ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

หอพระไตร

โพชฌงค์

ปัจจุบันธรรม

เพราะฉะนั้น เมื่อมุ่งแสดงโดยปัจจุบันธรรม ก็ให้กำหนดดูตาหูจมูกลิ้นกายและใจ ที่เป็นไปอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งทำหน้าที่รับรูป รับเสียง รับกลิ่น รับรส รับโผฏฐัพพะ รับเรื่องราวอยู่เดี๋ยวนี้ หรือว่าในเวลาที่แล้วมาก็ตาม ในเวลาต่อไปก็ตาม ในขณะที่กำลังรับอยู่ก็เรียกว่าเป็นปัจจุบันธรรม ที่รับมาแล้วก็เป็นอดีต ที่จะรับต่อไปก็เป็นอนาคต

คราวนี้ก็เอาปัจจุบันธรรมคือที่รับอยู่เดี๋ยวนี้ ที่รับอยู่เดี๋ยวนี้นั้นกำลังฟังธรรมบรรยาย ก็เป็นหน้าที่ของหูที่จะฟัง และเป็นหน้าที่ของใจที่จะตั้งใจฟังไปพร้อมกับหู และเมื่อหูฟังใจก็ตั้งที่จะฟังอยู่ ปัจจุบันธรรมเดี๋ยวนี้ก็คือฟังธรรมบรรยาย และถ้าหากว่าในขณะใดใจไม่ตั้งที่จะฟัง ใจออกไปคิดถึงเรื่องโน้นเรื่องนี้ต่างๆ หูก็ดับ ก็แปลว่าไม่ได้ยินเสียงที่อบรมนี้ กลับไปรู้ไปคิดในเรื่องอื่น

เพราะฉะนั้น จึงให้มีสติพร้อมทั้งสัมปชัญญะ มีสติก็คือว่าระลึกได้ สัมปชัญญะก็คือว่ารู้ตัว คือมีความรู้ตัวอยู่ว่ากำลังฟังธรรมบรรยาย และมีสติที่จะกำกับใจ ให้ใจตั้งที่จะฟัง ก็เป็นอันว่าใจก็ฟัง หูก็ฟัง เมื่อเป็นดั่งนี้จึงจะได้ยิน หูไม่ดับ ได้ยินเสียงที่บรรยายนี้ทุกถ้อยคำไปโดยลำดับ ให้มีสติความระลึกได้พร้อมทั้งสัมปชัญญะความตั้งใจฟัง

อินทรียสังวรเป็นเหตุให้มีสุจริต 3
สติปัฏฐาน 4 โพชฌงค์ 7
ลำดับปฏิบัติในโพชฌงค์
ปัจจุบันธรรม
สติสัมโพชฌงค์
ธัมวิจยสัมโพชฌงค์
วิริยสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
สมาธิสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย