ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
สมถะวิปัสสนา
เจริญอรูปฌาน
เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้างดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนาธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะอาศัยปฏิฆสัญญา และเพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทน สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากาสานัญจยตนฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น
ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง นิพพาน เธอตั้งอยู่ในอากาสานัญจายตนฌานนั้นย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาตกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนี้เป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนูหรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน ต่อมาเข้าเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย ฯลฯ มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาาย ข้อที่เรากล่าวว่า เรากล่าวว่าความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌาน ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล ฯ
ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ อากิญจัญญายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอกิญจัญญายตนฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ .ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น
ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบนั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง นิพพาน เธอย่อมตั้งอยู่ในอากิญจัญญษยตะนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะจักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนของนายขมังธนู หรือลูกมือนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลายคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น โดยความเป็นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง นิพพานเธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่พึงกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ข้อที่เรากล่าวว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากิญญจัญญายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้ กล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้แล สัญญสมบัติมีเท่าใด สัญญาปฏิเวธก็มีเท่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะ ๒ เหล่านี้ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ ต่างอาศัยกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวา อายตนะ ๒ ประการนี้ อันภิกษุผู้เข้าฌาน ผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ และฉลาดในการออกจากสมาบิต เข้าแล้วออกแล้ว พึงกล่าวได้โดยชอบ ฯ