ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

สมถะวิปัสสนา

ห้องวิปัสสนา แบบเจโตวิมุตติ

๑.ผู้ได้รูปฌาน ๔ ต้องเข้า ฌาน ๔เป็นก่อน ให้ภาวนาว่า โลกุตรัง ฌาณัง แล้วภาวนาองค์วิปัสสนา
๒.ผู้ได้รูปฌาน ๔ และ อรูปฌาน ๔ เรียกว่า สมาบัติ ๘ ต้องเข้า ฌานเป็นบาทแล้วเข้าวิปัสสนา (ยกเว้น เนวสัญญาสัญญายตนะ ใช้ทำวิปัสสนาไม่ได้ใช้ทำกิจไม่ได้ เสวยผลได้)

ศีลวิสุทธิ ๗ ประการ

๑.ศีลวิสุทธิ
๒.จิตวิสุทธิ
๓.ทิฏฐิวิสุทธิ
๔.กังขาวิตรณวิสุทธิ
๕.มัคคามัคคญาณทัศนวิสุทธิ
๖.ปฏิปทาญาณทัศนวิสุทธิ
๗.ญาณทัสวิสุทธิ

ธรรมเป็นรากเง่าของวิปัสสนา

ศีลวิสุทธิ พระโยคาวจรผู้พากเพียรพึงปฏิบัติพิจารณาซึ่งปริมณฑลแห่งศีลให้เห็นบริสุทธิทั้ง ๔ ประการ

๑.ปาฏิโมกขสังวรศีล ได้แก่ศีลคือความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ให้พระภิกษุ ต้องปฏิบัติศึกษาสำหรับ ท่านพระโยคาวจรที่เป็นพระภิกษุ ต้องรักษาศีล ๒๒๗ ข้อ สามเณร รักษาศีล ๑๐ ฆราวาสรักษาศีล ๕ หรือจะรักษาศีลอุโบสถไปด้วยก็ได้

๒.อินทรียสังวรศีล ได้แก่ศีลคือความมีสติสำรวมระวังอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ มิให้เกิดยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป ได้ยินเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส สัมผัส และรู้อารมณ์ทางใจ

๓.อาชีวปาริสุทธิศีล ได้แก่ ศีลคือการเลี้ยงชีพโดยความบริสุทธิ สำหรับพระภิกษุสามเณรต้องเว้นจาก อเนสนา คือการแสวงหาปัจจัยสี่ที่ในทางไม่สมควร และไม่ถูกต้องตามพระวินัยบัญญัติ ส่วนฆราวาสต้องรักษาอาชีพให้บริสุทธิ

๔.ปัจจยสันนิสสิตศีล ได้แก่ ศีลอาศัยปัจจัย ๔ หมายถึง ศีลในการบริโภคใช้สอยปัจจัย ด้วยความมีสติกำหนดพิจารณา โดยนิโสมนสิการ เช่น ในการบริโภคอาหาร ในการใช้ไตรจีวร สำหรับพระภิกษุ สามเณร และการใช้สอยเสื่อผ้าสำหรับฆราวาส ในการเข้าอยู่เสนาสนะที่อาศัย และการใช้เภสัชเยียวยาในการรักษาโรค

สิลวิสุทธิ เป็น ไฉน
ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดทางวาจา ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย และทางวาจา นี้เรียกว่า สิลวิสุทธิ
สิลสังวรแม้ทั้งหมด จัดเป็น สีลวิสุทธิ
(นิกเขปกัณฑ์ สุตตันติกทุกะ อภิธรรมปฏก ธรรมสังคณี)

สีลมยญาณ

ญาณเกิดจากความสำรวมในศีล

ศีลห้า คือ การละปานาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ การละเมิดกามฉันด้วยเนขัมมะ การละความพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท การละถีนมิทธด้วยอาโลกสัญญา การละอุทธัจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน การละวิจิกิจฉาด้วยการกำหนดธรรม การละอวิชชาด้วยญาณ การละอรติด้วยปราโมทย์ การละนิวรณืด้วยปฐมฌาน การละวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน การละปิติด้วยคติยฌาน การละทุกข์และสุขด้วยจตุถฌาน การละรูปสัญญา ปฏฆสัญญา นานัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ การละอากาสานัญจายตนสัญญด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ การละวิญญาณัญจายตนสัญญาด้วยอากิญจัญยายตนสมาบัติ การละอากิญจัญยายตนสัญญาด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ การละอนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสนา การละสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสนา การละอัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสนา การละนันทิด้วยนิพพิทานุปัสนา การละราคาด้วยวิราคานุปัสนา การละสมุทัยด้วยนิโรธานุปัสนา การละทานะด้วยปฏนิสสัคคานุปัสนา การละฆนะสัญญาด้วยขยานุปัสนา การละอายุหนะด้วยยานุปัสนา การละธุวสัญญาด้วยวิปริณามานุปัสนา การละนิมิตด้วยอนิมิตตานุปัสนา การละปณิธิด้วยอัปปณิหิตานุปัสนา การละอภินิเวสด้วยสุญญตานุปัสนา การละสานาทานาภินิเวสด้วยอธิปัญญาธรรมวิปัสนา การละสัมโมหาภินิเวสด้วยยถาภูตญาณทัสนะ การละอาลยาภินิเวสด้วยอาทีนวานุปัสนา การละอัปปฏิสังขารด้วยปฏิสังขารนุปัสนา การละสังโยคาหภินิเวสด้วยวิวัฏฏนานุปัสนา การละกิเลสที่ตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฐิด้วยโสดาปัตติมรรค การละกิเลสที่หยาบๆ ด้วยสกทาคามิมรรค การละกิเลสละเอียดด้วยอนาคามิมรรค การละกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตมรรค การละนั้นๆ เป็นศีล เวรมณี เป็นศีลเมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรที่ทำให้แจ้ง ชื่อว่าย่อมศึกษา

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้นๆ ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการฟังธรรมแล้วสำรวมไว้ เป็น สีลมยญาณ

<< ย้อนกลับ | สารบัญ | หน้าถัดไป >>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย