ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
สมถะวิปัสสนา
ปีติเป็นไฉน
บุคคลย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งปีติหายใจออกย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งปีติหายใจเข้าอย่างไร
ปีติ เป็นไฉน เมื่อความรู้ที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถลมหายใจออกยาว ปีติและปราโมทย์ ย่อมเกิดขึ้น
เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น
เมื่อความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งลมหายใจออกสั้น ด้วยสามารถลมหายใจเข้าสั้น ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจออก ด้วยสามารถเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจเข้า ด้วยสามารถเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก ด้วยสามารถเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น ปีติและปราโมทย์ คือความเบิกบาน ความบันเทิง ความหรรษา ความรื่นเริงแห่งจิต ความปลื้มจิต ความดีใจ ปีตินี้ย่อมปรากฏ
เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว สติย่อมตั้งมั่น ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกสั้น ด้วยสามารถลมหายใจเข้าสั้น ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งทั้งปวงหายใจออก ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจเข้า ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก ด้วยความเป็นผู้สามารถกายสังขารหายใจเข้า สติย่อมตั้งมั่น ปีติย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อคำนึงถึง ปีติย่อมปรากฏ เมื่อรู้ เมื่อเห็น เมื่อพิจารณา เมื่ออธิฐานจิต เมื่อน้อมใจไปด้วยศรัทธา เมื่อประคองความเพียร เมื่อเข้าไปตั้งสติไว้ เมื่อจิตตั้งมั่น เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา เมื่อรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อละธรรมที่ควรละ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ปีตินั้นย่อมปรากฏ เวทนาด้วยความสามารถ เป็นผู้รู้แจ้ง ปีติหายใจออก หายใจเข้าอย่างนี้นั้นปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ เวทนาปรากฏ ไม่ใช้สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณาเวทนานั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย
บุคคลย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งสุขหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งสุขหายใจเข้า อย่างไร
สุข หรือ สุขัง มี ๒ คือ ๑. กายิกสุข ๒. เจตสิกสุข
กายิกสุข เป็นไฉน ความสำราญทางกาย ความสุขที่ได้เสวยทางกาย
สุขเวทนาซึ่งเป็นความสำราญเกิดแต่กายสัมผัส นี่เป็นกายิกสุข
เจตสิกสุข เป็นไฉน ความสุขทางจิต
ความสุขที่ได้เสวยเป็นความสำราญเกิดแต่เจโตสัมผัส สุขเวทนาซึ่งเป็นความสำราญ
เกิดแต่เจโตสัมผัส นี้เป็นเจตสิกสุข
สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏอย่างไร เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว สติย่อมตั้งมั่น สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งลมหายใจเข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้นด้วยญาณนั้น
เวทนา ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งสุขหายใจออก หายใจเข้า ปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ เวทนาปรากฏ ไม่ใช้สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณาเวทนานั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือการพิจารณาเวทนาในเวทนา