วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร >>

มัทนะพาธา

(ตำนานแห่งดอกกุหลาบ)

บทละครเรื่องมัทนะพาธาได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรประกาศยกย่องให้เป็นหนังสือที่แต่งดีใช้คำฉันท์เป็นบทละครพูด ที่มีตัวละครและฉากสอดคล้องกับวัฒนธรรมภารตะโบราณ และเข้ากับเนื้อเรื่องดี นับว่าทรงพระปรีชาสามารถมาก วรรณคดีสโมสรจึงได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายประกาศนียบัตร เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๔๖๗

มัทนะพาธาเป็นหนังสือที่แต่งได้ยาก โดยเฉพาะรูปแบบการประพันธ์ ในเรื่องนี้มีคำประพันธ์ประเภทฉันท์ชนิดต่างๆ ถึง ๒๑ ชนิด ทั้งที่เป็นฉันท์ที่นิยมแต่งกันมาแต่โบราณ เช่น อุปชาติ อินทรวิเชียร วสันตดิลก ภุชงคปยาต เป็นต้น และที่ไม่ค่อยปรากฏในวรรณคดีเรื่องอื่นๆ เช่น มันทักกันตา เมฆวิปพุชชิตา กุสุมิตลดา สวาคตา เป็นต้น ที่อยู่ในหนังสือมี ๗ ชนิด คือ อินทรวิเชียรฉันท์ วสันตดิลก วิชชุมมาลา อินทวงศ์ สาลินี จินตรปทา บางตอนก็ใช้กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง หรือ กาพย์สุรางคนางค์ ซึ่งวางรูปเป็นบทสนทนา นับว่าเป็นบทเจรจาที่ใช้คำประพันธ์ได้อย่างเป็นธรรมชาติเพราะฟังได้ราบรื่นรับช่วงกันดี นอกจากนั้นยังมีบทเจรจาร้อยแก้วในส่วนขอตัวละครที่ไม่สำคัญเช่น บทเจรจาระหว่างนาคกับศุน ศิษย์ของพระกาละทรรศินในต้นองก์ที่ ๒ การใช้ลีลาภาษาที่หลากหลายอ่านได้ไม่รู้สึกเบื่อ ตอนใดต้อการดำเนินเรื่องรวดเร็วก็ใช้ร้อยแก้ว ตอนใดที่ต้องการจังหวะเสียงและความคล้องจองก็ใช้กาพย์ ตอนใดเน้นอารมณ์มาก็ใช้ฉันท์

| หน้าถัดไป>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย