วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>

หุ่นยนต์

หุ่นยนต์ กับปัญญาประดิษฐ์ (Robots and Artificial Intelligence)

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) คือเป็นนวัตกรรม และสถาปัตยกรรมแนวใหม่ ในการทำให้หุ่นยนต์มีความฉลาดเหมือนกับ หรือเทียบเท่ากับมนุษย์ มีความสามารถในการเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ เรียนรู้ถึงเหตุและผล มีความสามารถในการใช้ภาษา และมีความสามารถในการมีความคิดสร้างสรรค์

คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้ถ้าด้วยตัวเอง แต่อยู่ในขอบเขตที่จำกัด ถ้าไม่มีมนุษย์เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ในการจัดการ การป้อนคำสั่งสั่งการ การควบคุมกระบวนการ ฯลฯ ต่างกับ หุ่นยนต์ ที่เป็น AI สามารถ กระทำการได้ด้วยตัวเอง บางรูปแบบสามารถแก้ปัญหาได้เอง เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ปัญญาประดิษฐ์ทำยากให้ดูง่าย แต่ในการทำความเข้าใจเป็นสิ่งที่เข้าใจยาก ประการแรก ต้องเข้าใจในระบบตรวจจับต่าง ๆ หรือการป้อนข้อมูลโดยมนุษย์ นำข้อมูลที่ได้เหล่านั้น เก็บที่หน่วยเก็บข้อมูล และทำการประมวลผลข้อมูลที่ได้ เพื่อที่จะไปสั่งการอุปกรณ์ หรือระบบต่าง ๆ ให้ทำงาน

หุ่นยนต์ AI สมัย ใหม่ส่วนมาก มีความสามารถในเรียนรู้ มีความจำ มีการกระทำที่แน่นอนตามระบบที่วางเอาไว้ เพื่อที่ให้ทำงานจนเป็นผลสำเร็จ และสามารถที่จะทำงานต่อไป จนถึงการทำงานที่ซ้ำ ๆ ได้ อย่างที่กล่าวไว้ตอนต้นหุ่นยนต์ AI สามารถทำงานคล้ายมนุษย์ เดิน วิ่ง เต้นรำ เลียนแบบกริยาท่าทางเหมือนมนุษย์

ปัญญาประดิษฐ์เป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถของวิศวกร และนักวิทยาศาสตร์ การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ไม่ใช่ว่าสร้างออกแล้วหยุดอยู่แค่ที่สร้าง การพัฒนาต่อยอดเป็นสิ่งที่สำคัญ ตั้งแต่สมองกล ไปจนถึงกลไกการทำงาน

ทฤษฏีเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์กว้างขวางมาก เพราะต้องนำความรู้แขนงต่าง ๆ มาประยุกต์รวมกัน ไม่ว่าจะเป็นความรู้ทางด้านซอฟแวร์ คอมพิวเตอร์ ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ระบบกลไก ระบบควบคุม ฯลฯ
การออกแบบหุ่นยนต์ AI ให้มีความเหมาะสมกับในการใช้งานทางกายภาพ ต้องเข้าใจกายวิภาคของสัตว์ และมนุษย์ การวิจัย AI อาศัย การสร้างให้มีการทำงานที่ฉลาด ให้เป็นหุ่นยนต์อัจฉริยะ ถ้าทำได้ถึงขั้นนี้ การพัฒนาขั้นต่อไปก็จะเป็นไปแนวรูปแบบ หุ่นยนต์ไซบอร์ก (Cyborg) ที่มีการผสมผสานกันระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักรเข้าด้วยกัน

ในอนาคตหุ่นยนต์ต้องเข้ามามีบทบาทต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างแน่นอนตราบใดที่ มนุษย์ยังไม่หยุดคิด หุ่นยนต์จะออกมาจากโลกอุตสาหกรรม และโลกของวิทยาศาสตร์มาสู่ชีวิตประจำวันของเรา ที่เหมือนกับคอมพิวเตอร์ที่แพร่เข้ามาสู่บ้านของเราตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980

<< ย้อนกลับ |

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

พื้นฐานของหุ่นยนต์
แขนกลอุตสาหกรรม (Industrial Robot Arms)
หุ่นยนต์เคลื่อนที่ (Mobile Robots)
หุ่นยนต์อัตโนมัติ (Autonomous robots)
หุ่นยนต์ที่ใช้ในการแข่งขัน (Homebrew robots)
การปรับตัวเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของสากล
หุ่นยนต์ กับปัญญาประดิษฐ์ (Robots and Artificial Intelligence)