ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
พุทธธรรมขั้นพื้นฐาน
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนากับพิธีสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย
การนับถือพระพุทธศาสนาของชาวไทย
พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาในฐานะเป็นเอกลักษณ์และมรดกของชาติไทย
การปฏิบัติตนในฐานะพุทธมามกะ
การนับถือพระพุทธศาสนาของชาวไทย
2
อีกสายหนึ่งที่คลื่นของพระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ประเทศไทยแล้วมาผสมผสานกันกับ พระพุทธศาสนาสายเดิมที่มาจากประเทศจีน คือภายหลังจากที่พระพุทธองค์ได้ปรินิพพานแล้ว พระสาวกได้ช่วยกันสืบต่อพระพุทธศาสนาช่วยกันเผยแผ่จนแพร่หลายเจริญรุ่งเรืองไปทั่วชมพูทวีป จนถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เจ้าผู้ครองนครปาฏลีบุตร พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาทรงรับเป็นองค์ศาสนูปถัมภกในการประชุมทำการสังคายนาพระพุทธศาสนาครั้งที่ ๓ โดยมีพระโมคคัลลีบุตรเป็นประธาน พระเจ้าอโศกพร้อมด้วยพระสงฆ์เถระต้องการที่จะเผยแผ่พระศาสนาออกไปในทวีปต่าง ๆ จึงได้จัดส่งพระเถระผู้มีความรู้ความสามารถไปประกาศพระศาสนาในต่างแดนถึง ๙ สาย และพระโสณเถระกับพระอุตตรเถระได้เดินทางมาประกาศพระพุทธศาสนาในแถบสุวรรณภูมิ คือประเทศแทบเอเชียใต้ และได้ประดิษฐานพระพุทธศาสนามั่นคงในประเทศไทย ณ จังหวัดนครปฐม ซึ่งมีพระปฐมเจดีย์ (องค์เก่า) ปรากฏเป็นหลักฐานการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและได้ขยายตัวไปทั่วภูมิภาคของประเทศไทย ทางใต้เจริญรุ่งเรืองที่สุดที่นครศรีธรรมราช
ครั้นถึงสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีของไทย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงแผ่พระราชอาณาจักรไปถึงแหลมมะลายู ได้ทรงรับเอาพระพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชไปประดิษฐาน ณ กรุงสุโขทัย ประกาศเผยแผ่ให้ไพร่พลแลมนตรีได้มีศรัทธานับถือพระพุทธศาสนาและยึดถือเอาพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาคู่บ้าน คู่เมืองตั้งแต่บัดนั้นเรื่อยมาจนถึงยุคกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ยุคกรุงธนบุรีและยุครัตนโกสินทร์ตามลำดับ บรรพบุรุษของเราชาวไทยได้พิจารณาเห็นว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มีหลักการอันทรงคุณค่า เป็นประโยชน์อย่างมหาศาลต่อการดำเนินชีวิต เพราะเป็นศาสนาที่พรั่งพร้อมด้วยเหตุและผล จึงยอมรับนับถือสืบต่อกันเรื่อยมา พระพุทธศาสนาได้เจริญมั่นคงอยู่ในประเทศไทยและซึมซาบเข้าถึงแก่นของจิตใจของประชาชนอย่างแนบแน่น เป็นศาสนาที่มีหลักธรรมที่ควรค่าแก่การศึกษาและการรักษาให้คงอยู่คู่กับชนชาติไทยตลอดไป