สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>
ฤๅษีดัดตนพื้นฐาน 15 ท่า
ฤๅษี หรือฤษี ความหมายตามพจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 หมายถึง นักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล
สละบ้านเรือนออกไปบำเพ็ญพรตแสวงหาความสงบ
ปรากฏหลักฐานครั้งแรกในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ใน
พ.ศ.2331 เมื่อทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธาราม (ปัจจุบัน คือ
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือวัดโพธิ์ )
และข้อมูลของโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพน ระบุว่า มีเขาฤๅษีดัดตน ซึ่งก็คือ
สวนสุขภาพแห่งหนึ่ง อยู่ใกล้พระวิหารทิศใต้ เป็นพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ 1
ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
รวบรวมการแพทย์แผนโบราณและศิลปะวิทยาการครั้งกรุงศรีอยุธยาไว้
ทรงพระราชดำรินำเอาท่าดัดตนอันเป็นการพักผ่อนอิริยาบถแก้เมื่อยตามส่วนต่างๆ
ของร่างกาย
และประยุกต์กับคติไทยที่ยกย่องฤษีเป็นครูผู้ประสิทธิ์ประสาทวิทยาการต่างๆ
เป็นรูปฤๅษีดัดตน
แสดงท่าไว้ที่วัดเพื่อให้ราษฎรทั่วไปได้ศึกษาเล่าเรียนและรักษาโรคได้อย่างกว้างขวาง
สมัยแรกสร้างนั้นปั้นด้วยดิน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ในปี พ.ศ.2379
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งวัด
และโปรดเกล้าฯให้กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ (พระราชโอรสในรัชกาล ที่ 1 พระนามเดิม
พระองค์เจ้าดวงจักร) เป็นแม่กอง กำกับช่าง หล่อรูปฤๅษีแสดงท่าดัดตน
ด้วยสังกะสีผสมดีบุก (เรียกว่า ชิน) จำนวน 80 ท่า เสร็จแล้วโปรดเกล้าฯ
ให้พระราชวงศ์เสนาอำมาตย์ และนักปราชญ์ราชบัณฑิต ร่วมกันแต่งโคลงประกอบรูปฤๅษีดัดตน
โดยพระองค์เองก็ทรงพระราชนิพนธ์ด้วย
และจารึกโคลงเหล่านั้นลงบนแผ่นศาลาติดไว้ตามผนังศาลารายรอบวัด (ก่องแก้ว
วีระประจักษ์ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร)
ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโบราณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร
ได้ให้ความเห็นว่า
หากนับเวลาจากปีที่สร้างรูปฤๅษีดัดตนเป็นลำดับมาจนถึงปัจจุบันจะเห็นว่ายาวนานถึง
170 ปีแล้ว จึงกล่าวได้ว่า ฤๅษีดัดตน
เป็นมรดกวัฒนธรรมของคนไทยทั้งชาติที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าฯ
พระราชทานแก่ประชาชนทั้งประเทศไม่เจาะจงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
ท่าฤๅษีดัดตน
การฝึกลมหายใจ
ประโยชน์
ท่าฤๅษีดัดตนพื้นฐาน 15 ท่า