ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>

นักคิด นักเขียน

จิตร ภูมิศักดิ์ 
กุหลาบ สายประดิษฐ์
อัศนี พลจันทร์
ปรีดี พนมยงค์
ป๋วย อึ้งภากรณ์

ปรีดี พนมยงค์

2

วันที่ 24 มิถุนายน  พ.ศ.2475 คณะราษฎรได้ทำการยึดอำนาจ การปกครองแผ่นดินอย่างรวดเร็ว   โดยลวงทหารจากกรมกองต่างๆให้มา ชุมนุมพร้อมหน้ากันที่ลานพระบรมรูปทรงม้าและถือโอกาสประกาศ เปลี่ยนแปลง การปกครองทันที   กำลังอีกส่วนหนึ่งไปเชิญพระบรม วงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่หลายพระองค์มาเป็นตัวประกัน   นายปรีดี เป็นผู้นำคณะราษฎรฝ่ายพลเรือน
          หลังจากยึดอำนาจในกรุงเทพฯได้แล้ว   คณะผู้ก่อการได้ส่งนาย ทหารเรือเป็นตัวแทนไปกราบบังคมทูลพระบาท สมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว ซึ่งเสด็จแปรพระราชฐานอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล   จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์   ให้ทรงทราบ และพระองค์ได้เสด็จกลับกรุงเทพฯ ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติ ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พ.ศ.2475   ที่ร่างโดยนายปรีดี  พนมยงค์   และเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญา สิทธิราชย์ไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายหลัก และมี พระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ของประเทศ

          วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475 เริ่มมีการใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรกของสยาม โดยมีนายปรีดี  พนมยงค์ เป็นอนุกรรมการร่าง   และต่อมาได้มี พ.ร.บ.การเลือกตั้งฉบับแรกออกมาด้วย   ริเริ่มให้สตรีมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งและ สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฏรได้เท่าเทียมผู้ชาย (นับว่าก้าวหน้ากว่าประเทศฝรั่งเศสซึ่งเพิ่งเปิดโอกาสให้สตรีมี สิทธิ์เช่นนี้ได้หลังสงครามโลกครั้งที่สอง)   นายปรีดีได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ในรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี

          ในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2476 นายปรีด   พนมยงค์ได้เสนอ "เค้าโครงเศรษฐกิจ" เพื่อให้พิจารณาใช้เป็นหลัก สำหรับนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีลักษณะเป็นสหกรณ์เต็มรูปแบบ แต่ไม่ทำลาย กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของ เอกชน โดยให้รัฐซื้อที่ดินจากเจ้าของเดิมด้วยพัทธบัตร   มีดอกเบี้ยประจำปี    ให้การประกันแก่ราษฎรตั้งแต่เกิดจนตาย ว่าเมื่อราษฎรผู้ใดไม่สามารถ ทำงานได้หรือทำงานไม่ได้เพราะเจ็บป่วยหรือชราหรืออ่อนอายุก็จะได้รับความอุปการะ เลี้ยงดูจากรัฐบาล 

          แต่แนวความคิดดังกล่าว ฝ่ายพระยามโนปกกรณ์ นายกรัฐมนตรีและขุนนางต่างๆ ไม่เห็นด้วยเนื่องจาก ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจ ซึ่งเจ้าและขุนนาง ยังกุมอำนาจอยู่   เมื่อนำเข้าสู่สภาแล้วเสียงส่วนใหญ่ไม่ เห็นด้วย  นายปรีดีจึงได้ลาออก จากตำแหน่ง    รัฐบาลร่วมกับทหารบางกลุ่มทำการยึดอำนาจปิดสภาและออก พ.ร.บ. ว่าด้วยคอมมิวนิสต์ พ.ศ.2476   ออกแถลงการณ์ประณามนายปรีดีว่าเป็นคอมมิวนิสต์   นายปรีดีจึงถูกเนรเทศออกนอก ประเทศไปพำนักอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส   เมื่อวันที่ 12  เมษายน  พ.ศ.2476

          ต่อมาในวันที่ 19 มิถุนายน  พ.ศ.2476 พ.อ.พระยาพหลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าเข้าทำการรัฐประหารยึดอำนาจ และได้รับแต่ตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี แทนรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา   สภาผู้แทนได้ตั้งกรรมาธิการสอบสวนกรณี นายปรีดีถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์   ผลการสอบสวนได้ข้อสรุปว่า นายปรีดีเป็นผู้บริสุทธิ์ ในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2477 และต่อมาได้นายปรีดีได้ กลับมาเมืองไทยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 21  มีนาคม  พ.ศ.2477
          นายปรีดีได้ทำการร่าง พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2476 มีเนื้อหาสำคัญคือ การกระจายอำนาจการปกครองเป็น   ส่วนกลาง    ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น     ดำเนินการสถาปนาคณะกรรมการ กฤษฎีกา เพื่อทำหน้าที่ร่างกฎหมาย เป็นที่ปรึกษากฎหมายแผ่นดิน ผลักดันให้คณะกรรมการกฤษฎีกาทำหน้าที่ ศาลปกครองซึ่งมีหน้าที่พิจารณาข้อพิพาทระหว่างราษฎรกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง และทำให้ราษฎรสามารถตรวจสอบ ฝ่ายปกครองได้แต่ทำไม่สำเร็จ   ประเทศไทยมามีศาลปกครองก็ต่อเมื่อเวลาผ่านไป 67 ปี

 

         วันที่ 11 เมษายน พ.ศ.2477 นายปรีดีได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง และได้มีพิธีสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองที่ อาคารโรงเรียนกฎหมาย   กระทรวงยุติธรรม ในปีแรกที่มี การเปิดสอนมีผู้สมัครเข้าเรียนถึง 7,094 คน และในปีแรกนี้ผลิตบัณฑิตที่โอนมาจากโรงเรียนกฎหมายเดิม 19 คน

         วันที่ 12   กุมภาพันธ์ พ.ศ.2478 นายปรีดีดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศในรัฐบาลพระยาพหล พยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี    ต่อมาในเดือนตุลาคมปีเดียวกันนายปรีดีและคณะได้ออกเดินทางด้วยเรือไปประเทศ อิตาลี พบกับมุโสลินี ผู้นำฟาสซิสม์ของอิตาลี เข้าพบนายปิแอร์  ลาวาล นายกรัฐมนตรี ฝรั่งเศส เพื่อเจรจายกเลิกสัญญา ที่ไม่เป็นธรรม   ต่อจากนั้นเดินทางไปประเทศเยอรมนี พบตัวแทนของอดอล์ฟ  ฮิตเลอร์ เพื่อเปิดความสัมพันธ์ทาง เศรษฐกิจ  เดินทางไปอังกฤษ เพื่อเจรจากู้เงินกับเซอร์   แซมมวล  ฮอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผลการเจรจา เจ้าหนี้ยอมลดดอกเบี้ยเงินกู้ที่กู้มาเมื่อ พ.ศ.2467  จำนวน  2,340,300 ปอนด์ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6 ต่อปีเหลือเพียง ร้อยละ 4 ต่อปี   จากนั้นได้เดินทางไป ประเทศสหรัฐอเมริกา เข้าพบนายคอร์เดล  ฮัลล์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา เรื่องการแก้ไขสนธิสัญญา   แล้วเดินทางต่อมาที่ประเทศญี่ปุ่น เข้าพบ จักรพรรดิฮิโรฮิโต และเขาพบนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นเพื่อขอให้ยกเลิกสัญญา ที่ไม่เป็นธรรม     เมื่อเดินทางกลับ มาเมืองไทยนายปรีดีได้ย้ายที่ทำงานมาที่ กระทรวงการต่างประเทศ   และดำเนินการทางการทูตเจรจาขอยกเลิกสัญญาที่ไม่เป็นธรรม กับสิบสองประเทศ คือ สวิตเซอร์แลนด์  เบลเยี่ยม สวีเดน  เดนมาร์ก   สหรัฐอเมริกา นอร์เวย์   อังกฤษ สเปน อิตาลี ฝรั่งเศส   ญี่ปุ่นและเยอรมนี จนสามารถยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคที่รัฐบาลสยาม สมัยสมบูรณาญา สิทธิราชย์ทำไว้กับประเทศต่างๆในนามสนธิสัญญาทางไมตรี พาณิชย์และการเดินเรือได้สำเร็จ   จนได้รับเอกราชทาง ศาลและเอกราชทางเศรษฐกิจกลับคืนมา   พร้อมกันนั้นได้ลงนามสนธิสัญญาใหม่ที่ใช้หลัก "ดุลยภาพแห่งอำนาจ" เพื่อให้สยามได้เอกราชอธิปไตยสมบูรณ์และมีสิทธิเสมอภาคกับต่างชาติ

          เดือนธันวาคม   พ.ศ.2481 นายปรีดี   พนมยงค์ได้เข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง   ในคณะ รัฐมนตรี พ.อ.หลวงพิบูลสงคราม   นายปรีดีคาดว่าอาจจะเกิดสงครามโลกครั้งที่สองในไม่ช้า เงินปอนด์ที่สยามประเทศ ใช้เป็นทุนสำรองเงิรตราอาจจะลดค่าลงได้ จึงตัดสินใจเปลี่ยนการเก็บรักษาเงินทุนสำรองเป็นทองคำแท่งแทนเงินปอนด์ โดยนำเงินปอนด์ที่เป็นทุนสำรองจำนวนหนึ่งไปซื้อทองคำแท่งหนัก 273,815 ออนซ์ (ราคาออนซ์ละ 35 เหรียญสหรัฐ อเมริกา)   และนำมาเก็บไว้ที่ห้องนิรภัยกระทรวงการคลัง ทำให้ค่าเงินบาทมีความเสถียรภาพมาก และได้วางรากฐาน จัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้น ( มีพิธีเปิดธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2485 ซึ่งมีพลตรีเภา เพียรเลิศ   บริภัณฑ์ยุทธกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง )

          วันที่ 24 มิถุนายน  พ.ศ.2482 รัฐบาลหลวงพิบูลสงคราม ประกาศยกเลิกนามประเทศว่า สยาม (Siam) ให้เปลี่ยนเป็นประเทศไทย (Thailand) และประกาศเลิกใช้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ให้เปลี่ยนมาใช้วันที่ 1 มกราคม ของทุกปีแทน ( ดังนั้นนับตั้งแต่วนที่ 1 มกราคม พ.ศ.2483ในปฏิทินเก่า จึงให้ถือว่าเป็นวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2484)

          วันที่ 8 ธันวาคม  พ.ศ.2484 เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา   ญี่ปุ่นยกทัพขึ้นบกเข้ามาในประเทศไทยทางอ่าวไทย พร้อมกันหกแห่ง    รัฐบาลจอมพลป. พิบูลสงครามได้ตกลงยอมแพ้และได้เซ็นสัญญาเป็นพัทธมิตรกับญี่ปุ่น ที่หน้าวัด พระแก้วมรกต เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม  พ.ศ.2484   ต่อมานายปรีดีถูกทหารญี่ปุ่นกดดันให้จอมพลป.   พิบูลสงครามปลด นายปรีดีให้พ้นจากตำแหน่งในคณะรัฐบาล   ในเวลาต่อมานายปรีดีได้รับแต่งตั้ง ให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

          วันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2485  รัฐบาลจอมพลป.   พิบูลสงครามได้ประกาศสงคราม กับอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ฝ่ายอังกฤษประกาศสงครามตอบแต่สหรัฐอเมริกาไม่ได้ประกาศ สงครามด้วย   โดยถือว่าไทยถูกญี่ปุ่นรุกราน   แต่นายปรีดี ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ไม่ได้ลงนามในประกาศสงครามดังกล่าว    และได้ดำเนินการจัดตั้งขบวนการ เสรีไทยในทางลับ   มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าขบวนการ ภายใต้รหัสลับ "รูธ" ประสานงานลับกับฝ่ายสัมพันธมิตร   ดำเนินการ ต่อต้านญี่ปุ่นและ เจรจาให้ฝ่ายสัมพันธมิตรเข้าใจว่าการประกาศสงครามของจอมพลป. ไม่ถูกต้องตาม กฎหมาย ต่อมาในวันที่ 1  สิงหาคม  พ.ศ.2487 สภาผู้แทนราษฏรมีมติให้นายปรีดี ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ แต่ผู้เดียว

          วันที่ 15   สิงหาคม  พ.ศ.2488 หลังจากเครื่องบินสหรัฐอเมริกาไปทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาและ นางาซากิ ญี่ปุ่นได้ยอมแพ้สงครามอย่างไม่มีเงื่อนไข     ต่อมาในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2488 นายปรีดีในฐานะ ผู้สำเร็จราชการ ก็ประกาศสันติภาพ มีสาระสำคัญว่า การประกาศสงครามของจอมพลป. พิบูลสงครามต่อสหรัฐอเมริกา และอังกฤษเป็นโมฆะ   มีผลทำให้ประเทศไทยไม่ต้องถูกปลดอาวุธกลายเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม   สัมพันธมิตรรับรอง เอกราชอธิปไตยของไทย   รับรองคุณูปการของเสรีไทยและรับรองฐานะผู้นำขบวนการเสรีไทย

         วันที่ 5 ธันวาคม  พ.ศ.2488 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จนิวัติพระนคร   ในครั้งนี้ได้ทรงบรรลุ นิติภาวะแล้ว   นายปรีดี   พนมยงค์จึงพ้นจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์   ต่อมาในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2488 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯยกย่องให้นายปรีดีในฐานะรัฐบุรุษอาวุโส มีหน้าที่ให้คำปรึกษาราชการ

         วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2489 นายปรีดี พนมยงค์ได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี(ครั้งที่1) และได้มีการประกาศ ใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่   ให้มีการเลือกตั้งทั่วไปตามรัฐธรรมนูญนั้น

         วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2489 นายปรีดี   พนมยงค์ได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (ครั้งที่2)   แต่ต่อมาในวันที่ 9 มิถุนายน  พ.ศ.2489 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต    ในฐานะนายกรัฐมนตรีได้เสนอของความเห็น ชอบจากรัฐสภา ให้อัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ขึ้นครองราชย์    ในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2489 นายปรีดีได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (ครั้งที่3)   และได้ถูกใส่ร้ายป้ายสีกรณีสวรรณคตรัชการที่ 9

        วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 คณะรัฐประหารนำโดยพลโทผิน   ชุณหะวัณ ยึดอำนาจการปกครองประเทศ   นายปรีดี   พนมยงค์ต้องลี้ภัยการเมืองไปประเทศสิงคโปร์

        วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2492 ดำเนินการ "ขบวนการประชาธิปไตย 26 กุมภาพันธ์" หรือ "กบฏ วังหลวง" เพื่อยึดอำนาจแต่ ไม่ประสบความสำเร็จ นาย ปรีดี   พนมยงค์ได้ลี้ภัย การเมืองที่ประเทศสาธารณ ประชาชนจีน ในระหว่าง ปี พ.ศ.2592 - 2513   และได้ ลี้ภัยการเมืองต่อที่ประเทศ ฝรั่งเศส ระหว่างปี    พ.ศ.2513 - 2526

        วันที่ 2 พฤษภาคม   พ.ศ.2526  นายปรีดี    พนมยงค์อสัญกรรมที่บ้านพักชานกรุงปารีส    ต่อมาในปี พ.ศ.2543 องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)  ได้ประกาศบรรจุชื่อ นายปรีดี  พนมยงค์ไว้ใน ประวัติบุคคลสำคัญของโลก ปี ค.ศ.2000-2001

<< ย้อนกลับ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย