ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
สมถะวิปัสสนา
อิทธิวิธญาณ
ปัญญาในการสำเร็จด้วยการกำหนดรูปกาย ของตน และจิตมีฌานเป็นบาท เข้าด้วยกัน และด้วยสามารถแห่งการตั้งไว้ซึ่ง สุขสัญญา แล ลหุสัญญา เป็นอิทธวิธญาณอย่างไร
ภิกษุในศาสนานี้เจริญอิทธิบาท ประกอบด้วยสมาธิยิ่ง ด้วยฉันทะและสังขารเป็นประธาน ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยสมาธิยิ่งด้วยจิตและสังขารเป็นประธาน ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยสมาธิยิ่งด้วยวิมังสาและสังขารเป็นประธาน ภิกษุนั้นย่อมอบรมข่มจิต ทำให้จิตอ่อน ควรแก่การงาน ในอิทธิบาท ๔ประการนี้ ครั้นแล้วย่อมตั้งกายไว้ในจิตบ้าง ตั้งจิตไว้ในกายบ้าง น้อมจิตไปด้วยสามารถแห่งกายบ้าง น้อมกายไปด้วยสามารถแห่งจิตบ้าง อธิฐานจิตด้วยสามารถแห่งกายบ้าง อธิฐานกายด้วยสามารถแห่งกาย อธิฐานกายด้วยสามารถแห่งจิตแล้ว ย่อมหน่วงลหุสัญญา-สุขสัญญาลงไปในกายอยู่ เธอมีจิตอบรมแล้วเป็นอย่างนั้น บริสุทธิ์ผ่องแผ้วย่อมน้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธญาณ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอันมาก คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินไปบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินไปบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูกคลำพระจันทร์ พระอาทิตย์ซึ่งมีอานุภาพมาก ด้วยฝ่ามือก็ได้ใช้อำนาจทางกายไปตลอดโลกก็ได้ ฯ
ชื่อว่า ญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญาเพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าปัญญาด้วยการสำเร็จด้วยการกำหนดรูปกายของตน และจิตอันมีฌานเป็นบาทเข้าด้วยกัน และด้วยสามารถแห่งการตั้งไว้ ซึ่ง สุขสัญญา และลหุสัญญา เป็นอิทธิวิธญาณ ฯ