิศทางเศรษฐกิจ ของประเทศ
ดังนั้นนักบัญชีเป็นผู้ทำและควบคุมตัวเลขเหล่านั้นจะมีความเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับความซื่อสัตย์ของผู้ทำบัญชี
ความสำคัญของตัวเลขทางบัญชีมีความสำคัญเพียงใด บริษัท เอ็นรอน
จำกัดของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประสบปัญหาจนบริษัทล้มละลาย
เพียงเพราะนักบัญชีตบแต่งตัวเลข
หรือเมื่อเร็วๆนี้บริษัทแก๊สแห่งหนึ่งของเมืองไทยก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกันที่พนักบัญชีตบแต่งตัวเลขทางบัญชีหลอกลวงประชาชน
เพื่อให้หุ้นดูดีในตลาดหลักทรัพย์จนถูกตรวจสอบ
ดังนั้นหลักธรรม ความซื่อสัตย์จึงเป็นหนึ่งในเบญจศีล
ที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจทุกชนิด ต่อให้รูปลักษณ์ของกิจการดีขนาดไหนโฆษณาดีอย่างไร
ถ้าพนักงาน
บัญชีปฎิบัติตนไม่ตรงไปตรงมาไม่ตระหนักในคุณธรรมความดีงามตามวิธีพุทธในเรื่องความซื่อสัตย์
เมื่อนั้นจะเป็นเคราะห์ร้ายของกิจการเป็นอย่างยิ่ง
ความซื่อสัตย์ของพนักบัญชีจึงเป็นเรื่องที่ต้องยึดถือปฏิบัติตลอดทั่วทั้งกิจการตั้งแต่ผู้บริหารสูงสุดลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
สุภาษิตไทยที่ว่า ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน
ยังเป็นความจริงที่ไม่มีวันตายไม่ว่าธุรกิจใดๆ ก็ตาม
ความซื่อสัตย์เป็นนโยบายที่ดีเสมอ หากหวังจะให้ธุรกิจอยู่รอดและเติบโตอย่างมั่นคง
มนุษย์ทุกคนควรทำงานด้วยความมีสติ มีสมาธิ
ตามหลักธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและมนุษย์ทุกคนก็ต้องการทำอะไรให้ประสบกับความสำเร็จเสมอ
คงไม่มีใครที่อยากจะเห็นผลงานของตนเองล้มเหลว ผิดพลาด
เพราะความผิดพลาดไม่ว่าจะเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ ก็ย่อมส่งผลต่อตัวเราแทบทั้งนั้น
ไม่มากก็น้อย ผู้บริหารทุกคนย่อมอยากให้ผลงานที่ตนเองรับผิดชอบออกมาดี
แต่บางครั้งอาจมีความผิดพลาดเกิดขึ้น ทั้งที่คิดว่าผลงานต่างๆ ที่ผ่านมือของเรานั้น
น่าจะดีที่สุด ถูกต้องที่สุด ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากหลายสาเหตุ
แต่สาเหตุหนึ่งที่เชื่อว่าอาจมีผู้บริหารหลายท่านเคยเป็น นั่นคือ
การขาดความละเอียดรอบคอบ ความเลินเล่อประมาทเพราะขาดสติในการทำงาน
ชีวิตการทำงานความละเอียดรอบคอบนับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
เพราะการทำงานทุกคนย่อมหวังให้เกิดผลที่ดีที่สุด ธุรกิจประสบความสำเร็จมากที่สุด
การทำงานแบบคิดว่าทุกอย่างน่าจะดีที่สุดโดยไม่ได้ผ่านการตรวจสอบอย่างละเอียด
ความประมาทย่อมอันตรายและหมายถึงโอกาสผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น
การทำงานไม่ควรฝากความหวังไว้ที่คนใดคนหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว
แต่ทุกคนควรมีส่วนช่วยกันพิจารณาตรวจทาน ไม่เว้นแม้แต่ผู้บริหาร เพราะหลายตา
หลายความคิด ย่อมดีกว่าตาเดียว ความคิดเดียว เพราะเมื่อหลายคนร่วมกันดู
ช่วยกันตรวจทาน ข้อบกพร่องความผิดพลาดต่างๆ ก็ย่อมลดลงไปด้วย
เพราะการทำงานไม่ใช่หมายถึง การทำ อย่างลวกๆ แต่หมายถึง
การทำสิ่งที่ดีที่สุดให้กับบริษัท เพื่อให้ผลงานที่ออกมาโดดเด่น ถูกใจลูกค้า
ดังนั้น ความละเอียดรอบคอบ
จึงเป็นสาระสำคัญที่สุดของการมีสมาธิในการทำงานที่นักบัญชีจะละเลยไม่ได้เลย
ดั่งพุทธธรรมที่ว่าความประมาทเป็นหนทางแห่งความหายนะ
ทหารต้องรักษาความลับของกองทัพฉันใด นักบัญชีที่ดีก็ต้อง รักษาความลับของบริษัทฉันนั้น ไม่ว่าความลับทางความคิด ความลับทางเอกสาร ความลับตัวเลขทางบัญชี และไม่นำเอกสารที่ ไม่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานไปเผยแพร่ต่อสาธารณชนหรือคู่แข่งขันจึงเป็นจรรยาบรรณที่สำคัญอีกข้อหนึ่ง
ระบบงานบัญชีของทุกองค์กร ถือเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญยิ่งอีกประ
การหนึ่งของความสำเร็จของการดำเนินงานและการดำเนินธุรกิจของ องค์ กร
สาระสำคัญที่สุดของงานบัญชี คือ ความละเอียดรอบคอบ ถูก ต้องแม่นยำ ซื่อตรง ชัดเจน
โปร่งใส เป็นที่น่าเชื่อถือไว้วางใจ เป็น
ระเบียบระบบเป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานของการบัญชี
นักบัญชีที่ดีต้องยึดถือตามวิถีพุทธ
พึงมีคุณสมบัติสามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนักบัญชีตาม สาระสำคัญดังกล่าว เพื่อจัดทำ
ควบคุม ดูแล ตรวจสอบ และรายงานฐานะทางการเงิน และรายละเอียดอื่น ๆ ด้านการบัญชีของ
บริษัท องค์กร สถานประกอบการ เยี่ยงนักบัญชีที่มีความรู้ ทักษะ
ความสามารถและมีคุณธรรม ในสาขาของตน และเป็นผู้ที่ทรงไว้ซึ่งความซื่อสัตย์ ซื่อตรง
รักษาจรรยาบรรณของนักบัญชีอย่างเที่ยงตรง โดยมีศีล คือประพฤติดีมีความซื่อสัตย์
สมาธิ คือ มีสติทำงานด้วยความรอบคอบ ปัญญา คือ
รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของโลกรักษาความลับขององค์กรและลูกค้า
นักบัญชีต้องสร้างความตระหนักคุณความดีในวิชาชีพ
โดยยึดหลักศีลคือความซื่อสัตย์ สมาธิคือ ความละเอียด รอบคอบในการทำงาน
และปัญญาคือความมุ่งมั่นดำเนินงานของตนจนเกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่วางไว้ไม่ก่อความเดือดร้อนไม่เบียดเบียนผู้อื่น
ก็ได้ชื่อว่าเป็นนักบัญชีที่ดีได้จรรโลงคุณธรรมความดีตามวิถีพุทธแล้ว