ข้อเขียน นิยาย สารคดี บทกวี เรื่องสั้น >>

พาตัวตนออกจากสถานที่อันจองจำ ที่ไหนสักแห่งบนโลกนี้ ไปประกาศอิสรภาพด้วยกัน

สะพายเป้ แบกกล้อง ท่องโลก
โดย : จอมยุทธ แห่งบ้านจอมยุทธ

เสียมเรียบ นครวัด นครธม

ปราสาทพระขรรค์ (Prasat Preah Khan) (2)

อ่านหน้า » | 1 | 2 | 3 | 4 | 5

ปราสาทพระขรรค์

ต้องเดินเข้าไปอีกระยะ เพลินชมไพรไปเรื่อยๆ อากาศกำลังดีทีเดียว

ปราสาทพระขรรค์

เสียงบรรเลงขิมเดี่ยวดังแว่วมาแต่ไกล พร้อมเสียงฉิ่งฉับ ก่อนถึงทางเข้าปราสาท จินตนาการเอาได้เลยว่าประมาณดนตรีไทย

ทับหลัง ด้านบนซุ้มปรางค์ทางเข้าปราสาทพระขรรค์

ปราสาทพระขรรค์ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1734 ปราสาทหินในยุคท้ายๆ ของอาณาจักรเขมร เป็นพุทธสถานสมัยบายนพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างอุทิศถวายแด่พระราชบิดา (พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2) ปรากฏเจดีย์ทรงระฆังคว่ำขนาดเล็กจำหลักด้วยศิลาทรายตั้งอยู่ภายในปราสาทองค์หนึ่ง ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่เก็บอัฐิของพระราชบิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ปราสาทพระขรรค์สร้างเคียงคู่กับปราสาทตาพรหม โดยสร้างก่อนปราสาทตาพรหมเพียง 5 ปี บริเวณที่สร้างปราสาทพระขรรค์ ถูกขนาดนามว่าเป็นทะเลแห่งเลือด เพราะในบริเวณนี้เคยเป็นสมรภูมิรบระหว่างพวกขอมที่อยู่ในเมืองพระนครและพวกจาม ศึกสงคราครั้งนั้นทำให้ขอมเป็นฝ่ายชนะ จึงเรียกปราสาทแห่งนี้ว่าปราสาทชัยศรี เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานของพระองค์ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในจารึกในปราสาท ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นปราสาทพระขรรค์ อันหมายถึงพระแสงดาบที่ทำให้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ชนะอริราชศัตรู

ปราสาทพระขรรค์

ปราสาทพระขรรค์เป็นศาสนสถาน ที่ล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง ตัวอาคารมีลักษณะเด่นที่การก่อสร้างด้วยศิลา 2 ชั้น โดยใช้เสาหินทรายกลมขนาดใหญ่รับน้ำหนักโครงสร้างและคาน ที่บานประตูแต่ละปราสาท มีรูปสลักอสูรเป็นคู่ๆ ยืนถือกระบองเสมือนคอยพิทักษ์ดูแลศาสนสถานแห่งนี้

ปราสาทพระขรรค์

มุมมองจากซุ้มประตูออกไปด้านปากทางเข้า

ปราสาทพระขรรค์

ด้านบนซุ้มประตู ที่เห็นว่ามีตะไคร่เกาะสีเขียวๆ แสดงว่าน่าจะมีน้ำฝนซึมผ่าน

ปราสาทพระขรรค์

ภาพพระพุทธรูปมักถูกทำลายหรือแก้ไข คงเหลือแต่ภาพจำหลักนูนต่ำของฤๅษี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาพฤๅษีกำลังนั่งบำเพ็ญพรต สลักอยู่ตามผนังหรือเสาภายใต้ซุ้มเรือนแก้ว

ปราสาทพระขรรค์

นอกจากนี้ จารึกที่ปราสาทพระขรรค์ ยังกล่าวถึงการสร้างธรรมศาลา (ที่พักคนเดินทาง) และอโรคยศาล (โรงพยาบาล) ตามเส้นทางจากนครธมไปยังเมืองต่างๆ รอบราชอาณาจักร จารึกยังกล่าวถึงการสร้างรูปเคารพ เพื่อนำประดิษฐานยังหัวเมืองต่างๆ ซึ่งแสดงถึงความใส่ใจในทุกข์สุขของราษฎรและความศรัทธาในศาสนาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

ปราสาทพระขรรค์

แสงและเงา

ปราสาทพระขรรค์

ทับหลังสภาพยังสมบูรณ์อยู่มาก

ปราสาทพระขรรค์

อันนี้น่าจะใช้ประกอบพิธีกรรมอะไรสักอย่าง ไม่ก็เป็นแท่นวางรูปสลักหิน

ปราสาทพระขรรค์

ร่องรอยการพังทลายลงทั้งภายนอกภายใน

ปราสาทพระขรรค์

ส่วนหนึ่งของทับหลังที่พังลงมากองอยู่กับพื้น

ปราสาทพระขรรค์

เจ้าหน้าที่ดุแลทำความสะอาด ในชุดเขียว กำลังปฏิบัติหน้าที่อันน่าภาคภูมิ ขอได้รับการยกย่องในเรื่องความสะอาด

« ย้อนกลับ | หน้าถัดไป »


» เสียมเรียบ (เสียมราฐ)
» นครวัด
» ปราสาทบายน
» ลานช้าง ลานพระเจ้าขี้เรื้อน
» ปราสาททวิเมียนอากาศ (พิมานอากาศ)
» ปราสาทตาพรหม
» นครธม
» ปราสาทพระขรรค์
» ปราสาทนาคพัน (ปราสาทเนี๊ยกปอน)
» ปราสาทตาโสม
» ปราสาทแม่บุญตะวันออก (ปราสาทเมบอน)
» ปราสาทแปรรูป
» ปราสาทตาแก้ว
» ปราสาทเจ้าสายเทวดา
» ปราสาทธมมานน
» ปราสาทบาปวน


เกี่ยวกับผู้เขียน »

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย