วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
รำลึกถึงการทิ้งระเบิดปรมาณู
วันที่ 6 และวันที่ 9 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันที่ประชาชนทั่วโลก
ได้ร่วมกันรำลึกถึงมหันตภัยของ ระเบิดปรมาณูและภัยจากการสงครามด้วยความสลดใจ
เพราะเป็นวันครบรอบของเหตุการณ์การทิ้งระเบิด ปรมาณู ณ เมืองฮิโรชิมา
และเมืองนางาซากิ เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่สอง
สหรัฐอเมริกาได้จัดตั้งโครงการแมนฮัตตันขึ้นเพื่อทำการสร้างระเบิดปรมาณูเป็นการเฉพาะในวงเงิน
งบประมาณ 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีพลตรี เลสลี ร.กรูฟส์
เป็นหัวหน้าบังคับการและศาสตราจารย์ รอเบิร์ต จ.ออพเพนไฮเมอร์
เป็นหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ โดยมีสำนักงานใหญ่ ณ เมืองลอสอลามอส รัฐนิวเม็ก- ซิโก
และมีสถานที่ผลิตเชื้อเพลิงปรมาณู 2 แห่ง คือ เมืองโอ๊ก ริจก์ รัฐเทนเนสซี
และเมืองแฮนฟอร์ด รัฐวอชิงตัน ระเบิดปรมาณูลูกแรกของโลกคือ ระเบิดจุดทดลอง ณ
ทะเลทรายนิวเม็กซิโก ในเวลาเช้าตรู่ของวันที่ 16 กรกฎาคม 2488
ระเบิดปรมาณูที่ใช้ระเบิด ณ เมืองฮิโรชิมา
สกัดจากเชื้อเพลิงปรมาณูยูเรเนียม -235 มีขนาดยาว 3 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.7 เมตร
และมีน้ำหนัก 4,400 กิโลกรัม ได้รับขนานนามว่า ไอ้ตัวเล็ก "Little Boy"
ขณะที่ระเบิดปรมาณูที่ใช้ระเบิด ณ เมืองนางาซากิ ทำจากพลูโทเนียม มีขนาดเทอะทะกว่า
คือยาว 3.5 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 เมตร หนัก 4,500 กิโลกรัม
จึงได้ชื่อว่าเจ้าอ้วน "Fat Man"
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาผู้ลงนามอนุมัติการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ทั้ง 2
ลูก คือ ประธานาธิบดีแฮรี เอช ทรูแมน นักบินผู้ทำการทิ้งระเบิด ณ เมืองฮิโรชิมา คือ
พันโทพอล ทิบเบทส์ ส่วนนักบินผู้ทิ้งระเบิดเมืองนางา- ซากิ คือ พันตรีชาร์ลส์
สวีนนีย์ ทั้งสองเป็นนักบินระดับผู้บังคับการของฝูงบินที่ 509 และมีฐานบิน ณ
เกาะไท- เนียน ซึ่งอยู่ห่างจากประเทศญี่ปุ่นไปทางทิศใต้ ประมาณ 2,400 กิโลเมตร
สำหรับเครื่องบินทิ้งระเบิดปรมาณูนั้น ใช้เครื่องบิน บี -29
ซึ่งมีสมรรถนะการบินสูงที่สุดขณะนั้น
วันที่ 6 สิงหาคม 2488 เวลา 8.15 น.
ระเบิดปรมาณู "Little Boy" ถูกจุดระเบิด ณ ตำแหน่งความสูง 580 เมตร
เหนือเมืองฮิโรชิมา (ทิ้ง จากเครื่องบินที่เพดานบินสูง 9,500 เมตร)
ในเวลาเสี้ยวของวินาที กระแสความร้อนที่ร้อนจัดประหนึ่งไฟประลัย
กัลป์พุ่งออกไปรอบทิศทาง ณ ตำแหน่ง ground zero ซึ่งได้แก่
พื้นใต้ดินจุดระเบิดอุณหภูมิขึ้นสูงถึง 4,000 องศาเซลเซียส และในอาณาบริเวณรัศมี 1
กิโลเมตร ความร้อนสูงขึ้นถึง 540 องศาเซลเซียส
ประชาชนที่โชคดีที่อยู่รัศมีเขตศูนย์กลางจะตายอย่างมีความสุขในทันทีโดยไม่รู้สึกตัว
ร่างกายจะ แปรสภาพเป็นเถ้าถ่านในชั่วพริบตาเดียว ผู้คนที่อยู่ห่างออกไป
จะได้รับผลกระทบจากกระแสความร้อน ทำให้บาดเจ็บทรมานอย่างมาก ผิวไหม้
เกรียมร้องหาน้ำเพื่อระบายความร้อน และ - -
อิทธิฤทธิ์อีกประการของระเบิดตามมาคือ "แรงระเบิด" ซึ่งเป็น shock wave
ความเร็วเบื้องต้นถึง 3.2 กิโลเมตรต่อวินาที
แรงระเบิดทำให้เมืองฮิโรชิมาทลายราบเป็นหน้ากลองทั้งเมือง ยังคงเหลืออาคารก่อสร้าง
อยู่เพียง 10 เปอร์เซ็นต์ ของที่มีเดิมเท่านั้น(แรงระเบิดจากระเบิดปรมาณูลูกนี้ =
T.N.T. 12.5 ตัน)
ต่อจากแรงระเบิดก็คือ อิทธิฤทธิ์ของรังสี
ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เกิดจากการจุดระเบิด ปรมาณู
โดยพบว่าในอาคารโรงพยาบาล ซึ่งไม่ถูกทำลายด้วยแรงระเบิดและความร้อนนั้น
ฟิล์มเอกซเรย์ทุกชิ้น ถูกรังสีทำให้ฟิล์มเสียไปจนหมดสิ้น ซึ่งแสดงว่า "รังสี"
ได้แผ่กระจายไปทั่วและกว้างไกลกว่ากระแสความร้อน และแรงระเบิด
ประชาชนล้มตายในครั้งนั้นรวมทั้งสิ้นกว่า 240,000 คน
ระเบิดปรมาณูที่เมืองนางาซากิ ถูกจุดระเบิดที่ตำแหน่ง 500 เมตร
เหนือพื้นดิน ณ เวลา 11.02 น. ของวันที่ 9 สิงหาคม 2488 ขนาดแรงระเบิดเท่ากับระเบิด
T.N.T. 22 กิโลตัน ซึ่งมากกว่าที่ฮิโรชิมา แต่ผลการ ทำลาย ณ
เมืองนางาซากิมีน้อยกว่าคือ ประชาชนล้มตาย 74,000 คน
ทั้งนี้เพราะสภาพภูมิศาสตร์ของเมือง เป็นเนินเขาสูง ๆ ต่ำ ๆ สลับกัน
และตัวเมืองขยายไปเป็นทางยาวมิใช่เป็นเมืองกว้างใหญ่อย่างฮิโรชิมา
ออพเพนไฮเมอร์ ในฐานะหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ผู้ผลิตระเบิดปรมาณู
มักกล่าวเสมอว่า "นักวิทยาศาสตร์ก็เป็นผู้มีชีวิตจิตใจ
การทำงานค้นคว้าสิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้อันได้แก่
ระเบิดปรมาณูเป็นผลงานทางวิชาการที่พวกเราภาคภูมิใจ
แต่เรารู้สึกเสมอว่าสองมือของเราชุ่มโชกด้วยเลือด และคราบน้ำตาตลอดเวลา
"
ความหมายของปรมาณู หรืออะตอม (atom)
รังสี (radiation)
พลังงานนิวเคลียร์ พลังงานปรมาณู
รำลึกถึงการทิ้งระเบิดปรมาณู
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
อุบัติเหตุ