ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
สุนทรภู่
(กวีเอกของโลก)
เกิด
วันจันทร์ เดือนแปด ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลาเช้า 2
โมง ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329
ในรัชกาลที่ 1
ตาย ปีเถาะ พ.ศ. 2398 ในรัชกาลที่ 4 อายุ 70 ปี
ที่เกิด กรุงเทพฯ
บิดา ชาวบ้านกล่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
มารดา
ไม่ทราบว่าเป็นชาวเมืองอะไร
วัยเด็กบิดามารดาหย่ากัน บิดาออกไปที่บ้านเดิม ได้รับการศึกษาที่วัดชีปะขาว
คือวัดศรีสุดาราม ในคลองบางกอกน้อย ประมาณอายุ 18 ปี
เข้ารับราชการเป็นเสมียนในกรมพระคลังสวน สุนทรภู่มีภรรยาหลายคน
ที่ปรากฎในบทประพันธ์ ชื่อจัน พลับ สร้อย มีบุตรชาย 2 คน ชื่อพัด และดาบ
สุนทรภู่ได้ลาออกจากเสมียน เดินทางท่องเที่ยวไปหลายวัด และได้กลับมากรุงเทพฯ
ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์บทละคร
เรื่องอิเหนาและรามเกียรติ์ และคงนึกถึงสุนทรภู่ เพราะเคยได้ยินชื่อเสียง
และเคยเห็นสำนวนกลอนมาก่อน ตาอมาภายหลังสุนทรภู่เริ่มเป็นคนโปรด
เมื่อแต่งกลอนตอนนางสีดาผูกคอตาย
สิ้นรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ถูกถอดออกจากตำแหน่ง จึงได้ออกบวชเป็นพระภิกษุ
หลังจากสึกแล้วจึงเข้าฝากตัวอยู่ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์
(พระปิ่นเกล้า) สุนทรภุ่จึงมีโอกาสเข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์
ในสมเด็จพระปิ่นเกล้าอยู่หัว มีบรรดาศักดิ์เป็นพระสุนทรโวหาร ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2398
รวมอายุได้ 70 ปี
สุนทรภู่ เป็นกวีไทยที่มีชื่อเสียงและความเป็นเอกในเชิงกลอน
ท่านได้รับเกียรติจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
โดยได้รับการยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลก ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม
หรือนัยหนึ่งเป็นกวีเอกของโลก เมื่อ พ.ศ. 2529
รัฐบาลไทยได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการโครงการฉลอง 200 ปี กวีเอกสุนทรภู่ขึ้น
นับว่าท่านเป็นกวีสามัญคนเดียวที่ได้รับการสดุดียกย่องอย่างสูง
ผลงานของสุนทรภู่มีอยู่ 9 เรื่องด้วยกัน คือ นิราศเมืองแกลง นิราศพระบาท
นิราศภูเขาทอง นิราศเมืองสุพรรณ นิราศวัดเจ้าฟ้า นิราศอิเหนา นิราศพระประธม
นิราศเมืองเพชรบุรี และรวมลำพันพิลาบ นิทาน 5 เรื่อง สุภาษิต 3 เรื่อง บทละคร 1
เรื่อง เสภา 2 เรื่อง และบทเห่กล่อม 4 เรื่อง