ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
เล่มที่ ๒๔
ชื่ออังคุตตรนิกาย
ทสก-เอกาทสนิบาต
ทสกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๑๐ ข้อ
จตุตถปัณณาสถ์ หมวด ๕๐ ที่ ๔
( มี ๕ วรรค ๆ แรก ชื่อปุคคลวรรค ว่าด้วยบุคคล, วรรคที่ ๒ ชื่อชาณุสโสณิวรรค ว่าด้วยชาณุส - โสณิพราหมณ์, วรรคที่ ๓ ชื่อสุนทรวรรค ว่าด้วยสิ่งที่ดี, วรรคที่ ๔ ชื่อเสฏฐวรรค ว่าด้วยสิ่งที่ประเสริฐ, วรรคที่ ๕ ชื่อเสวิตัพพา เสวิตัพพวรรค ว่าด้วยบุคคลที่ควรส้องเสพและไม่ควรส้องเสพ ).
๑. ตรัสแสดงบุคคลที่ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ
มีความเห็นผิด เป็นต้น ว่าไม่ควรส้องเสพ ต่อประกอบด้วยความเห็นชอบ เป็นต้น จึงควรส้องเสพ.
๒. ตรัสแสดงธรรมแก่ชาณุสโสณิพราหมณ์
ถึงเรื่องปัจโจโรหณี ( การข้ามลง หรือก้าวลงจากบาป ) ตามคติแห่งพระพุทธศาสนา คือชาณุสโสณิพราหมณ์เล่าถึงพิธีปัจโจโรหณีของ พราหมณ์ เมื่อถึงวันอุโบสถพราหมณ์จะสนานศรีษะ นุ่มห่มผ้าเปลือกไม้ใหม่ ฉาบแผ่นดินด้วยมูลโคสด ปูลาดด้วยหญ้าคาสด แล้วนอน ระหว่างกองทรายกับโรงบูชาไฟ และลุกขึ้นทำอัญชลีไฟ ๓ ครั้งในราตรีนั้น กล่าวว่า ปัจโจโรหาม ภวันตัง ( ๒ ครั้ง ) แปลว่า ข้าพเจ้าข้ามลงหรือก้าวลงสู่ท่านผู้เจริญ.
เอาเนยใส น้ำมัน เนยข้นมากมายใส่ลงในกองไฟ นี่แหละเป็นพิธีปัจโจโรหณีของพราหมณ์.
พระผู้มี พระภาคตรัสว่า พิธีปัจโจโรหณีในอริยวินัยเป็นอีกอย่างหนึ่ง คือเป็นการก้าวลงจากอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ มีฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นต้น มีความเห็นผิดเป็นที่สุด.
ชาณุสโสพราหมณ์ก็เลื่อมใส แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต. อนึ่งในวรรคนี้ตรัสแสดงการ เว้นจากอกุศลกรรมบถ ๑๐ โดยนัยต่าง ๆ กันตลอดเรื่อง มีภาษิตของพระมหากัจจานเถระแทรกอยู่แห่งเดียว แต่ก็เป็นการขยายความแห่ง พระพุทธภาษิต โดยอาศัยหลักอกุศลกรรมบถ. และมีพระพุทธภาษิต ตรัสแก่นายจุนทะ กัมมารบุตร เรื่องความไม่สะอาดทางกาย วาจา ใจ โดยแสดงอกุศลกรรมบถและกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ.
ถ้าประพฤติชั่วแล้ว จะลุกขึ้นจากที่นอน ลูบคลำแผ่นดินหรือไม่ จะลูบคลำมูลโคสด หรือไม่ จะลูบคลำหญ้าสดหรือไม่ จะบำเรอไฟหรือไม่ จะทำอัญชลีดวงอาทิตย์หรือไม่ จะลงอาบน้ำวันละ ๓ เวลา ( มีเวลาเย็นเป็นครั้งที่ ๓ ) หรือไม่ ก็ไม่สะอาดทั้งนั้น ถ้าประพฤติดีแล้ว จะทำอย่างนั้นหรือไม่ ก็ชื่อว่าสะอาดทั้งนั้น ( เป็นการค้านลัทธิพราหมณ์ โดยชี้ความสำคัญไปที่ ความประพฤติ ไม่ใช่สะอาดหรือไม่สะอาดเพราะทำเคล็ดต่าง ๆ ).
๓ - ๕. แม้ใน ๓ วรรคนี้ ก็เป็นการแสดงเรื่องอกุศลกรรมบถ และกุศลกรรมบถ
ยักย้ายนัยสลับกันไป.
และเพื่อช่วยทบทวนความจำ ข้อกล่าวซ้ำถึงอกุศลกรรมบถ คือฆ่าสัตว์, ลักทรัพย์, ประพฤติผิดในกาม, ๓ นี้เป็นกายทุจจริต ; พูดปด, พูดส่อเสียด คือยุให้แตกร้าวกัน, พูดคำหยาบ, พูดเพ้อเจ้อ, ๔ นี้เป็นวจีทุจจริต ; โลภอยากได้ของเขา, พยายามปอง ร้ายเขา, เห็นผิดจากคลองธรรม, ๓ นี้เป็นมโนทุจจริต รวมเป็นฝ่ายชั่ว ๑๐ ส่วนฝ่ายดีคือกุศลธรรมบถ หรือทางแห่งกรรมอันเป็นกุศล พึงทราบ โดยนัยตรงกันข้าม.
ปฐมปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๑
ทุติยปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๒
ตติยปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๓
จตุตถปัณณาสถ์ หมวด ๕๐ ที่ ๔
ปัญจมปัณณาสถ์ หมวด ๕๐ ที่ ๔
เอกาทสกนิบาต
พระสูตรนอกหมวด ๕๐