ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

พุทธธรรมขั้นพื้นฐาน

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนากับพิธีสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย
การนับถือพระพุทธศาสนาของชาวไทย
พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาในฐานะเป็นเอกลักษณ์และมรดกของชาติไทย
การปฏิบัติตนในฐานะพุทธมามกะ

การปฏิบัติตนในฐานะพุทธมามกะ

พุทธมามกะ คือ ผู้ประกาศตนว่านับถือพระพุทธศาสนา ควรปฏิบัติตามสมบัติอุบาสก ๕ ประการ ดังนี้

๑. ประกอบด้วยศรัทธา
๒. มีศีลบริสุทธิ์
๓. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว คือเชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล
๔. ไม่แสวงหาเขตบุญนอกพุทธศาสนา
๕. บำเพ็ญบุญแต่ในพุทธศาสนา

และนอกจากนี้ยังต้องปฏิบัติตามหลักคิหิปฏิบัติ คือข้อปฏิบัติสำหรับคฤหัสถ์ ซึ่งเป็นหลักธรรมสำคัญที่ผู้นับถือพระพุทธศาสนาควรนำมาประพฤติด้วย เช่น หลีกกรรมกิเลส คือ กรรมเครื่องเศร้าหมอง ๔ อย่าง

๑. ปาณาติบาต ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง
๒. อทินนาทาน ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย
๓. กาเมสุ มิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม
๔. มุสาวาท พูดเท็จ

อบายมุข คือ เหตุเครื่องฉิบหาย ๔ อย่าง

๑. ความเป็นนักเลงหญิง
๒. ความเป็นนักเลงสุรา
๓. ความเป็นนักเลงเล่นการพนัน
๔. ความคบคนชั่วเป็นมิตร

ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน ๔ อย่าง

๑. อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น ในการประกอบกิจเครื่องเลี้ยงชีวิตก็ดี ในการศึกษาเล่าเรียนก็ดี ในการทำธุระหน้าที่ของตนก็ดี
๒. อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือรักษาทรัพย์ที่แสวงหามาได้ด้วยความหมั่น ไม่ให้เป็นอันตรายก็ดี รักษาการงานของตนไม่ให้เสื่อมเสียไปก็ดี
๓. กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี ไม่คบคนชั่ว
๔. สมชีวิตา ความเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้ ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ไม่ให้ฟูมฟายนัก

<< ย้อนกลับ | หน้าถัดไป >>



 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย