ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
หลักในการแสดงธรรม 4 วิธี
ชมพูทวีปในสมัยพุทธกาลมีความเจริญก้าวหน้าในด้านศาสนาและปรัชญาอย่างสูง
พระพุทธเจ้าจึงเปรียบด้วยประทีปดวงใหญ่ในท่ามกลางดวงประทีปเป็นอันมาก
ชนชาวชมพูทวีรอคอยศาสดาเช่น พระพุทธองค์มานาน เมื่อบังเกิดขึ้นในโลกจริง ๆ
จนมีพยานยืนยันการตรัสรู้ของพระองค์เป็นอันมาก
และคนที่มายอมตนเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าในยุคแรก ล้วนเป็นคนชั้นนำในสังคมทั้งนั้นคือ
คณาจารย์นักบวช พระราชา เศรษฐี ขุนนางอำมาตย์ ข้าราชการผู้ใหญ่
การทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระองค์
จึงก้าวหน้าและประสบความสำเร็จในเวลาอันรวดเร็วมาก
ในช่วงตอนต้นพุทธกาลนั้นมีกษัตริย์ระดับมหาราช 4 ประองค์
คือพระเจ้าพิมพิสาร (แคว้นมคธ) พระเจ้าปเสนทิโกศล (แคว้นโกศล) พระเจ้าจัณฑปัชโชติ
(แคว้นอวันตี) และพระเจ้าอุเทน (แคว้นวังสะ) ทรงแสดงตนเป็นอุบาสกนับถือพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าสู่แคว้นต่าง ๆ ในชมพูทวีป เช่นสักกะ วัชชี มัลละ กุรุ
ปัญจาละ อังคะ มคธ กาสี โกศล วังสะ อวันตี เป็นต้น
ซึ่งเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่รวดเร็วมากโดยที่พระพุทธเจ้าไม่เคยอาศัยพระราชอำนาจของพระราชาเหล่านั้นเข้าช่วยสนับสนุนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเลย
พระพุทธเจ้าทรงมีหลักการในการแสดงธรรมของพระองค์ซึ่งอาจจัดได้เป็น 4 วิธีคือ
- ยอมรับ พระพุทธเจ้าทรงยอมรับนับถือคำสอนของนักปราชญ์ต่าง ๆ
ที่มีมาก่อนหรือร่วมสมัยกับพระองค์ ในกรณีที่คำสอนนั้นเป็นเรื่องจริงในธรรม
มีประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติ
- ปฏิวัติ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงแบบตรงกันข้าม
เช่นคนในสมัยพุทธกาลถือว่า การทรมานตนให้ได้รับความลำบาก
กับการแสวงหาความสุขจากกามคุณ เป็นทางแห่งความสุข ความหลุดพ้นพระพุทธเจ้าทรง
ปฎิเสทตั้งแต่พระธรรมเทศนาครั้งแรกว่าเป็น หนทางที่บรรพชิตไม่ควรเสพ
หรือเขาถือว่าการทรมานตนเป็นตบะ แต่พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่าขันติเป็นบรมตบะ
เขาสอนว่า การอยู่ร่วมกับปรมาตมัน บรมพรม พระพรหมว่าเป็นบรมธรรม
พระบรมศาสดาทรงแสดงว่า นิพพานเป็นบรมธรรม เขาสอนว่า การฆ่าสัตว์ทุกชนิดเป็นบาป
เป็นต้น
- ปฏิรูป คือการเปลี่ยนแปลงหลักการ เจตจำนง
และวิธีการที่มีอยู่ก่อนแล้ว อย่างเช่น เรื่องการจำพรรษา
การลงอุโปสถเป็นข้อปฏิบัติที่ทำกันมาก่อน พระพุทธเจ้าทรงปฏิรูป
คือการเปลี่ยนแปลงหลักการเจตจำนง และวิธีการที่มีอยู่ก่อนแล้ว อย่างเช่น
เรื่องการจำพรรษา การลงอุโบสถเป็นข้อปฏิบัติที่ทำกันมาก่อน
พระพุทธศาสนาว่าภิกษุ สมณะ บรรพชิต นักบวช เป็นต้น
ทรงปฏิรูปโดยนิยามความหมายเสียใหม่เพราะการเผยแผ่ศาสนาจำต้องอาศัยถ้อยคำที่เขาพูดกันในสมัยนั้นจึงต้องใช้ตามโดยการนิยามความหมายเสียใหม่
คำในพระพุทธศาสนาเป็นอันมากที่ทรงแสดงจึงต้องมีการไขความให้เข้าใจตามหลักของพระพุทธศาสนา
หลักการปฏิรูปจึงหมายถึงการกระทำความเชื่อนั้น ๆ มีส่วนดีอยู่บ้าง
แต่ยังมีความบกพร่องอยู่ จึงทรงปรับปรุงให้ดีขึ้น
เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติสมบูรณ์ขึ้น
- หลักการใหม่ พระพุทธเจ้าทรงตั้งหลักการขึ้นใหม่ คือเรืองนี้ไม่มีการสั่งสอนกันในสมัยนั้นเช่นหลักอริยสัจ 4 ปฏิจจสมุปบาทอนัตตานิพพาน เป็นต้น