ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
สมถะวิปัสสนา
ญาณความรู้ในการทำ สติ ๓๒ ประการ
๑.เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ว่าหายใจออกยาว
๒. เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ว่าหายใจเข้ายาว
๓.เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ว่าหายใจออกสั้น
๔.เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ว่าหายใจเข้าสั้น
๕.ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก
๖.ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งหายใจเข้า
๗.ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก
๘.ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า
๙.ย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งปีติหายใจออก
๑๐.ย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งปีติหายใจเข้า
๑๑.ย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งสุขหายใจออก
๑๒.ย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งสุขหายใจเข้า
๑๓.ย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้ง จิตสังขาร หายใจออก
๑๔ย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้ง จิตสังขาร หายใจเข้า
๑๕.ย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตสังขารหายใจออก
๑๖.ย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตสังขารหายใจเข้า
๑๗.ย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งจิตหายใจออก
๑๘.ย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งจิตหายใจเข้า
๑๙.ย่อมศึกษาว่า จักทำจิตให้เบิกบานหายใจออก
๒๐.ย่อมศึกษาว่า จักทำจิตให้เบิกบานหายใจเข้า
๒๑.ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตไว้หายใจออก
๒๒.ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตไว้หายใจเข้า
๒๓.ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก
๒๔.ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตหายใจเข้า
๒๕.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจออก
๒๖.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจเข้า
๒๗.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดหายใจออก
๒๘.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดหายใจเข้า
๒๙.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาเห็นความดับหายใจออก
๓๐.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาเห็นความดับหายใจเข้า
๓๑.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก
๓๒.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า
อิธ หมายความว่า ในทิฐินี้ ในความควรนี้ ในความชอบใจนี้ ในเขตนี้ ในธรรมนี้
ในวินัยนี้ ในธรรมวินัยนี้ ในปาพจน์นี้ ในพรหมจรรย์นี้ ในวัตถุศาสน์นี้
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ในธรรมวินัยนี้
ภิกขุ ภิกษุเป็นกัลยาณปุถุชนก็ตาม เป็นพระเสขะก็ตาม
เป็นพระอรหันต์ผู้มีธรรมไม่กำเริบก็ตาม
อรัญญัง สถานที่ทุกแห่งนอกเสาเขื่อนไป สถานที่นั้นเป็นป่า
รุกขมูลัง อาสนะของภิกษุที่จัดไว้ที่โคนไม้นั้นคือ เตียง ตั่ง ฟูก เสื่อ
ท่อนหนัง เครื่องลาดทำด้วยหญ้า เครื่องลาดทำด้วยใบไม้ เครื่องลาดทำด้วยฟาง ภิกษุ
เดิน ยืน นั่ง หรือนอน ที่อาสนะนั้น
สุญญัง เป็นสถานที่ไม่เกลื่อนกล่นด้วยใคร ๆ เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม
เป็นบรรพชิตก็ตาม
อาคารัง ได้แก่ วิหาร โรงมีหลังคาครึ่งหนึ่ง ปราสาท เรือนโล้น ถ้ำ
นิสีทติ บัลลังกัง อาภุชิตวา ภิกษุนั้นเป็นผู้นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง
คือกายอันเป็นกายภิกษุนั้นตั้งวางไว้ตรง
ปริมุขังสติง อุปัฏฐเปตวา มีสติเข้าไปตั้งไว้เฉพาะหน้า
เป็นผู้มีสติหายใจออก ภิกษุอบรมสติโดยอาการ ๓๒ คือ ภิกษุเป็นผู้ตั้งสติมั่นเพราะรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว ชื่อว่าเป็นผู้อบรมสติด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้นเป็นผู้ตั้งสติไว้มั่นเพราะรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถด้วยลมหายใจเข้ายาว เป็นผู้ตั้งสติไว้มั่นเพราะรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกสั้น เป็นผู้ตั้งสติไว้มั่นเพราะรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถลมหายใจเข้าสั้น ชื่อว่าเป็นผู้อบรมสติด้วยสตินั้น เป็นผู้ตั้งสติไว้มั่นเพราะรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณา เห็นความสละคืนหายใจออก เป็นผู้ที่ตั้งสติไว้มั่นเพราะรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก ชื่อว่าเป็นผู้อบรมสติด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
เมื่อภิกษุหายใจออกยาวก็รู้ว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ว่า หายใจเข้ายาว เป็นอย่างไร
๑.ภิกษุเมื่อหายใจออกยาว ย่อมหายใจออกในขณะที่นับยาว
๒.เมื่อหายใจเข้ายาว ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับยาว
๓.เมื่อหายใจออกหายใจเข้ายาว ย่อมหายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับยาว ฉันท ย่อมเกิดแก่ ภิกษุเมื่อหายใจออกหายใจเข้ายาว หายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้าง ในขณะที่นับยาว
๔.เมื่อหายใจออกยาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ ย่อมหายใจออกในขณะที่นับยาว
๕.เมื่อหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับยาว
๖.เมื่อหายใจออกหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันท ย่อมหายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับยาว ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ เมื่อหายใจออกหายใจเข้ายาว ละเอียดกว่านั้นด้วสามารถฉันท หายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับยาว
๗.เมื่อหายใจออกละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ ย่อมหายใจออกในขณะที่ นับยาว
๘.เมื่อหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับยาว
๙.เมื่อหายใจออก หายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้น ด้วยสามารถความปราโมทย์ ย่อมหายใจออกหายใจเข้าบ้าง ในขณะที่นับยาว
จิตของภิกษุผู้เมื่อหายใจออกหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์หายใจออกบ้างหายใจเข้าบ้างในขณะที่นับยาว ย่อมหลีกออกจากการหายใจออก หายใจเข้า อุเบกขาย่อมตั้งอยู่ กายคือ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ ย่อมปรากฏสติเป็นอนุปัสนาญาณ การปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นกายด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือการพิจารณาเห็นกายในกาย