ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

หอพระไตร

ธรรมบรรยายของ หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ

สมมุติและสังขารเป็นของคู่กัน

          ตัวสมมุติและสังขารเป็นของคู่กันทำงานร่วมกัน จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ได้เลย จึงเรียกว่าสังขารการปรุงแต่งโดยสมมุติ ถ้าไม่มีสมมุติสังขารจะปรุง แต่งอะไรไม่ได้ หรือมีสมมุติเพียงอย่างเดียว ไม่มีสังขารการปรุงแต่ง สมมุติก็มี อยู่โดยธรรมชาติในตัวมันเอง เหมือนกับแม่ครัวถึงจะมีฝีมือดีในการปรุงอาหาร ถ้าไม่มีอุปกรณ์เครื่องปรุงและไม่มีอาหารที่จะมาประกอบในการทำแล้ว แม่ครัวก็ ทำอะไรไม่ได้ หรือมีเครื่องปรุงอาหารอยู่พร้อมแล้ว แต่ไม่มีแม่ครัวที่มา ประกอบอาหาร ความสำเร็จในอาหารจะไม่เกิดขึ้นแต่อย่างใด นี้ฉันใด สมมุติ และสังขารทั้งสองอย่างนี้เป็นของคู่กันทำงานร่วมกัน มีกามตัณหาเป็นกำลัง สนับสนุนอยู่ตลอดเวลา จะปรุงแต่งในสมมุติอะไรเรื่องไหน ตัณหา จะเป็นตัว กำหนดเรื่องให้ปรุงแต่งเอง กิเลสจะเป็นตัวสื่อสารความสัมพันธ์อยู่ที่ใจอย่างแนบ แน่น เป็นพี่เลี้ยงให้แก่ใจอยู่ตลอดเวลา ว่าใจมีความต้องการในเรื่องใด ก็จะ สมมุติเรื่องที่ใจชอบออกมาเป็นฉาก ๆ ความอยากของตัณหาก็ออกทำงานได้ทันที
       แต่ละเรื่องจะมีความเกี่ยวเนื่องอยู่ในกามคุณทั้งนั้น เฉพาะรูป เป็นอันดับหนึ่งที่ จะนำมาเป็นพระเอกนางเอก ชูโรงมากที่สุด เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็น ตัวแสดงประกอบฉาก หรือเรียกว่าเป็นตัวสำรองในการเปลี่ยนรสชาติในความสุข ทางใจ หลักใหญ่จะเอารูปมาเป็นตัวสมมุติ เรียกว่า สังขารการปรุงแต่งในรูป สมมุตินี้อย่างสุดตัว มีความเห็นอย่างไรก็ปรุงเอง แต่งเองเอาเสียทั้งหมด รูปจะ สวยงามอย่างไร จะใช้เครื่องสำอางอะไรชนิดไหนก็นำมาประดับประดาตกแต่ง อย่างเต็มที่ ในที่สุดใจก็หลงใหลไปตามสมมุติเสียเอง สังขารและสมมุติ ทั้งสองนี้จึงเป็นเรื่องใหญ่ในการที่จะต้องแก้ไข เหมือน กับไฟไหม้ป่าผืนขนาดใหญ่ ถ้าไฟได้ติดเชื้อแล้วจึงยากที่จะดับลงได้ จะลุกลาม ตามเชื้อของไฟนั้นไปไม่มีขอบเขตไม่มีประมาณ ไฟจะลุกแรงบ้างค่อยบ้างตาม เชื้อของไฟที่มีอยู่ ตราบใดเชื้อของไฟยังมี ไฟก็จะไหม้ต่อไปไม่มีท่าทีจะดับลง ได้เลย นี้ฉันใด เมื่อใจยังหลงใหลอยู่ในสมมุติสังขาร กิเลสตัณหาก็จะเกิดเป็น ไฟเผาใจให้เร่าร้อนอยู่ตลอดเวลา ราคัคคินา ไฟคือราคะที่รับเชื้อมาจากสมมุติ สังขาร ก็จะเกิดความรักความชอบใจในกามคุณอยู่เรื่อยไป ไฟของราคะมาผสม ใจ จึงได้กำเริบไปตามความกำหนัดยินดีในกามคุณจนลืมตัว โทสัคคินา ไฟคือ โทสะ ความโกรธก็จะเกิดขึ้นในสิ่งที่ไม่ชอบใจ สิ่งใดคนอื่นทำไปไม่ถูกใจหรือ คนอื่นพูดที่ไม่ถูกใจก็จะเกิดเป็นไฟเผาใจให้เร่าร้อน กินไม่ได้นอนไม่หลับ จนเกิดการทะเลาะวิวาทฆ่ากันตีกันเจ็บป่วยล้มตายกันไป หรือเกิดการอาฆาต พยาบาทจองเวรต่อกันไป โมหัคคินา ไฟคือความหลง คำว่าหลงในที่นี้หมายถึง ความหลงผิดในหลักความเป็นจริง ความจริงเป็นอย่างหนึ่ง แต่มาเข้าใจว่า เป็น อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ตรงต่อความเป็นจริง สิ่งนั้นเป็นของที่ไม่เที่ยง แต่มาหลงว่า เป็นของเที่ยง สิ่งที่เป็นทุกข์ก็มาเข้าใจว่าเป็นสุข สิ่งที่เป็นอนัตตาก็มาเข้าใจว่า เป็นอัตตาตัวตน เมื่อสิ่งเหล่านี้ไม่เป็นไปตามที่เราเข้าใจจึงได้เกิดเป็นไฟเผาตัวเองสังขาร การปรุงแต่งในสิ่งใดก็เป็นได้ชั่วขณะ เมื่อถึงกาลเวลา สิ่งที่เราปรุงแต่งก็ เป็นไปในความจริงในตัวของมันเอง การปรุงแต่งให้ถูกใจตัวเองก็จะเป็นไปตามกิเลสตัณหา และปรุงแต่งไปตาม วัยและเหตุปัจจัยในการปรุงแต่งก็ต่างกัน เช่น วัยหนุ่มวัยสาว จะหาเอาเครื่อง ประดับประดาเครื่องย้อมเครื่องทา นำมาประกอบซากศพเคลื่อนที่ก็พอจะดูกันได้ เมื่อถึงวัยตะวันจวนจะลับแสง จะปรุงแต่งให้ถูกใจตัวเองด้วยวิธีใดก็ไม่สวยอยู่นั่น เอง สังขารการปรุงแต่งเป็นร้านเสริมสวยที่กิเลสตัณหาได้สร้างขึ้นมาหลอกใจโดยตรง
          การเสริมแต่งในสิ่งใดอยู่บ่อย ๆ ก็จะเป็นการปกปิดความจริง ยากที่สติ ปัญญาจะเจาะลึกให้ถึงและรู้เห็นความเป็นจริงได้ เหมือนหีบศพที่ประดับด้วย ดอกไม้ต่าง ๆ อย่างสวยงาม ดูภายนอกมีแสงสีอย่างสวยหรู ถ้าเปิดดูภายในแล้วจะ รู้เห็นเป็นซากศพที่สกปรกโสโครก ไม่มีใครที่อยากจะนอนกอดดมอยู่กับซากศพ นั้นเลย นี้ฉันใด สังขารการปรุงแต่งในสมมุติก็ฉันนั้น ผู้มีความคิดความเห็น เป็นไปไนทางที่ต่ำ ก็จะทำให้ใจเกิดความเห็นผิดเข้าใจผิดในสมมุตินี้เป็นอย่าง มากทีเดียว สิ่งทั้งหมดนั้นเป็นธรรมชาติของเขาแต่ก็ไปสมมุติว่าเป็นตัวเรา และ สมมุติว่าสิ่งนั้นเป็นของของเรา ใจจึงได้เกิดความหลงไม่รู้จริงเห็นจริงของสมมุติ จึงเรียกว่า อวิชชา คือ ความไม่รู้จริงเห็นจริง จึงได้เกิดความเห็นผิดในความเป็น จริงต่อไป จึงเรียกว่าโมหะ เมื่อไม่รู้เห็นตามความเป็นจริงและหลงในความเป็น จริงอยู่อย่างนี้ จึงมีช่องว่างเปิดทางให้แก่กิเลสตัณหาได้ทำงานได้อย่างเต็มที่ จะ ปรุงแต่งอย่างไรเพื่อให้ใจเกิดความเห็นผิด จะคิดในสมมุติอย่างไรเพื่อให้ใจเกิด ความไขว้เขว เพื่อหันเหให้ใจเกิดความเข้าใจผิดได้กิเลสก็ต้องปรุงแต่งไป ใจเกิด ความเคยชินจึงกลายเป็นเรื่องธรรมดาไป ฉะนั้น การแก้ความไม่รู้เห็นตามความเป็นจริงของใจ และความหลงใน สมมุติภายในใจจึงเป็นเรื่องใหญ่ในการปฏิบัติธรรม สังขารการปรุงแต่งจึงเป็นแนวความคิดของกิเลสตัณหาจะคิดปรุงแต่งในสมมุติอะไร ใจก็หลงในสมมุตินั้น ๆ
          กิเลสมีความฉลาดและมีไหวพริบในเชิงคิดปรุงแต่งได้เป็นอย่างดี คิดอย่างมี หลักการและวิธีการอย่างหยดย้อยทีเดียว ใจที่มีความโง่เขลาไม่มีสติปัญญาอยู่ใน ตัวจะถูกกิเลสเอาสิ่งที่ปลอมแปลงมาหลอก ทำให้เกิดความเข้าใจผิดหลงผิดอย่าง ตายใจ จึงได้เป็นแนวร่วมอยู่กับกิเลสตัณหามาจนถึงปัจจุบัน คำสอนของพระ พุทธเจ้า พระองค์ได้วางหลักการในวิธีแก้ปัญหาไว้แล้วเป็นอย่างดี แต่เราไม่ยอม ฝึกปัญญาเลือกเฟ้นหาหมวดธรรมมาปฏิบัติ ให้ตรงกับประเด็นของปัญหาได้ เมื่อปัญหาเกิดขึ้นจากความคิดความเห็น แต่เราไปปฏิบัติในวิธีหลบปัญหา ไม่ กล้าจะเผชิญต่อหลักความเป็นจริง มีแต่หลบนิ่งอยู่ในความสงบตลอดเวลา ถ้า ภาวนาปฏิบัติด้วยวิธีอย่างนี้จะแก้ปัญหาของใจไม่ได้เลย เมื่อปัญหาเกิดจากความ คิด เราก็ต้องฝึกความคิดมาหักล้างกันเอง เมื่อปัญหาเกิดขึ้นจากความเห็นผิด ก็ ต้องฝึกความเห็นถูกมาหักล้างเช่นกัน ความคิดของกิเลสสังขารการปรุงแต่งในสิ่ง ต่าง ๆ นำมาหลอกใจได้ แต่ทำไมความคิดของสติปัญญาจึงไม่เอามาสอนใจตัว เอง ไม่ควรปล่อยให้กิเลสส่งข้อมูลที่ไม่ถูกต้องสอนใจเพียงฝ่ายเดียว เราฝึกสติ ปัญญาหาข้อธรรมที่เป็นจริงสอนใจอยู่เสมอ เมื่อใจได้รับข้อมูลที่ถูกต้องตาม ความเป็นจริงเมื่อไร ใจก็จะเปลี่ยนแปลงจากความเห็นผิดแล้วเกิดความเห็นที่ถูก ต้องชอบธรรมได้ ฉะนั้น การปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในความเห็นจึงเป็นสิ่งสำคัญ ยิ่ง ถ้าไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความเห็นผิดให้เกิดความเห็นถูกได้ จะไม่เกิดเป็น สัมมาปฏิบัติแต่อย่างใด ใจก็จะเป็นไปในสังขารการปรุงแต่งในสมมุติตลอดไป ตามปกติใจจะมีพื้นฐานในความฉลาดอยู่แล้ว แต่ขาดสติปัญญาให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจนเท่านั้น การให้ข้อมูลที่เป็นจริงแก่ใจมิใช่ว่ารู้ตามตำราเท่านั้น ความรู้นี้ เป็นทฤษฎีภาคการศึกษา ใครศึกษามากก็รู้มาก ใครศึกษาน้อยก็รู้น้อย แต่จะเอาความรู้นี้ไปละอาสวกิเลสให้หมดไปจากใจไม่ได้เลย เหมือนกับศัสตราวุธที่ตำรวจ ทหารมีไว้เพื่อป้องกันตัว หรือมีไว้สำหรับต่อสู้กับศัตรูคู่อริที่มารุกราน
       ถ้าศัตรูได้อาวุธจากตำรวจทหารไปแล้วก็แพ้ได้ทันที นี้ฉันใด ธรรมะของพระพุทธเจ้าที่ ตรัสไว้ดีแล้ว สำหรับประหารกิเลสตัณหาอาสวะน้อยใหญ่ให้หมดไปจากใจโดย ตรง ถ้าศึกษาธรรมะมาดีแล้วแต่ไม่มีปัญญาที่รักษา กิเลสที่แฝงอยู่ในมานะอัตตา ก็จะลอบลักเอาธรรมะไปครอบครองเสียเอง มีแต่จะคุยโม้โอ้อวดว่าเรามีความรู้ ธรรมะดีเท่านั้น จะเกิดความหลงลืมตัวไปว่าเรียนจบอย่างนั้นมาอย่างนี้มา เอา ความรู้ไปข่มผู้อื่นโดยวิธีต่างๆ ดังได้เห็นอยู่ในที่ทั่วไป ถ้าเป็นปืนก็ไม่มีลูก ถึง จะมีลูกก็ด้านไปเสียใช้ไม่ได้เลย ถ้าเป็นคัมภีร์ก็เป็นคัมภีร์เปล่า เหมือนพระโปฐิ ละได้แบกอยู่ในสมัยนั้น ฉะนั้น การรู้ธรรมะถ้าไม่มีปัญญาเป็นองค์ประกอบแล้ว จึงยากที่จะเลือกเฟ้นเอาธรรมะมาปฏิบัติให้ถูกต้องกับนิสัยตัวเองได้ ถึงจะเอา ธรรมะหมวดไหนมาปฏิบัติก็ย่อมทำได้ ส่วนผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัตินั้นจะ ออกมาเป็นอย่างไร ให้ผู้ปฏิบัติได้สังเกตดูใจของตัวเองก็แล้วกัน ความคิดที่เป็นปัญญา กับความคิดที่เป็นสังขาร จะแตกต่างกันในความ หมายอย่างเห็นได้ชัดทีเดียว เช่น รูปเพียงอย่างเดียวก็ใช้ความหมายไม่เหมือน กัน ถ้าคิดไปตามสังขารจะเป็นไปในลักษณะแห่งความสวยงาม น่ารักใคร่พอใจ ให้เป็นไปในกามคุณ
           ถ้าคิดให้เป็นไปทางปัญญาจะคิดตรงข้ามกันว่า รูปนี้เป็นสิ่ง สกปรกโสโครกไม่มีความสวยงามตามโมฆบุรุษโมฆสตรีที่เข้าใจกัน ที่เกิดของรูป ก็เกิดจากสิ่งสกปรก จะอยู่ในท้องแม่ก็ล้วนแต่เป็นสิ่งสกปรกกันทั้งนั้น ธาตุสี่จะ อยู่ได้ก็อาศัยสิ่งที่สกปรกคืออาหารมาค้ำจุนเอาไว้ อาหารที่เคี้ยวอยู่ในปากก็เป็นสิ่ง สกปรก อาหารย้อยไปไหลซึมออกมาตามขุมขน ไหลออกมาทางตา ไหลออก มาทางหู ไหลออกมาทางจมูก และออกมาทางทวารหนักทวารเบาล้วนแล้วแต่ เป็นของสกปรกทั้งสิ้น ถ้าคิดในลักษณะนี้เป็นปัญญา ถ้าคิดในรูปนี้ให้เป็นไปตาม อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรียกว่าคิดในทางปัญญาเช่นกัน ยังไม่ถึงขั้นใน การเจริญวิปัสสนา การคิดในปัญญาและการเจริญวิปัสสนาก็เป็นเรื่องเดียวกัน จะต่างกันเพียงหยาบละเอียดเท่านั้น ถ้าคิดพิจารณาธรรมดาเรียกว่าคิดในขั้น ปัญญา คิดในขั้นปัญญาอยู่บ่อย ๆ จนใจรู้เห็นเป็นไปตามความเป็นจริงได้ จึง เรียกว่าการเจริญวิปัสสนา เมื่อเจริญวิปัสสนามีความรู้เห็นชัดเจนจนเกิดความ แยบคายและหายสงสัยไปได้ ความเข้าใจผิดความเห็นผิดความยึดมั่นถือมั่นไม่มี ในใจ นิพพิทา ความเบื่อหน่ายย่อมเกิดขึ้นที่ใจ ในลักษณะนี้เรียกว่า วิปัสสนา ญาณ ความคิดและปัญญาของคนเรามีอยู่แล้ว เราจะเอาความคิดที่เป็นปัญญามา พิจารณาตามหลักความเป็นจริงหรือไม่ หรือจะคิดไปตามกระแสของโลกให้ใจได้ เกิดความหลงต่อไป ใจมีลักษณะไหวตัวไปได้ตามความคิดนั้น ๆ ถ้าคิดในทางโลกใจก็จะมีความผูกพันยินดีอยู่ในทางโลก ถ้าคิดในทางธรรมคือความเป็นจริง ตามไตรลักษณ์อยู่บ่อย ๆ ใจก็จะค่อยตามรู้เห็นในหลักความเป็นจริง
           ในความไม่ เที่ยง รู้เห็นตามความเป็นจริงแห่งความทุกข์กายและทุกข์ใจ และรู้เห็นตามความ เป็นจริงในเหตุให้เกิดทุกข์คือตัวสมุทัยด้วย ถ้าคิดพิจารณาในอนัตตาคือสิ่งที่สูญ สลายไปอยู่บ่อย ๆ ใจก็จะค่อยรู้เห็นตามหลักความเป็นจริงนี้ได้อย่างชัดเจน ฉะนั้นจงฝึกคิดทางปัญญาในทางธรรมให้มากที่สุด เพื่อจะเอาความคิดที่เป็น ปัญญาทางธรรม ไปลบล้างแนวความคิดปัญญาทางโลกให้ได้ ความคิดทาง ปัญญาและความคิดของกิเลสตัณหาฝ่ายไหนที่ถูกต้องตามหลักความเป็นจริง และ คิดพิจารณาได้อย่างละเอียดพร้อมทั้งเหตุและผล ใจก็จะเกิดความเห็นคล้อยตาม ไปในความคิดฝ่ายนั้น ๆ ถ้าจะว่าสงครามก็เป็นสงครามแห่งความคิด เพื่อเปิดให้ ใจได้รู้เห็นและตัดสินใจได้ด้วยเหตุผล ถ้าความคิดฝ่ายกิเลสตัณหามีน้ำหนักดีกว่า ก็เอาชนะความคิดปัญญาในทางธรรมไปได้ ถ้าความคิดทางปัญญาพิจารณามีความชัดเจนถูกต้องพร้อมด้วยเหตุและผล ก็เอาชนะความคิดของกิเลสตัณหาไป ได้ ดูซิว่าความคิดของกิเลสและความคิดของปัญญาในทางธรรมฝ่ายไหนจะแน่ กว่ากัน แต่คิดว่าความคิดของกิเลสตัณหาจะเป็นต่ออยู่หลายช่วงตัวทีเดียว เพราะในยุคนี้ผู้ปฏิบัติไม่ยอมฝึกปัญญากันเลย อยากรู้ธรรมหมวดไหน ความจริงในเรื่องอะไรก็ไปเปิดอ่านในตำรา จึงได้แพ้แก่กิเลสตัณหาตลอดไป เมื่อ ไรเราจะฝึกสติปัญญาเพื่อชนะความคิดของกิเลสตัณหาได้บ้าง
        แต่ละวันเดือนปีมี แต่แพ้กิเลสตัณหาอยู่ตลอดเวลา นี้ก็เพราะใจไม่มีปัญญาที่รอบรู้ตามความเป็นจริง มีแต่หลงความเท็จหลอกลวงของกิเลสตัณหาอยู่ตลอดเวลา ใจจึงเกิดความเห็นผิด เข้าใจผิดอยู่เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และจะมีความเห็นผิดเข้าใจผิดต่อไปไม่มีสิ้นสุด ลงได้ ในช่วงนี้เรามีครูอาจารย์ที่ฉลาดรอบรู้ในหลักสัจธรรม มีความสามารถ พร้อมที่จะเป็นผู้นำในการปฏิบัติอยู่แล้ว แต่ผู้จะปฏิบัติตามยังมีความประมาทมัว เมาในทางโลกมากเกินไป ให้ความสำคัญในทางโลกมากกว่าทางธรรม ถึงจะมี การปฏิบัติอยู่บ้าง ก็ทำไปพอเป็นพิธีเท่านั้น

» เหตุให้เกิดทุกข์

» นิสัยของมนุษย์

» มนุษย์มี 4 ประเภท

» โลกมนุษย์เป็นสถานที่สร้างกรรม

» การเวียนว่ายตายเกิดเนื่องจากตัณหา

» อย่ายึดมั่นถือมั่น

» เรียนรู้ในตำราและรู้จริงจากปัญญา

» ฝึกพิจารณากัมมัฏฐานห้า

» กามคุณห้ามีรูปเป็นสำคัญ

» คำสอนของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์เหมือนกัน

» เวทนา

» สัญญา

» สังขาร

» สมมุติและสังขารเป็นของคู่กัน

» รู้เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญา

» พุทธทำนาย 16 ข้อ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย