ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
สมถะวิปัสสนา
สัญญาสูตรที่ ๒
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ประการนี้ อันภิกษุเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงค์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ๗ ประการเป็นไฉน คืออสุภสัญญา ๑ มรณะสัญญา ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ อนิจจสัญญา ๑ อนิจจทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตตสัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า อสุภสัญญา อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมมีผลมาก มีอานิสงค์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวลกลับ งอกลับ ถอยกลับจากการร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น
คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มีผลแห่งภาวนาของเราไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุจึงต้องเป็นผู้รู้ทั้งถึงในอสุภสัญญานั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่า ภิกษุมีใจอันอบรมแล้วอยู่ด้วยอสุภสัญญาโดยมาก จิตย่อมหวลกลับ งอกลับ ถอยกลับ จากการร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ภิกษุนั้นถึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ผลแห่งภาวนาของเราถึงทีแล้ว เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสุภสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงค์มาก หยั่งลงสู่อมตะมีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
ก็ข้อที่กล่าวต้นนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรณสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่ โดยมาก จิตย่อมหวลกลับ งอกลับ ถอยกลับจากการรักชีวิต ไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันไม่อบรมแล้ว ด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในความรักชีวิต หรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั้งในอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวลกลับ งอกลับ ถอยกลับจากการรักชีวิต ไม่ยื่นไปรับความรักชีวิตอุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราเจริญฯแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว
เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอสุภสัญญา ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า มรณะสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้
ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหารปฏิกูลสัญญา อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจอันอบรมแล้วอยู่ด้วยอนิจจสัญญอยู่ โดยมาก จิตย่อมหวลกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่นไปรับในลาภสักการะ และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่ หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟย่อมหดงอเข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุมีใจอันอบรมแล้วอยู่ด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมา จิตย่อมไหลไปในลาภ สักการะ และความสรรเสริญหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจจสัญญาอันเราไม่เจริญอยู่แล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่งภาวนาของเราไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงอนิจจสัญญานั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวลกลับ งอกลับ ไม่ยื่นไปรับลาภ สักการะ และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจจสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่งภาวนาของเราไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงอนิจจสัญญานั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมากจิตย่อมหวลกลับ งอกลับไม่ยื่นไปรับลาภ สักการะ และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้
ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจจสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นเบื้องปลายของเรามีอยู่ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงอยู่ในอนิจจสัญญานั้นข้อที่กล่าวดังนี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมต มีอมตเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้
ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อนิจจทุกขสัญญา อันภิกษุเจริญแล้วกระทำให้มากแล้วย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยิ่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีอันอบรมแล้วด้วยอนิจจทุกขสัญญาอยู๋โดยมาก ภยสัญญา (ความสำคัญเป็นภัย) อย่างแรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมปรากฏ เปรียบเหมือนความสำคัญเป็นภัย ย่อมปรากฏในเมื่อเพชรฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้ว อนิจจทุกขสัญญาอยู่โดยมากภยสัญญอย่างแรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้านในความท้อถอย ในความประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมไม่ปรากฏเปรียบเหมือนความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมไม่ปรากฏในเมื่อเพชฆาตเงื้อดาบขึ้น
ฉะนั้น ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจจทุกขสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราไม่มีผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจจทุกขสัญญานั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่าภิกษุทั้งหลายมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา อยู่โดยมาก ภยสัญญาอย่างแรงกล้าในความเฉื่ยชา ความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมปรากฏ เหมือนความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมปรากฏในเมื่อเพชฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้นไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจจทุขสัญญา อันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นเบื้องปลายของเรามีอยู่ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้นภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจจทุกขสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจทุกขสัญญาอันภิกษุเจริญมากแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ เป็นที่สุดเรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้
ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกเขอนัตตสัญญา อันภิกษุเจริญแล้วกระทำให้มากแล้วย่อมมีผล มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ย่อมมีใจปราศจาทิฐิว่าเราตัณหาของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอกเสียได้ ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วอยู่ด้วย ทุกขอนัตตสัญญา อยู่โดยมาก ใจย่อมไม่ปราศจากทิฐิว่า เรา ตัณหาของเรา และในมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้ และสรรนิมิตในภายนอก ไม่ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ ไม่สงบระงับ ยังไม่หลุดพ้นด้วยดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่
เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้น จึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงอยู่ในทุกขอนัตตสัญญานั้นอยู่โดยมาก ย่อมมีใจปราศจาทิฐิว่าเรา ตัณหาของเรา และมานะในร่างกายที่มีใจครองนี้ และสรรพนิมิตในภายนอกเสียได้ ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดี ไซร้ ภิกษุทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญาเราเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นทีสุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงมาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุดฯ