ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>

ภูมิปัญญาไทยกับทัศนศิลป์

สาขาวิชา สังคมศึกษาและศิลปะ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
แนวทางการวิจารณ์ผลงานทัศนศิลป์
หลักที่จะให้คำวิจารณ์แก่ศิลปกรรม
ศิลปะและปรัชญา
สุนทรียศาสตร์ (aesthetics)
ทฤษฎีศิลป์

ทฤษฎีศิลป์

ทฤษฎีศิลป์ หมายถึง คำตอบต่อคำถามในเชิงปรัชญาที่ว่าศิลปะคืออะไร ซึ่งผู้สอนขอกล่าวเพียง 5 ทฤษฎี คือ

  1. ทฤษฎีการเลียนแบบ มีนักปรัชญาที่สำคัญ 2 คนคือ
    พลาโต กล่าวว่า ศิลปะคือการเรียนแบบ รูปทรงในอุดมคติถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สูงสุด รองลงไปคือ คือ วัตถุที่เป็นจริง และงานศิลปะซึ่งไม่ใช่ของจริง
    อริสโตเติล กล่าวว่า ศิลปะคือการจำลองแบบ ตามแนวคิดนี้ กล่าวว่าศิลปินเป็นผู้มีความสามารถในการจำลองแบบบนผ้าใบจนภาพนั้นราวจับต้องได้ประดุจจริง
  2. ทฤษฎีการแสดงออก ผู้ประกาศทฤษฎีนี้คือโรเบิร์ต จี คอลลิงวู๊ด
    สาระสำคัญของปรัชญานี้คือ ศิลปะ คือ การแสดงออกซึ่งอารมณ์ความรู้สึก จินตนาการของศิลปิน
    สามารถแบ่งผลงานได้สองประเภท คือ
    - งานฝีมือ Craft คือ ใช้แต่ฝีมือความสามารถเชิงช่างแต่ไม่ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกออกมาในงาน
    - งานศิลปะแท้ Art proper ศิลปินต้องแสดงออกทั้งอารมณ์ความรู้สึกและใช้ฝีมือสื่อออกมาในผลงาน
  3. ทฤษฎีการหนี
    สาระสำคัญของทฤษฎีนี้ กล่าวว่า โลกแห่งความเป็นจริงนั้น เจ็บปวด ไม่น่าอยู่ดังนั้นศิลปินจึงใช้ศิลปะเป็นพาหะพาดวงจิตของเขาหนีไปสู่โลกแห่งความฝัน ซิกมันด์ ฟรอยด์ ได้ตั้งทฤษฎีว่า ศิลปะ คือ การสนองตอบความปรารถนาของศิลปินสาระ สำคัญในข้อเขียนของซิกมันด์ ฟรอยด์ มีดังต่อไปนี้
    - มนุษย์ทุกคนต้องมีความอยากและจะต้องหาวิธีสนองตอบความอยาก
    - ในกรณีที่ศิลปินสร้างงานความอยากกลายเป็นแรงผลักดัน
    - คนที่ฝันเฟื่องหรือฝันกลางวัน มีความอยากมีจินตนาการแต่ปล่อยให้ความคิดฟุ้งกระจายไม่ได้สร้างสิ่งที่เกิดประโยชน์อย่างเช่น ศิลปินในงานศิลปะเหนือจริงหลายชิ้น เราจะเห็นเนื้อหาของของสภาพแวดล้อมที่น่ากลัว เช่น แผ่นดินที่มีทิวทัศน์แปลกๆเมืองร้างบรรยากาศเวิ้งว้าง ถ้าจะถามว่างานเหล่านี้ จิตรกรเขียนภาพดังกล่าวเพราะเขาอยากอยู่หรือไม่ เป็นเพราะว่าศิลปินกลัวว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นจริงในอนาคตอยากที่จะหนีจากสภาพที่น่ากลัวที่ศิลปินเก็บกดไม่อยากเข้าไปอยู่

     
  4. ทฤษฎีรูปทรง ในการสร้างสรรค์ศิลปะรูปทรงที่มีความงามสิ่งที่จำเป็นมากเพราะถ้าไม่มีรูปทรงดังกล่าว สิ่งที่เป็นหัวใจของศิลปะที่จะสื่อถึงผู้ชมไม่ได้ ไคลฟ์ เบลล์ กล่าวไว้ว่า ในการสร้างสรรค์งานเป็นรูปทรงที่มีความงามหรือมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ เบลล์ยอมรับว่าความรู้สึกที่เป็นปัจจัยสำคัญมาก เพราะจะเป็นสื่อที่นำความคิด เนื้อหา เรื่องราวหรือความหมายสัญลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่งไปสู่ผู้ชม
    ซูซาน แลงเกอร์ มีความคิดที่ต่างจาก เบลล์ ดังนี้ในข้อเขียนเธอได้กล่าวว่า รูปทรงชนิดต่างๆ ที่ในศิลปะแขนงต่างๆ เช่น ในงานวรรณกรรมหรือ รูปทรง หมายถึงโครงเรื่องงานศิลปะจะมีค่าก็ต่อ เมื่อรูปทรงได้สื่อสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ความรู้สึกไปสู่ผู้ชม
  5. ทฤษฎีสถาบัน อาร์เธอร์ ดานโต ได้กล่าวไว้ว่า มติความคิดความเชื่อเกี่ยวกับปัญหาทางสุนทรียศาสตร์ ศิลปะจำเป็นต้องมีสถาบันที่จะช่วยหาข้อยุติตัดสินและสถาบันดังกล่าว ก็คือ โลกศิลปะจากข้อเขียนของ ดานโต นี้เองทำให้ ยอร์ช ดิคกี้ ได้ตั้งทฤษฎีสถาบันขึ้นมีสาระว่า ศิลปะ คือ สิ่งใดก็ตามที่โลกศิลปะยอมรับว่าเป็นงานศิลปะโดยนัยนี้ผลงานศิลปะไม่จำเป็นต้องสร้างขึ้นเองแต่ศิลปินอาจไปหยิบจับหา ก้อนหิน ท่อนไม้ วัตถุรูปร่างแปลกๆ มานำเสนอเป็นงานศิลปะก็ได้ ถ้ามีแนวความคิดเหตุผลหลักปรัชญาเพียงพอ และต้องได้รับการยอมรับในโลกศิลปะ

บรรณานุกรม

  • ข้อความบางส่วนอ้างอิงจาก เอกสารประกอบการเรียนวิชาสุนทรียศาสตร์เบื้องต้น โดย รศ.ดร.ไพโรจน์ ชะมุนี คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • บทความบางส่วนอ้างอิงจาก หนังสือ ศิลปะวิชาการ ของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี , กรุงเทพ พิมพ์ครั้งที่1 2546
  • บทความบางส่วนอ้างอิงจาก หนังสือ ทัศนศิลป์ปริทัศน์ ของ ผศ.ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์ , กรุงเทพ พิมพ์ครั้งที่1 2546

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย