สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
เศรษฐศาสตร์สุขภาพ
เศรษฐศาสตร์
เป็นวิชาที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม
เกี่ยวกับการเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด
เพื่อผลิตสินค้าและบริการตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่ไม่มีขอบเขตจำกัด
เศรษฐศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 แขนง คือ เศรษฐศาสตร์จุลภาค
เป็นการศึกษาเศรษฐกิจหน่วยย่อย และ เศรษฐศาสตร์มหภาค
เป็นการศึกษาเศรษฐกิจส่วนรวม ซึ่งทั้ง 2 แขนงมีความสัมพันธ์กัน และ นอกจากนี้
เศรษฐศาสตร์ยังมีความสัมพันธ์กับวิชาอื่น ๆ เช่น บริหารธุรกิจ รัฐศาสตร์
นิติศาสตร์ และจิตวิทยา เป็นต้น
อุปสงค์ คือ จำนวนสินค้าและบริการที่ผู้ซื้อต้องการซื้อ ณ
ระดับราคาต่าง ๆ หรือ ณ ระดับรายได้ต่าง ๆ หรือ ณ
ระดับราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยปกติจะให้ความสำคัญกับเรื่องระดับราคามากที่สุด
และเมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงไป
จำนวนซื้อสินค้าและบริการชนิดนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันข้ามเสมอ
โดยเส้นอุปสงค์สามารถสร้างได้จากข้อมูล ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคา
และปริมาณซื้อ โดยปกติเส้นอุปสงค์จะเป็นเส้นทอดลงจากซ้ายไปขวา
เส้นอุปสงค์สามารถเปลี่ยนแปลงไปทั้งเส้น
โดยอยู่ทางขวามือหรือทางซ้ายมือของเส้นเดิมก็ได้
ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปสงค์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ราคา
ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่ทำให้จำนวนซื้อมากขึ้นหรือน้อยลง
อุปทาน คือ จำนวนสินค้าและบริการที่ผู้ขายต้องการขาย ณ
ระดับราคาต่าง ๆ
ซึ่งจำนวนขายจะเปลี่ยนแปลงในทางเดียวกันกับราคาที่เปลี่ยนแปลงไป
ดังนั้นเส้นอุปทานซึ่งเป็นเส้นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคาและจำนวนขาย
จึงเป็นเส้นทอดขึ้นจากซ้ายไปขวา
เส้นอุปทานสามารถเปลี่ยนแปลงไปทางซ้ายมือหรือขวามือของเส้นเดิมได้
ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปทานอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ราคา
ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่จะทำให้จำนวนขายมากขึ้นหรือน้อยลง
ราคาดุลยภาพ เป็นราคาที่ทำให้จำนวนเสนอซื้อ (อุปสงค์)
เท่ากับจำนวนเสนอขาย (อุปทาน) ราคาใด ๆ
ที่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพจะทำให้เกิดอุปสงค์ส่วนเกิน และราคาใด ๆ
ที่สูงกว่าราคาดุลยภาพจะทำให้เกิดอุปทานส่วนเกิน ราคาดังกล่าว
จะปรับเข้าสู่ราคาดุลยภาพและราคาจะไม่เปลี่ยนแปลง
นอกจากจะมีการเคลื่อนย้ายเส้นอุปสงค์ และ/หรืออุปทาน
ซึ่งอาจทำให้เกิดราคาดุลยภาพใหม่ และ/หรือปริมาณดุลยภาพใหม่สูงขึ้นหรือลดลง
โดยปกติรัฐบาลจะปล่อยให้กลไกราคาทำงานไปตามลำพัง
โดยไม่เข้าไปควบคุมราคา
ยกเว้นในกรณีที่จำเป็นซึ่งกลไกราคาไม่สามารถปรับตัวได้ทัน
มาตรการที่ใช้รัฐบาลจะเข้าแทรกแซงกลไกของราคาในตลาด
เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมมี 2 มาตรการ คือ
การกำหนดราคาขั้นต่ำ (การประกันราคา)
ซึ่งจะกระทำเพื่อยกระดับราคาของสินค้าที่เป็นอยู่ให้สูงขึ้น
โดยเฉพาะสินค้ารายการที่สำคัญ เป็นการช่วยเหลือผู้ผลิตหรือผู้ขาย
อีกมาตรการก็คือ การกำหนดราคาขั้นสูง
เป็นมาตรการที่ใช้กำหนดราคาสินค้าไม่ให้สูงเกินเพดาน
จะใช้ในระหว่างเกิดขาดแคลนสินค้า
ซึ่งการขาดแคลนสินค้าทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนผู้บริโภคเดือดร้อน
การผลิต
เป็นกระบวนการแปรรูปปัจจัยการผลิตให้เป็นสินค้าและบริการ
การนำวิชาเศรษฐศาสตร์มาใช้ประโยชน์ในด้านสุขภาพ
ความหมายของสุขภาพ (Health)