ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
ประวัติการปฏิวัติรัฐประหารและกบฎ
โดยสาระสำคัญแล้ว การทำรัฐประหาร คือการใช้กำลังอำนาจเข้าเปลี่ยนแปลงอำนาจของรัฐ โดยมาก หากรัฐประหารครั้งนั้นสำเร็จ จะเรียกว่าปฏิวัติ แต่หากไม่สำเร็จจะเรียกว่า กบฏ
รัฐประหาร (Coup d'Etat อ่านว่า คู-เด-ต้า) หมายถึงการล้มล้างรัฐบาลที่บริหารปกครองรัฐในขณะนั้น แต่มิใช่การล้มล้างระบอบการปกครองหรือรัฐทั้งรัฐเสมอไป และมิจำเป็นต้องมีการใช้ความรุนแรงหรือนองเลือดเสมอไป เช่นหากกลุ่มทหารอ้างว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งบริหารประเทศชาติผิดพลาด และจำเป็นต้องบังคับให้รัฐบาลพ้นจากอำนาจ จึงใช้กำลังบังคับให้ออกจากตำแหน่งและประกาศรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ทันที เยี่ยงนี้ก็เรียกได้ว่าเป็นการก่อรัฐประหาร
» กบฏพระยาทรงสุรเดช 29 มกราคม 2481
» กบฏแบ่งแยกดินแดน 28 กุมภาพันธ์ 2491
» กบฏแมนฮัตตัน 29 มิถุนายน 2494
» กบฏสันติภาพ 8 พฤศจิกายน 2497
» ปฏิวัติโดยประชาชน 14 ตุลาคม 2516
» ปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน 6 ตุลาคม 2519
» การก่อความไม่สงบ 9 กันยายน 2528
» รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534
***เอกสารอ้างอิง : ศาสตราจารย์ ดร.ลิขิต ธีรเวคิน, "การเมืองการปกครองไทยของไทย"