ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

สมถะวิปัสสนา

การพิจารณาธาตุ ๖

การพิจารณาธาตุ ๖ เป็นอนัตตา เพื่อหลุดพ้น

พระพุทธเจ้าผู้ ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสไว้ชอบมี ๖ ประการ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ ธาตุ ๖ประการนี้ ก็จิตของท่านผู้มีอายุ รู้อยู่เห็นอยู่ อย่างไร จึงหลุดพ้น ไม่ยึดมั่นในธาตุทั้ง ๖ ประการนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายผู้สินอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ กิจที่ควรทำปลงภาระโดยลำดับแล้ว สิ้นสังโยชน์ จึงนับว่ามีธรรมอันสมควรดังนี้

ข้าพเจ้าครอง ปฐวีธาตุโดยความเป็นอนัตตา มิใช้ครองอัตตาโดยอาศัย ปฐวีธาตุเลย จึงทราบชัดว่าจิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละคืน ซึ่งอุปปาทานที่ยึดมั่นอาศัยปฐวีธาตุ และอนุศัยคือความตั้งใจ และความปักใจมั่นอาศัยปฐวีธาตุได้

ข้าพเจ้าครอง อาโปธาตุ (เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ)โดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ

ธาตุ ๖ ประการ เป็นภายใน ภายนอก

๑. ปฐวีธาตุ ๒. อาโปธาตุ ๓. เตโชธาตุ ๔. วาโยธาตุ ๕. อากาสธาตุ ๖. วิญญาณธาตุ

ปฐวีธาตุ เป็นอย่างไร
ปฐวีธาตุมี ๒ อย่างคือ ปฐวีธาตุภายใน ปฐวีธาตุภายนอก ในปฐวีธาตุ ๒ อย่างนั้น

ปฐวีธาตุภายใน เป็นอย่างไร

ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนังเนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือ ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างในแม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุภายใน

ปฐวีธาตุภายนอก เป็นอย่างไร

ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก ได้แก่ เหล็ก โลหะ ดีบุกขาว ดีบุกดำเงิน แก้วมุกดาแก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงินตราทอง แก้วมณีแดง แก้วมณีลาย หญ้า ท่อนไม้ กรวด กระเบื้อง แผ่นดินแผ่นหิน ภูเขา หรือ ธรรมชาติที่แข็งธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่าปฐวีธาตุภายนอก

ปฐวีธาตุภายใน ปฐวีธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้นเข้าเป็นหมวดเดียวกันนี้เรียกว่า ปฐวีธาตุ

อาโปธาตุ เป็นอย่างไร

อาโปธาตุมี ๒ อย่าง คือ อาโปธาตุภายใน อาโปธาตุภายนอก

ในอาโปธาตุ ๒ อย่างนั้น

อาโปธาตุภายใน เป็นอย่างไร

ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียวธรรมชาติที่เกาะกุมรูป เป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน ได้แก่ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูกไขข้อ มูตร หรือ ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติที่เกาะกุมรูป เป็นภายใน เฉพาะตน เป็น อุปาทินรูปข้างในแม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายใน

อาโปธาตุภายนอก เป็นอย่างไร

ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียวธรรมชาติที่เกาะกุมรูป เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินรูปข้างนอก ได้แก่ รสรากไม้รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ นมสด นมส้มเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำที่อยู่ในพื้นดิน หรือน้ำที่อยู่ในอากาศหรือ ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียวธรรมชาติที่เกาะกุมรูป เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอกแม้อื่นใดมีอยู่นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายนอก

อาโปธาตุภายใน อาโปธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้น เข้าเป็นหมวดเดียวกันนี้เรียกว่า อาโปธาตุ

เตโชธาตุ เป็นอย่างไร

เตโชธาตุ มี ๒ อย่าง คือ เตโชธาตุภายใน เตโชธาตุภายนอก

ในเตโชธาตุ ๒ อย่างนั้น เตโชธาตุภายใน เป็นอย่างไร

ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่นธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน ได้แก่ เตโชธาตุที่ทำให้ร่างกายเร่าร้อนเตโชธาตุที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรม เตโชธาตุที่เป็นเหตุให้เผาไหม้ เตโชธาตุที่ทำให้ของกินของดื่มของเคี้ยวของลิ้มถึงความย่อยไปด้วยดี หรือ ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่นธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า เตโชธาตุภายใน

เตโชธาตุภายนอก เป็นอย่างไร

ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่นธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก ได้แก่ ไฟฟืน ไฟสะเก็ดไม้ ไฟหญ้า ไฟมูลโคไฟแกลบ ไฟหยากเยื่อ ไฟอสนีบาต ความร้อนแห่งไฟ ความร้อนแห่งดวงอาทิตย์ ความร้อนแห่งกองฟืน ความร้อนแห่งกองหญ้า ความร้อนแห่งกองข้าวเปลือก ความร้อนแห่งกองขี้เถ้า หรือ ความร้อนธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า เตโชธาตุภายนอก

เตโชธาตุภายใน เตโชธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้น เข้าเป็นหมวดเดียวกัน นี้เรียกว่า เตโชธาตุ

วาโยธาตุ เป็นอย่างไร

วาโยธาตุมี ๒ อย่างคือ วาโยธาตุภายใน วาโยธาตุภายนอก
ในวาโยธาตุ ๒ อย่างนั้น วาโยธาตุภายใน เป็นอย่างไร

ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูป เป็นภายในเฉพาะตนเป็นอุปาทินนรูปข้างใน ได้แก่ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมศัสตรา ลมมีดโกน ลมเพิกหัวใจลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หรือความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูป เป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน แม้อื่นใดมีอยู่นี้เรียกว่า วาโยธาตุภายใน
วาโยธาตุภายนอก เป็นอย่างไร

ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูปเป็นภายนอกเป็น อนุปาทินนรูปข้างนอก ได้แก่ ลมตะวันออก ลมตะวันตก ลมเหนือ ลมใต้ลมมีฝุ่นละออง ลมไม่มีฝุ่นละออง ลมหนาว ลมร้อน ลมอ่อน ลมแรง ลมดำ ลมบน ลมกระพือปีก ลมครุธลมใบตาล ลมเป่าปาก หรือ ความพัดไปมาธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูป เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า วาโยธาตุภายนอก

วาโยธาตุภายใน วาโยธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้น เข้าเป็นหมวดเดียวกัน นี้เรียกว่า วาโยธาตุ

<< ย้อนกลับ | สารบัญ | หน้าถัดไป >>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย