ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
ปีติสัมโพชฌงค์
เมื่อมาถึงข้อที่ 3 ดั่งนี้แล้ว ก็จะถึงข้อที่ 4 ปีติสัมโพชฌงค์
หรือ ปีติโพชฌงค์ สัมโพชฌงค์หรือโพชฌงค์คือปีติความอิ่มใจ
อันเป็นผลของวิริยะคือความเพียรข้อที่ 3 นั้น
เพราะว่าเมื่อมีการปฏิบัติจัดทำส่วนปหานะ ก็คือชำระธรรมะที่เป็นส่วนอกุศล
เป็นส่วนมีโทษ เป็นส่วนเลว และเป็นส่วนที่ดำออกไป ปฏิบัติจัดทำธรรมะส่วนที่เป็นกุศล
ที่ไม่มีโทษ ที่เป็นส่วนดี ที่เป็นส่วนขาวให้บังเกิดขึ้น
ก็คือว่าทำสตินี่แหละให้บังเกิดมากขึ้นๆ และก็คอยละสิ่งที่เป็นอกุศลต่างๆ
นิวรณ์ต่างๆ ที่บังเกิดขึ้น จิตใจก็จะบริสุทธิ์สะอาดขึ้นโดยลำดับ
เมื่อจิตใจบริสุทธิ์สะอาดขึ้นโดยลำดับ
จิตใจนี้เองก็จะเกิดความอิ่มเอิบด้วยความบริสุทธิ์
จึงปรากฏอาการเป็นปีติคือความอิ่มใจ คือใจที่บริสุทธิ์เอิบอิ่ม ไม่เศร้าหมอง
เพราะบรรดาธรรมะที่เป็นอกุศลเป็นต้นดังที่กล่าวมานั้นทำให้ใจเศร้าหมองทั้งนั้น
ครั้นเมื่อชำระออกไปเสียได้ อบรมส่วนที่ดีเข้ามาแทน จิตนี้ก็บริสุทธิ์ไม่เศร้าหมอง
เมื่อไม่เศร้าหมองจิตก็เอิบอิ่มอยู่ด้วยความบริสุทธิ์ และดูดดื่มอยู่ในกุศลมากขึ้น
เหมือนอย่างว่าดื่มน้ำที่สะอาดบริสุทธิ์ ก็ทำให้เกิดความอิ่มเอิบมากขึ้น
ใจก็อิ่มเอิบต้องการที่จะดูดดื่มกุศลธรรมยิ่งขึ้นๆ ดั่งนี้ก็เป็นปีติ อันเป็นข้อที่
4
อินทรียสังวรเป็นเหตุให้มีสุจริต 3
สติปัฏฐาน 4 โพชฌงค์ 7
ลำดับปฏิบัติในโพชฌงค์
ปัจจุบันธรรม
สติสัมโพชฌงค์
ธัมวิจยสัมโพชฌงค์
วิริยสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
สมาธิสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์