ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

อรรถศาสตร์ของจาณักยะ

บทวิพากษ์อรรถศาสตร์

อรรถศาสตร์ถือเป็นศาสตร์แห่งการปกครอง โดยคนส่วนใหญ่จะมีความเชื่อกันว่าจาณักยะเป็นผู้เขียนงานชิ้นนี้เอง อันที่จริงแล้ว งานชิ้นนี้เป็นตำราการปกครองของชาวอารยันในชมพูทวีปที่มีมานานแล้ว จาณักยะเป็นเพียงผู้นำมาศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ความคิดและได้สรุปจากแนวทางงานเขียนเดิม จนเป็นที่น่าสนใจและกล่าวว่า “อรรถศาสตร์เป็นงานที่ควรศึกษาอย่างยิ่ง” กล่าวได้ว่าเป็นงานที่น่าศึกษาพอๆกับ The Prince งานเขียนของแมคเคียเวลลี

สำหรับตัวจาณักยะเองนั้น เป็นผู้หนึ่งที่มีความฉลาดหลักแหลมมาก ถ้าหากศึกษาจากประวัติและการกระทำของจาณักยะทั้งหมด ตั้งแต่แรกจนจบ โดยเฉพาะในขณะที่เป็นอำมาตย์คู่พระทัยของกษัตริย์จันทรคุปต์นั้น จะเห็นได้ว่า จากความสำเร็จและชัยชนะทั้งหมดของกษัตริย์

จันทรคุปต์เกิดจากคำแนะนำและการวางแผนที่แยบยลของจาณักยะทั้งสิ้น และถ้าหากได้ศึกษาจากหนังสือเรื่อง “จาณักยะ-ปราชญ์แห่งชมพูทวีป ผู้ประกาศหลักปฏิวัติและรัฐประศาสนศาสตร์”ที่ปัญจปาเกส ไอย์ยาร์ นักปราชญ์อักษรศาสตร์และเป็นหมอกฎหมายอังกฤษ ได้ประพันธ์ไว้ และได้นำมาเผยแพร่อีกครั้งหนึ่งโดยเสถียร พันธรังษี จะเห็นได้ว่าจาณักยะเป็นผู้ที่เก่งกล้าและมีความสามารถทางสติปัญญาสูงมาก กล่าวได้ว่างานชิ้นนี้เป็นงานสุดยอดของงานสายลับ(Spy) ที่มีการวางแผนที่ยอดเยี่ยม ความสำเร็จของกษัตริย์จันทรคุปต์จะไม่เกิดขึ้นหากไม่มีจาณักยะคอยช่วยเหลือ

ในด้านเนื้อหาของอรรถศาสตร์นั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นงานเขียนที่มีความยาวมากถึง 15 เล่ม แต่ในแต่ละเล่มก็ได้สรุปรวบรวม แบ่งแยกเนื้อหาครอบคลุมเป็นเรื่องๆไว้เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาและเข้าใจ และในเนื้อหาทั้งหมดก็จะเน้นในเรื่องศาสตร์แห่งการปกครองซึ่งก็หมายถึง การว่าด้วยบทลงโทษอันเหมาะสมของผู้ปกครองเพื่อความยุติธรรม โดยจะเน้นความสำคัญสูงสุดที่ กษัตริย์ ในฐานะผู้ปกครองรัฐและประชาชน เพราะถ้าหากกษัตริย์ดีแล้ว ย่อมส่งผลให้สิ่งอื่นๆดีตามไปด้วย



ความข้างต้นอาจมีข้อแย้งว่า เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วก็ย่อมมีข้อเสียเกิดขึ้นคือ หากให้ความ สำคัญที่สุดกับกษัตริย์มากเกินไปแล้ว หากกษัตริย์ไม่ดี ก็ย่อมส่งผลให้สิ่งอื่นๆไม่ดีตามไปด้วย

จากความคิดค้างต้น ก็อาจมีทางเป็นไปได้ แต่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าคนที่จะรับตำแหน่งเป็นกษัตริย์นั้นไม่ใช่เป็นกันง่ายๆแต่จะต้องผ่านกระบวนการต่างๆมากมาย โดยจะต้องมีการศึกษาด้านต่างๆจนชำนาญและจะต้องปฏิบัติตามระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด และยังต้องผ่านการคัดเลือกด้วย เพื่อที่ได้กษัตริย์ที่มีความสามารถมากที่สุดเพื่อที่จะสามารถเป็นปกครองและเป็นผู้นำของรัฐและประชาชน

งานเขียนนี้เปรียบเหมือนเพชรน้ำดีอีกเม็ดหนึ่งของงานเขียนทั้งหมด ที่ควรแก่การสรรหาและเก็บรักษาไว้ เป็นสิ่งที่มีค่าควรแก่การศึกษาอย่างยิ่ง แต่เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่งานเขียนชิ้นนี้ ไม่มีผู้ใดได้แปลเป็นภาษาไทยไว้เลย จึงเป็นการยากที่เราจะได้ศึกษาและอ่านจากต้นฉบับแท้จริงได้ ได้แต่เพียงตีความและสรุปเอาจากผู้รู้และนำมาถ่ายทอดกันเองเท่านั้น

» ประวัติของจาณักยะ

» ความหมายอรรถศาสตร์

» ศาสตร์ที่สำคัญในอรรถศาสตร์

» นโยบายต่างประเทศในอรรถศาสตร์

» การศึกษาของกษัตริย์

» ธรรมชาติของมนุษย์

» บทวิพากษ์อรรถศาสตร์

» บทสรุปของอรรถศาสตร์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย