ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »
จังหวัดบุรีรัมย์
ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก
ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา จังหวัดบุรีรัมย์(2)
สมัยที่ขอมมีอำนาจมากได้เขามาปกครองดินแดนแถบนี้เป็นเวลานาน และใช้เป็นต้นทางติดต่อระหว่างทาง พุทไธสมันกับหัวเมืองขึ้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่ เมืองพิมายและ สกลนคร โดยผ่านช่องเสม็ดและช่องอื่นๆ มีหลัดฐานจากรูปถนนโบราณจากข้างบ้านละลม พะเนา ที่ตำบลจันดุม อำเภอประโคนชัย ตรงไปทางบุรีรัมย์ผ่านเมืองโบราณหลายเมือง ขึ้นไปพุทไธสงและต่อจากนั้นมีศิลาปักเป็นระยะไปสกลนครทางด้านอำเภอพิมาย ยังมีหลักศิลาปักเป็นตอน ๆ มีซากเมืองโบราณเป็นระยะ ๆ ไปยังพิมายและพนมรุ้ง หลังจากขอมหมดอำนาจแล้ว ไทยจึงได้แผ่อาณาเขตเข้าครอบครองดินแดนแถบนี้
สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเมืองนครราชสีมา ปกครองเมืองขึ้น 5 เมือง คือ สครจันทึกชัยภูมิ พิมาย บุรีรัมย์ นางรอง โดยโปรดให้พระยายมราช(สังข์) ครองเมือง ต่อมาได้ขยายเมืองเพิ่มขึ้นอีก 9 เมือง คือ จัตุรัส เกษตรสมบูรณ์ ภูเขียว ชนบท พุทไธสง ตะลุง(ประโคนชัย) รัตนบุรี และปักธงชัย นอกจากนี้ยังได้อ้างถึงประชุมพงศาวดารฉบับความสำคัญ ฉบับ 3 ของหลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งกล่าวถึงบุรีรัมย์ เดิมชื่อโนนม่วง ตั้งสมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. 2318 ครั้นถึง พงศ. 2319 รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี กรมการเมืองนครราชสีมามีใบบอกเข้ามาว่า พระยานางรองคบคิดเป็นกบฎร่วม กับเจ้าโอเจ้าอิน และอุปฮาดเมืองจำปาศักดิ์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงโปรดเกล้าฯให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อครั้งยังดำรงตำแหน่งเจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพขึ้นไปเมืองนครราชสีมา ทรงจับตัวพระยานางรองมาไต่สวน และรับว่าเป็นกบฏจริงให้ประหารชีวิตเสีย แต่เจ้าโอเจ้าอิน และอุปฮาดยังตั้งซ่องสุมผู้คนอยู่ที่เมืองจำปาศักดิ์ เมืองโขง เมืองอัตปือ ได้ทั้ง 3 เมือง แล้วเกลี้ยกล่อมเขมรป่าดง และบรรดาเมืองต่างๆใกล้เคียงให้เข้าสมามิภักดิ์ ได้แก่เมืองตะลุง เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ และเมืองขุขันธ์
เมื่อจัดการเรื่องสงครามเรียบร้อยแล้ว ขณะยกทัพกลับเจ้าพระยาจักรีได้พบเมืองร้างมีชัยภูมิที่ดี จึงได้ตั้งเมืองขึ้นที่ข้างต้นแป๊ะขนาดใหญ่ เมืองนี้จึงใช้นามว่าเมืองแป๊ะ รวบรวมผู้คนรวมทั้งพวกเขมรป่าดง มาตั้งหลักแหล่งจนเป็นปึกแผ่นพร้อมกันนั้นได้ตั้งบุตรเจ้าเมืองผไทสมันซึ่งติดตามมาพร้อมด้วยครอบครัวให้เป็นเจ้าเมือง ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยานครภักดี พอถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้มีเรื่องราวของเมืองแป๊ะ(บุรีรัมย์) ปรากฏใน พ.ศ.2370 เจ้าอนุเวียงจันทน์เป็นกบฏ ได้ให้เจ้าราชวงศ์ยกทัพมา กวาดต้อนผู้คนและเสบียงอาหารแถบเมืองพุทไธสง เมืองนางรอง และเมืองแป๊ะ พระนครภักดี (หงส์)นำราษฎรออกทำการต่อสู้ แต่เนื่องจากกำลังน้อยกว่าจึงได้ถอยไปตั้งหลักที่เมืองพุทไธสมัน พวกเวียงจันน์ ติดตามจับได้ ที่ช่องเสม็ดและจับพระนครภักดีและครอบครัวจองจำกลับไปให้เจ้าราชวงศ์ ซึ่งตั้งทัพรออยู่ที่ทุ่งสุวรรณภูมิ(ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด)ต่อมา พระนครภักดีได้ชักชวนชายหญิงในครอบครัวจับอาวุธเข้าต่อสู้เพื่อหนีในเวลากลางคืน แต่ถูกพวกทหารลาวฆ่าตายหมดเหลือแต่ตัวพระนครภักดี ทหารลาวฟันแทงไม่เข้า เพราะเป็นคนมีวิชาคงกระพัน เจ้าราชวงศ์จึงให้ทหารลาวเอาหลาวเสียบทวารถึงแก่ความตาย หลังจากที่กองทัพหลวงไทยตีทัพเจ้าอนุวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์แตกแล้ว ได้แต่งตั้งให้หลวงปลัดซึ่งเป็นบุตรชายพระนครภักดี (หงส์) เป็นผู้รั้งตำแหน่งเจ้าเมืองแทนตั้งแต่เมืองแป๊ะ
เมืองบุรีรัมย์ยังคงใช้ชื่อว่าเมืองแป๊ะต่อมา สันนิฐานว่าได้เปลี่ยนเป็นเมือง บุรีรัมย์ประมาณปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 หรือต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการแต่งตั้งพระสำแดงฤทธิรงค์ เป็นพระนครภักดีศรีนคราผู้สำเร็จราชการเมืองบุรีรัมย์ ขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมาในพ.ศ.2411 เป็นระยะเวลาหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ไม่นานนัก และจากหลักฐานในระยะต่อมาได้มีการปฏิรูปการปกครองในรูปแบบต่างๆปรากฏว่าเมืองบุรีรัมย์ และเมืองนางรองได้ผลัดกันมีบทบาทความสำคัญ
จังหวัด » กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ บึงกาฬ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี