ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
สมถะวิปัสสนา
เหตุที่ขึ้นองค์ฌานในห้องอสุภกรรมฐาน
เพราะในอสุภกรรมฐาน องค์แห่งวิตก มีกำลังมาก จิตจึงยกขึ้นสู่องค์ฌานได้ง่ายเหมาะสำหรับผู้ที่ฝึกองค์ฌานใหม่ๆ
การได้องค์ฌานต่างๆ
เหตุที่องค์ฌานเกิด เพราะละองค์ห้า เจริญองค์ห้า การละองค์ห้าคือการละ นิวรณธรรม ธรรมอันเป็นเครื่องกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี ทำให้จักษุมืด ปัญญาทราม
นิวรณธรรม ๕ คือ
๑.กามฉันท์ ได้แก่ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจ เช่น รูป เสียง กลิ่น เป็นต้น
กามทั้งหลายเป็นปฏิปักษ์ต่อ ฌาน กามมีอยู่ฌานย่อมเป็นไปไม่ได้
๒.พยาบาท ความคิดปองร้ายผู้อื่น
๓.ถีนมิทธะ ความมีจิตหดหู่ ง่วงหาวนอน
๔.อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ
๕.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยไม่ตกลงใจได้
นิวรณธรรมเหล่านี้ย่อมละงับได้ เพราะจิตตั้งมั่นเป็นอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ องค์ ๕ประการย่อมเจริญได้ในขณะแห่ง อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ
องค์ ๕ ในองค์ฌาน
องค์๕ ของปฐมฌาน คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา(อุเบกขา)
๑.วิตก คือความตรึกตริ ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ปักจิตลงสู่อารมณ์
วิตกเป็นเสียงที่เกิดขึ้นในใจ
๒.วิจาร คือความตรอง การพิจารณาอารมณ์ การตามฟั่นอารมณ์
วิจารก็จัดเป็นเสียงที่เกิดขึ้นในใจ
๓.ปีติ คือ ความอิ่มใจ ความปลื้มใจ ความคื่มด่ำใจ จัดเป็นเวทนา
๔.สุข คือ ความสบาย ความสำราญ จัดเป็นเวทนาขันธ์
๕.เอกัคคตา คือความที่จิตมีอารมณ์เดียว ความมีจิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์เดียว ได้แก่
สมาธิ อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง เฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย ไม่ใส่ใจในรูป