ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
หน้าที่ของพระสงฆ์ตามพระธรรมวินัย
เมื่อพิจารณาตามความในพระไตรปิฎก พบว่าเครื่องมือที่จะพิสูจน์ความบริสุทธิ์แห่งสงฆ์มีอยู่ 2 ส่วน
- หลักพระธรรมวินัย ซึ่งเป็นหลักการใหญ่ เป็นแม่แบบที่พระสงฆ์จะพึงปฎิบัติทั้งในส่วนการศึกษาธรรม การปฏิบัติธรรม การเผยแผ่ธรรม และการรักษาธรรม
- หลักจตุปาริสุทธิศีล และหลักการพิจารณาตามเหตุผลตามความเหมาะสมคือ หลักให้พิจารณาโดยเทียบเคียง ตรวจสอบ
ถ้าเพ่งในแง่ประโยชน์ส่วนที่ว่าด้วยข้อธรรมทั้งหลายนั้น มุ่งเน้นเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่นเป็นส่วนใหญ่ คือ เมื่อพระสงฆ์ดำรงชีพด้วยการอาศัยก้อนข้าวชาวบ้านแล้ว พระสงฆ์ย่อมจะอำนวยประโยชน์ให้แก่ชาวบ้านเป็นการตอบแทน ด้วยการประพฤติปฏิบัติธรรมเป็นแบบอย่าง และเสนอแนะให้แนวทางในการดำเนินชีวิตแก่บุคคล ชุมชน ข้อธรรมจึงเป็นประโยชน์ภายนอก (แก่สังคม)
สำหรับส่วนที่ว่าด้วยข้อศีลทั้งหลายนั้น
มุ่งเน้นเพื่อโดยตรงสำหรับฝึกหัดขัดเกลาพระสงฆ์โดยเฉพาะ
และเป็นขีดขั้นหรือพรหมแดนที่จะขีดลงไปว่า
พระสงฆ์มีกรอบสำหรับความเป็นสงฆ์ซึ่งแตกต่างจากคฤหัสถ์ เพราะตนอยู่ในฐานะพิเศษ
ครองศรัทธาของชาวบ้านอยู่ เมื่อประพฤติล่วงศีลก็ทำให้ความเป็นสงฆ์ด่างพร้อย
และผิดศีลขั้นสูงสุดคือขาดจากความเป็นสงฆ์ หรือหมดสภาพความเป็นสงฆ์
อยู่ร่วมในสังฆกรรมหรือสังคมเดียวกันไม่ได้ ข้อศีลจึงเป็นประโยชน์ภายใน (แก่ตนเอง)
» หน้าที่ของพระสงฆ์ตามพระธรรมวินัย
» บทบาททางการเมืองของพระสงฆ์ในประวัติศาสตร์
» บทบาทพระสงฆ์ในประวัติศาสตร์ไทย
» เจ้าพระฝาง พระมหาเถราจารย์แห่งแผ่นดินสยาม
» สมเด็จพระพนรัตน วัดป่าแก้ว ต้นตำหรับพระสงฆ์กับการเมืองไทย
» พระอาจารย์ธรรมโชติ พระมหาเถระแห่งค่ายบ้านบางระจัน