ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

พุทธธรรมขั้นพื้นฐาน

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนากับพิธีสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย
การนับถือพระพุทธศาสนาของชาวไทย
พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาในฐานะเป็นเอกลักษณ์และมรดกของชาติไทย
การปฏิบัติตนในฐานะพุทธมามกะ

พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนาเป็นสถาบันคู่ชาติไทยนับแต่ประเทศไทยได้มีประวัติศาสตร์ที่มีต่อเนื่องชัดเจนเป็นของตนเอง ชนชาติไทยก็นับถือพระพุทธศาสนาสืบต่อกันมาโดยตลอด กิจการและเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ มากมายในบ้านเมืองเป็นเรื่องราวของพระพุทธศาสนา เกี่ยวกับวัดวาอาราม หรือมิฉะนั้นก็ผสมผสานกับคติทางพระพุทธศาสนา กล่าวได้ว่า ประวัติศาสตร์ของชาติไทยเป็นประวัติศาสตร์ของชนชาติที่นับถือพระพุทธศาสนา จนมีคำขวัญที่ถือกันมาถึงยุคปัจจุบันว่า ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อันเป็นความหมายที่แสดงโดยสีทั้งสามของธงไตรรงค์ซึ่งเป็นธงชาติของไทย และเป็นเครื่องยืนยันถึงการได้ถือว่า ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ทั้งสามนั้น เป็นสถาบันหลักของประเทศ ที่ดำรงอยู่คู่เคียงกันโดยเฉพาะศาสนานั้น ย่อมหมายถึง พระพุทธศาสนา ดังหลักฐานจากบทพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงออกแบบธงไตรรงค์ ได้กำหนดไว้ให้สีธงแต่ละสี เป็นสัญลักษณ์ของสถาบันทั้งสามว่า

ขอร่ำรำพรรณบรรยาย ความคิดเครื่องหมายแห่งสีทั้งสามงามถนัด
ขาวคือบริสุทธิ์ศรีสวัสคิ์ หมายพระไตรรัตน์และธรรมคุ้มจิตไทย
แดงคือโลหิตเราไซร้ ซึ่งยอมสละได้เพื่อรักษาชาติศาสนา
น้ำเงินคือสีโสภา อันจอมราชา ธ โปรดเป็นของส่วนองค์
จัดริ้วเข้าเป็นไตรรงค์ จึ่งเป็นสีธง ที่รักแห่งเราชาติไทย
ทหารอวตารนำไป ยงยุทธ์วิชัย วิชิตก็ชูเกียรติสยาม ฯ

การถือว่า พระพุทธศาสนาเป็นสถาบันคู่บ้านคู่เมืองนี้ ได้เป็นมาตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนาน สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก พระองค์ทรงสร้างวัดและชักชวนชาวสุโขทัยให้นับถือพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก เมื่อพระภิกษุสงฆ์มีจำนวนมากขึ้น ชาวเมืองก็ร่วมใจกันสร้างวัดถวายเพื่อให้เป็นที่พำนักอาศัยของพระภิกษุสงฆ์ ชาวเมืองสุโขทัยล้วนเป็นคนใจบุญ เสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดในคำสอนของพระพุทธศาสนา ทำให้ชาวเมืองสุโขทัยอยู่ในกรอบขนบธรรมเนียมของบ้านเมือง ปกครองง่าย มีเหตุมีผล การสร้างวัดในสมัยสุโขทัยนอกจากจะเป็นที่พำนักของพระภิกษุสงฆ์แล้ว ยังเป็นที่ประชุมนัดหมายของชาวบ้านในกิจการต่าง ๆ อีกด้วย เช่น การตัดสินคดีความของชาวบ้านที่มีกรณีพิพาทกัน

พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเชื่อมั่นในหลักพุทธธรรมและทรงปฏิบัติคล้อยตามความต้องการของคนส่วนมาก เมื่อถึงฤดูการ เซ่น ไหว้ บวงสรวง เป็นต้น พระองค์ก็ทรงปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อผลทางจิตใจ ซึ่งทำให้การปกครองสมัยพระองค์ราบรื่นด้วยดี มีระเบียบเรียบร้อย มีความสมัครสมานสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เกิดเอกภาพ จนทำให้ประชาราษฎร์เรียกพระองค์ว่า “พ่อ” นอกจากนี้พระองค์ยังได้สร้างแท่นหินไว้เป็นที่ประทับนั่งและนำไปไว้ในท่ามกลางดงตาลมีชื่อว่า “พระแท่นมนังคศิลา” ในวันธรรมสวนะก็จะนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มาเทศนาสั่งสอนประชาชน เป็นการให้ประชาชนได้ซาบซึ้งในรสพระพุทธธรรมตั้งตนอยู่ในสัมมาปฏิบัติ ส่วนวันใดที่มิใช่เป็นวันธรรมสวนะ พระองค์จะทรงออกว่าราชการอบรมพลเมืองด้วยพระองค์เอง ทำให้ประชาชนได้อยู่ใกล้ชิดกับพระองค์เหมือนพ่อกับลูกฉะนั้น เราจึงมึกจะพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า

<< ย้อนกลับ | หน้าถัดไป >>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย