ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
การปฏิบัติดับนิวรณ์
และในการปฏิบัติเพื่อดับนิวรณ์นั้นก็ควรที่จะรู้จัก อาหาร
ของนิวรณ์ และรู้จัก อนาหาร คือการปฏิบัติที่ไม่ใช่เป็นอาหารของนิวรณ์
อันทำนิวรณ์ที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ดับนิวรณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว
ด้วยการพิจารณาที่ใจของตนเอง ให้รู้จักอาหารของนิวรณ์ที่ใจของตนเอง
และให้รู้จักธรรมะที่ไม่เป็นอาหารของนิวรณ์
อันเรียกว่าอนาหารที่ใจของตนเองเช่นเดียวกัน
จะได้อธิบายในนิวรณ์ข้อที่ 3
อันได้แก่ถีนมิทธะความง่วงงุนเคลิบเคลิ้ม อันความง่วงงุนเคลิบเคลิ้มนี้
ผู้ปฏิบัติสมาธิย่อมจะได้เคยประสบ หรือว่าในขณะที่ฟังเทศน์ฟังธรรม
ก็มักจะมีความง่วง เคลิบเคลิ้ม เพราะจิตนี้ที่เป็นจิตสามัญ
เป็นกามาพจรคือหยั่งลงในกาม โดยปรกติก็ย่อมจะเกิดกามฉันท์ คือความพอใจรักใคร่ในกาม
จิตปรุงไปในความพอใจในกาม หรือไม่เช่นนั้นก็เป็นพยาบาท
ความหงุดหงิดขัดเคืองโกรธแค้นต่างๆ หรือไม่เช่นนั้นจิตก็ฟุ้งซ่าน
คิดเรื่องโน้นบ้างคิดเรื่องนี้บ้าง หรือว่าคิดสงสัยเคลือบแคลงไปต่างๆ
การปฏิบัติดับนิวรณ์
อาหารของความง่วง
ความไม่พิจารณาโดยแยบคาย