ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
ลำดับปฏิบัติในโพชฌงค์
ในวันนี้จะแสดง จะเรียกว่าลำดับปฏิบัติก็ได้
จะรวมเข้าในสติปัฏฐานทั้ง 4 ก็ได้ หรือเรียกว่าโดยเอกเทศก็ได้
โดยที่มุ่งแสดงเป็นปัจจุบันธรรม โดยจับเอาอายตนะขึ้นมาเป็นข้อเริ่มต้น
เพราะว่าในสติปัฏฐานข้อธรรมานุปัสสนา ซึ่งแสดงหมวดอายตนะนั้น
เมื่อว่าตามลำดับก็เริ่มแต่นิวรณ์ แล้วก็มาขันธ์ 5 แล้วก็มาหมวดอายตนะทั้ง 6
จึงมาถึงหมวดโพชฌงค์
คราวนี้เมื่อแสดงเป็นปัจจุบันธรรม โดยจับเอาข้ออายตนะขึ้นมาเป็นที่ตั้งนำ
จึงชื่อว่าเป็นการแสดงข้อธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานตามลำดับดังกล่าว คืออายตนะ
แล้วก็โพชฌงค์ก็ได้ และเมื่อแสดงโดยปัจจุบันธรรม
จะเรียกว่าแสดงโพชฌงค์โดยเอกเทศก็ได้
เพราะอันที่จริงนั้นทุกๆ หมวดของสติปัฏฐานทั้ง 4 ทุกๆ ปัพพะ คือทุกๆ
ข้อของสติปัฏฐานเหล่านี้ และทุกๆ ข้อของโพชฌงค์ ทุกๆ
ข้อของธรรมะที่เป็นไปตามลำดับปฏิบัติ ก็รวมอยู่ในกายอันยาววาหนึ่ง
มีสัญญามีใจนี้นี่แหละ หรือว่ารวมอยู่ในกายและใจนี้นี่แหละ และกายและใจนี้ของทุกๆ
คนก็มีอยู่ทั้งนั้น ที่ตั้งของสติปัฏฐานทั้ง 4 กายเวทนาจิตธรรมก็มี
ที่ตั้งของโพชฌงค์ก็มี แม้ว่าจะแสดงยกเอาอินทรียสังวร ยกเอาสุจริต 3 ยกเอาสติปัฏฐาน
4 ยกเอาโพชฌงค์ 7 ยกเอาวิชชาวิมุติดังที่อ้างมาข้างต้นนั้น
ทั้งหมดเหล่านี้อินทรีย์ก็มีอยู่ในกายใจนี้ ก็คือตาหูจมูกลิ้นกายใจก็มีอยู่
รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะธรรมะเรื่องราวก็มีอยู่
กายวาจาใจอันเป็นที่ตั้งของสุจริตก็มีอยู่ กายเวทนาจิตธรรมก็มีอยู่
และที่ตั้งของโพชฌงค์ทั้ง 7 ก็มีอยู่คือกายใจอันนี้นี่เอง
ตลอดจนถึงที่ตั้งของวิชชาวิมุติก็มีอยู่ทั้งนั้น
ก็รวมอยู่ในก้อนกายก้อนใจอันนี้ไม่ใช่ที่ไหน เพราะฉะนั้น เมื่อจะยกเอาอันใดขึ้นมา
ก็ติดอันอื่นขึ้นมาเป็นพวงเดียวกันทั้งหม
อินทรียสังวรเป็นเหตุให้มีสุจริต 3
สติปัฏฐาน 4 โพชฌงค์ 7
ลำดับปฏิบัติในโพชฌงค์
ปัจจุบันธรรม
สติสัมโพชฌงค์
ธัมวิจยสัมโพชฌงค์
วิริยสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
สมาธิสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์