ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕
ขุททกนิกาย สุตตันตปิฎก
สโมธานกถา กล่าวคำสรุป
(ท้ายเล่มที่ ๓๓)
บารมี มี ๑๐, อุปบารมี มี ๑๐, ปรมัตถบารมี มี ๑๐ เป็นเครื่องบ่มการตรัสรู้ให้สุก ( คือให้สำเร็จ ).
เมื่อเป็นพระเจ้าสิวิราชผู้ประเสริฐ เป็นทานบารมี ; เมื่อเป็นพระเวสสันดร, เป็นเวลามพราหมณ์ และอกิตติฤษี เป็นทานอุปบารมี ; เมื่อเป็นไก่, เป็นพญาช้างชื่อสีลวนาค, เป็นกระต่าย ; เป็นทาน ปรมัตถบารมี ; เมื่อเป็นพญาลิง, เป็นพญาช้างชื่อฉัททันต์ และเป็นพญาช้างผู้เลี้ยงมารดา เป็นศีลบารมี.
เมื่อเป็นพญานาคชื่อ จัมเปยยกะและเป็นพญานาคชื่อภูริทัตต์ เป็นศีลอุปบารมี.
เมื่อเป็นพญานาคชื่อสังขปาละ เป็นศีลปรมัตถบารมี. เมื่อเป็นยุธัญชย ราชบุตร, เป็นมหาโควินทพราหมณ์, เป็นคนเลี้ยงช้าง, เป็นราชกุมารชื่ออโยฆระ, เป็นพระราชาพระนามว่า ภัลลาติ, เป็น สุวรรณสาม ( ข้อความตกหายไป ๑ บาทคาถา ) เป็นพระราชาพระนามว่า มฆเทวะ และเป็นราชกุมารชื่อนิมิ ( หรือเนมิ ) เป็น อุปบารมี ฯลฯ ( โดยนัยนี้ได้แสดงว่า เมื่อเสวยพระชาติเป็นอะไร เป็นศีลบารมี, ศีลอุปบารมี, ศีลปรมัตถบารมี เป็นต้น จนถึง อุเบกขาบารมี ).
จบจริยาปิฎก
จบพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ และจบพระสุตตันตปิฎก รวม ๒๕ เล่มเพียงนี้
<< ย้อนกลับ ||
อปทาน ภาคที่ ๒
พุทธวังสะ (วงค์แห่งพระพุทธเจ้า)
จริยาปิฎก (คัมภีร์ว่าด้วยพระพุทธจริยา)
สโมธานกถา กล่าวคำสรุป